รวม 7 แคนดิเดท ผู้ว่า กทม. นโยบายของใครจะโดนใจ ชาว กทม. มากที่สุด

รวม 7 แคนดิเดท ผู้ว่า กทม. นโยบายของใครจะโดนใจ ชาว กทม. มากที่สุด
Highlight

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 เป็นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 11 ที่จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งแรกในรอบ 9 ปี นับตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2556 ล่าช้าไปเพราะรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ในครั้งนี้ยังดูไม่ออกว่าใครจะเข้าวิน อยู่ที่นโยบายที่น่าสนใจ และความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ


7 แคนดิเดท ผู้ว่า กทม. ที่จะเข้าสู่รอบตัดเชือก 22 พฤศภาคมนี้ จากผู้สมัครทั้งหมด 31 ราย  นโยบายแต่ละคนล้วนน่าสนใจ อยู่ใครจะโดนใจชาว กทม.มากที่สุด ไปดูกันเลย

20220418-a-01.jpeg

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร พรรคก้าวไกล เบอร์ 1

เปิด 12 นโยบายกรุงเทพ “เมืองที่คนเท่ากัน” ที่ผ่านมาภาครัฐรวมถึงกรุงเทพมองคนไม่เท่ากัน ปัญหาของแต่ละคนจึงมีความสำคัญไม่เท่ากันตามไปด้วย “เมืองที่คนเท่ากัน” จะทำให้ปัญหาของทุกคนได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียมกัน 

1. “สวัสดิการคนเมือง” โอบอุ้มเด็ก คนชรา ผู้พิการ
2. “วัคซีนฟรี” จากภาษีประชาชน
3. หยุดระบบอุปถัมภ์ด้วย “งบที่คนกรุงเทพเลือกเองได้”
4. “บ้านคนเมือง” ที่อยู่อาศัยใจกลางเมืองในราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้
5. ลดค่าครองชีพ ด้วย “ค่าเดินทาง” ที่ทุกคนจ่ายไหว
6. ขึ้นค่าเก็บขยะห้างใหญ่ เอาเงินไปปรับปรุงการเก็บขยะครัวเรือน
7. ลงทุนศูนย์ละ 5 ล้าน: อัพเกรดศูนย์เด็กเล็ก กทม. ให้มีคุณภาพเท่าเอกชน
8. สร้าง ‘การศึกษา’ ที่ทุกคนวิ่งตามความฝันของตัวเองได้
9. “ลอกท่อทั่วเมือง ลอกคลองทั่วกรุง” จบปัญหาน้ำรอระบาย
10. เปลี่ยนที่รกร้าง เป็นสวนสาธารณะ
11. ทางเท้าดีเท่ากัน ทั้งกรุงเทพ
12. เจอส่วย แจ้งผู้ว่า! กรุงเทพโปร่งใส ไร้คอรัปชั่น

20220418-a-02.jpeg

สกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครอิสระ เบอร์ 3

กับ “6 นโยบายทำกรุงเทพดีกว่านี้ได้”

สำหรับกรอบนโยบาย 6 ด้าน จะมีการเปิดเผยรายละเอียด และเปิดตัวผู้เชี่ยวชาญด้านแต่ละด้าน โดยจะทยอยเปิดแต่ละสัปดาห์หลังจากนี้

1. ขนส่ง จราจร นำระบบ ATC หรือ Actual Traffic Control ซึ่งคือ ระบบ AI สัญญาณไฟจราจร จะช่วยคำนวณการปล่อยรถแต่ละแยก ทำระบบเชื่อมต่อระบบล้อ ราง เรือ ทำรถ Feeder รับ-ส่งคนบนถนนสายรอง เดินเรือ EV รวมถึงผลักดัน 2 ไฟฟ้าอีก 2 เส้นทางคือ สายสีเทา และสีเงิน รวมถึงบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง

“ปัจจุบัน กทม.มีรถจดทะเบียน 11ล้านคัน แต่มีถนนเพียง 5-6% จะเห็นว่าถนนมีไม่พอกับรถ ซึ่งคือสาเหตุหนึ่งทำให้เกิดรถติด ดังนั้นต้องหาทางทำให้คนหันมาใช้รถสาธารณะให้มากขึ้น” นายสกลธี กล่าว

2. การสาธารณสุข เพิ่มศูนย์สาธารณสุขกให้ครอบคลุมประชาน 50 เขต ปัจจุบันมีอยู่แล้ว 69 ศูนย์ และจะปรับให้เป็นสมาร์ทคลินิก นำระบบ Telemedicine มาใช้ รวมถึงเพิ่มศูนย์ให้คน 50 เขตเข้าถึงการรักษาที่สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น สร้างจุดเด่นให้โรงพยาบาลสังกัด กทม.ทั้ง 11 แห่ง ให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รวมถึงดูแลกลุ่มเปราะบางเชิงรุก นำระบบ Home Monitoring มาใช้

3. การศึกษา โรงเรียนดีใกล้บ้าน ปรับให้เป็นโรงเรียนสองภาษี โรงเรียนผสมและเฉพาะทาง อาหารครบโภชนาการฟรี ลดภาระครู กทม.มีโรงเรียน 437 แห่ง แต่จะมีสักกี่แห่งที่ผู้ปกครองจะไว้วางใจส่งเด็กไปเรียน ดังนั้นควรทำให้โรงเรียน กทม.ที่อยู่ใกล้บ้าน ให้มีคุณภาพมากที่สุด

4. สิ่งแวดล้อม สร้างความปลอดภัย ระบายน้ำ และจัดการผังเมือง อาทิ เพิ่มกล้อง CCTV ที่มีอยู่แล้ว 6.2 หมื่นตัว เชื่อมต่อระบบที่ศาลาว่าการ กทม.ใช้ AI ช่วยควบคุม , เพิ่มสถานีดับเพลิง ไฟไหม้ 10 นาทีต้องถึงที่เกิดเหตุ , ปรับปรุงระบบระบายน้ำ , เพิ่มสวนสาธารณะใกล้บ้าน , พัฒนาย่านเศรษฐกิจต่างๆ และคุมเข้มเรื่องความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยเฉพาะความปลอดภัยบนทางเท้า

5. ระบบบริหารจัดการ ปรับระบบการบริหารเข้าสู่ระบบดิจิทัล มีแอปพลิเคชั่น ที่สามารถขออนุญาตก่อสร้าง ตัดต่อไม้ สูบส้วม ฯลฯ รวมถึงมีระบบติดตามผ่านออนไลน์ , นำ Auantum Computing และ Blockchain มาใช้ประมวลในการแก้ปัญหา

“การบริการ กทม.ต่อไปนี้ แต่ละชุมชนต้องมีการแก้ปัญหาเฉพาะด้าน ต้องแก้ให้ตรงกับความต้องการของคนที่อยู่ในโซนนั้น” นายสกลธี กล่าว

6. เศรษฐกิจ สังคม ท่องเที่ยว ทำถนนคนเดิน 50 เขต สตรีทฟู้ดไม่กระทบคนเดินเท้า ทำโรงเรียนฝึกอาชีพที่ทันสมั สร้างงานให้คน กทม. และสนับสนุนการจ้างคนพิการและส่งเสริมอาชีพคนพิการ

นายสกลธี กล่าวอีกว่า กทม.มีงบประมาณจากการอุดหนุนของรัฐบาลประมาณ 8 หมื่นล้านบาทต่อปี โดย 40% เป็นงบบุคลากร ดังนั้นเหลือเงินที่จะจัดสรรในการพัฒนาแต่ละเขตไม่มากนัก การบริหารเพื่อให้ กทม.หเงินได้เองจึงเป็นเรื่องจำเป็น

“เราจะไม่รอเงินอุดหนุนรัฐบาลอย่างเดียว ถึงเวลาที่ผู้ว่าฯต้องเอาทรัพยากรที่มีอยู่ไปแปลงเป็นเงิน เช่นที่ดินรกร้างว่างเปล่าให้เอกชนเช่าทำธุรกิจ รวมถึงให้สิทธิ์เอกชนในที่สาธารณะ” นายสกลธี กล่าว

20220418-a-03.jpeg

สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. เบอร์  4 พรรคประชาธิปัตย์

สุชัชวีร์” หนุนชุมชนคนตัวเล็ก ชูนโยบาย “ขายได้ขายดี” ต้องการสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะเมื่อเกิดการจับจ่ายใช้สอยในพื้นที่ ย่อมนำมาสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน ทำให้ “คนตัวเล็ก” มีรายได้อย่างแท้จริง ด้วยการออกนโยบาย “ขายได้ขายดี”  

1. ส่งเสริมตลาดนัด เพิ่มพื้นที่ทำมาค้าขาย และเพิ่มตลาดถาวร ให้ประชาชนมีพื้นที่ทำกิน 
2. ดึงเอกลักษณ์ของตลาดที่มีอยู่ นำมาเป็นจุดขายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว และสร้างแลนมาร์กตลาดใหม่ เพิ่มพื้นที่ เพิ่มโอกาสในการค้าขาย 
3. ขายของได้ทุกวัน ไม่มีวันหยุด โดยกทม. มีแผนงานเรื่องการทำความสะอาดในพื้นที่ค้าขายมารองรับ
4. บริการห้องน้ำและน้ำประปา อำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวและพ่อค้าแม่ค้า 
5. กทม. จะเป็นเจ้าภาพใหญ่ช่วยประชาสัมพันธ์ เพื่อดึงดูดคนมาตลาด เพราะเมื่อมีลูกค้า มีนักท่องเที่ยว ก็สามารถขายของได้ เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในตลาด รายได้ถึงคนตัวเล็ก
6. ส่งเสริมการค้าขายออนไลน์ ด้วยบริการอินเทอร์เน็ตฟรี เร็ว แรง ครอบคลุม และใช้งานได้จริง ด้วยความเร็ว 1,000 Mbps ติดตั้ง 150,000 จุด” นายสุชัชวีร์ กล่าว

20220418-a-04.jpeg

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อดีตผู้ว่าฯ ผู้สมัตรอิสระเบอร์ 6 

ชูนโยบาย 8 ด้าน “กรุงเทพต้องไปต่อ”

โดยให้ความหมายของการไปต่อ คือ “ไปต่อจากที่ทำไว้แล้ว ” เป็นนโยบายหลัก 8 ด้าน ได้แก่

1. ไปต่อ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เพราะอยากเห็น  “เมืองกรุงเทพฯ” มีจุดเสี่ยงน้ำท่วมที่ลดลง  ซึ่งลดไปแล้วจาก 24 จุด เหลือ 9 จุด และจะลดต่อ ด้วยวิธีที่ตนมีประสบการณ์

2. ไปต่อ เพื่อสร้างความสะดวกในทุกการเดินทาง เพราะอยากเห็น “คนกรุงเทพฯ คนเดินเท้าปลอดภัย ระบบขนส่งมวลชนสะดวกและสร้างความเชื่อมโยง  

3. ไปต่อ เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้กับ “คนเมือง” และระบบการรักษาที่มีคุณภาพมากขึ้น เพราะอยากเห็น “เมืองกรุงเทพฯ” มีที่รักษาพยาบาลใกล้บ้านและครอบคลุมทุกพื้นที่ ดูแลทุกคนอย่างเท่าเทียม

4. ไปต่อ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมเมืองที่ดี เพราะอยากเห็น “เมืองกรุงเทพฯ”  เพิ่มพื้นที่สีเขียว จัดการขยะที่ต้นทาง มีคลองสวยน้ำใส

5. ไปต่อ เพื่อทำกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ เพราะอยากเห็น “ลูกหลานและคนกรุงเทพฯ” มีความพร้อมสมบูรณ์ทั้งกายและใจในวัยเด็ก เมื่อโตขึ้น จะได้รับการศึกษาทั้งทักษะอาชีพและความรู้พร้อมกันไป

6. ไปต่อ เพื่อเติมเต็มความปลอดภัยให้กับคนเมือง เพราะอยากเห็น “เมืองกรุงเทพฯ มีอาชญากรรมลดลง และมีการเตรียมพร้อมขจัดภัยพิบัติ 

7. ไปต่อ เพื่อเชื่อมกรุงเทพฯ สู่เมืองดิจิทัล เพราะอยากเห็น “คนกรุงเทพฯ” ได้รับบริการจากหน่วยงานราชการของกรุงเทพฯ ที่โปร่งใสเชื่อมโยงและรวดเร็ว 
 
8. ไปต่อ เพื่อดูแลคนทุกกลุ่มทุกวัย เพราะอยากเห็นบริการและสวัสดิการชุมชนทั่วถึง

20220418-a-05.jpeg

รสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครอิสระ เบอร์ 7 

นโยบาย “ต้องหยุดโกง กรุงเทพฯ เปลี่ยนแน่” “โดยจะเข้าไปจัดการ สะสาง และล้างบางการทุจริตคอร์รัปชัน ถ้ามีตรงส่วนไหนดิฉันจะล้างบาง” รสนา กล่าว

สำหรับนโยบายที่ รสนา ได้ประกาศออกมาพร้อมกับนโยบายหยุดโกง คือ

1. บำนาญประชาชน 3,000 บาท เริ่มได้ก่อนที่ กทม.
2. ไม่ต่อสัมปทานบีทีเอส ลดค่าตั๋วเหลือ 20 บาทตลอดสาย
3. ฟ้าทะลายโจรและยาไทยฟรีทุกบ้าน อยู่กับโควิดได้ กลับมาทำมาหากินอย่างมั่นใจ
4. กระจายงบ 50 ล้านบาทต่อเขต ให้คนพื้นที่ตัดสินใจแก้ปัญหา
5. ระบายน้ำท่วม จ้างงานขุดลอก 1,600 คลอง ฟื้นวิถีท่องเที่ยวเวนิสตะวันออก
6. ตั้งกองทุนหลังคาบ้านโซลาร์เซลล์ประหยัดค่าไฟ 500 บาททุกเดือน
7. ติดกล้อง CCTV 500,000 ตัว กทม. ต้องปลอดภัยทั้งทางบกและทางน้ำ
8. “เลิกรอคิวนาน” ยกระดับ 69 ศูนย์อนามัย กทม. เป็นโรงพยาบาล 24 ชั่วโมง

20220418-a-06.jpeg

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครอิสระ เบอร์ 8

นโยบาย "สิ่งแวดล้อมดี" จึงครอบคลุมการป้องกันรับมือกับสภาพอากาศ มลพิษที่แปรปรวน รวมถึงการจัดการกับประเด็นสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว อาทิ ขยะ น้ำเสีย

ต้นไม้และพื้นที่สีเขียว

  • เพิ่มพื้นที่สาธารณะขนาดเล็กสำหรับพักผ่อนและทำกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น สวน ลานกีฬาที่เดินถึงได้ภายใน 15 นาที
  • เพิ่มสวนที่พาสัตว์เลี้ยงเข้าได้ โดยมีมาตรการความสะอาดและความปลอดภัยที่คำนึงถึงผู้ใช้รายอื่น
  • มีรุกขกรมืออาชีพดูแลต้นไม้ประจำเขต ทั้งการตัดแต่ง ดูแล และทำฐานข้อมูล
  • ปลูกต้นไม้ล้านต้นอย่างมีกลยุทธ์ เช่น ปลูกในพื้นที่ที่ผ่านการศึกษาเรื่องการไหลเวียนของฝุ่น ปลูกเพื่อสร้างร่มเงาในพื้นที่ที่ประชาชนอยู่กลางแจ้งหนาแน่น ปลูกโดยใช้กล้าไม้ของประชาชนที่ทำเกษตรกรรมในกรุงเทพฯ เป็นต้น

ขยะ

  • แยกขยะตั้งแต่ต้นทาง จัดการขยะด้วยวิธีที่เหมาะสมลดการเผาและฝังกลบ
  • พัฒนารถขยะขนาดเล็ก ลดปัญหาขยะตกค้างตามซอยแคบและชุมชน
  • จัดการจุดทิ้งขยะให้ถูกสุขอนามัย

อากาศ

  • จัดทีม “นักสืบฝุ่น” ศึกษาต้นต่อ PM2.5 เพื่อพยากรณ์ แจ้งเตือน และป้องกันให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากฝุ่นน้อยที่สุด
  • ตรวจสอบมลพิษเชิงรุกจากต้นตอ ทั้งโรงงาน ไซต์ก่อสร้าง และท่ารถ
  • ติดตั้งเซนเซอร์จับฝุ่นเพิ่ม 1,000 จุด วิเคราะห์ แสดงผลเรียลไทม์
  • สนับสนุนให้มีจุดชาร์จแบตและเปลี่ยนแบตรถ EV เพิ่มขึ้น
  • นำร่องควบคุมก๊าซเรือนกระจกในหน่วยงาน กทม. อย่างเป็นระบบ ด้วยการคำนวณการปล่อย ลดการปล่อย เช่น ใช้พลังงานทดแทน และชดเชยส่วนที่เหลือด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว

น้ำเสีย

  • ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียต้นทาง นำร่องตลาด กทม. และชุมชนริมคลอง
  • ทบทวนแผนก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสีย เน้นประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และความสอดคล้องกับบริบทพื้นที่

สัตว์จร

  • จัดการสัตว์จรอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ทำหมัน ฉีดวัคซีน ขึ้นทะเบียน พัฒนาคุณภาพศูนย์พักพิงสัตว์ รวมถึงการหาผู้รับเลี้ยง


20220418-a-07.jpeg

น.ต.ศิธา ทิวารี ผู้สมัครพรรคไทยสร้างไทย เบอร์ 11


ชูนโยบาย กทม. เป็น 3P 

P แรก คือ People สร้างเมืองแห่งโอกาสให้ชาวกรุงเทพฯ เพราะประชาชนคือผู้สร้างเมือง ไม่เชื่อว่าจะมีฮีโร่จากไหนมาสร้างกทม. แต่ประชาชนจะเป็นผู้สร้างเมือง เราจะลงทุนกับเรื่องการศึกษา และชีวิตประชาชนต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

P ที่ 2 คือ Profit สร้างมหานครแห่งความมั่งคั่ง แก้ปัญหาปากท้องชาวบ้าน เช่นหาบเร่แผงลอย ที่มีเทศกิจคอยทำหน้าที่ตรวจสอบชาวบ้าน มีอะไรอยู่ใต้โต๊ะ ตนจะนำเรื่องเหล่านี้ออกมาวางให้ประชาชนเห็น ให้คนที่ทำหน้าที่ตรวจสอบมาอำนวยความสะดวกให้ประชาชนและจะคืนอำนาจให้ประชาชนมีส่วนกับการแต่งตั้งโยกย้าย
และ 

P ที่ 3 สามคือ Planet โดยจะสร้างคุณภาพชีวิตคนกรุงเทพฯอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้มี นโยบายดูแลผู้สูงอายุ ยกระดับรองรับการเข้าสู่สังคมสูงวัย ตั้งศูนย์สุขภาพ เพิ่มพื้นที่สีเขียวออกกำลังกาย”

นโยบายพรรคไทยสร้างไทยที่จะยกระดับ คุณภาพชีวิตทั้งการให้บำนาญคนชราวันละ 100 บาท หรือเดือนละ 3,000 บาท เพื่อดูแลสุขภาพ ดูแลตัวเอง ลดภาระให้ลูกหลาน ซึ่งเป็นนโยบายเชื่อมโยงกับ กทม.และไม่ใช่นโยบายประชานิยมหรือประชารัฐแต่เป็นเงินที่จะนำไปใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ เชื่อมต่อการทำงานระดับชุมชนและประเทศ

รายชื่อผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. 2565

หมายเลขผู้สมัคร

ชื่อผู้สมัคร

สังกัดพรรค

1

นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร

พรรคก้าวไกล

2

พล...ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล

ผู้สมัครอิสระ

3

นายสกลธี ภัททิยกุล

ผู้สมัครอิสระ

4

นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์

พรรคประชาธิปัตย์

5

นายวีรชัย เหล่าเรืองวัฒนะ

ผู้สมัครอิสระ

6

พล...อัศวิน ขวัญเมือง

ผู้สมัครอิสระ

7

นางสาวรสนา โตสิตระกูล

ผู้สมัครอิสระ

8

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์

ผู้สมัครอิสระ

9

นางสาววัชรี วรรณศรี

ผู้สมัครอิสระ

10

นายศุภชัย ตันติคมน์

ผู้สมัครอิสระ

11

..ศิธา ทิวารี

พรรคไทยสร้างไทย

12

นายประยูร ครองยศ

พรรคไทยศรีวิไลย์

13

นายพิศาล กิตติเยาวมาลย์

ผู้สมัครอิสระ

14

นายธเนตร วงษา

ผู้สมัครอิสระ

15

พล...ทูตปรีชา เลิศสันทัดวาที

ผู้สมัครอิสระ

16

..ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์

ผู้สมัครอิสระ

17

นายอุเทน ชาติภิญโญ

ผู้สมัครอิสระ

18

..สุมนา พันธุ์ไพโรจน์

ผู้สมัครอิสระ

19

นายไกรเดช บุนนาค

ผู้สมัครอิสระ

20

นางอมรพรรณ อุ่นสุวรรณ

ผู้สมัครอิสระ

21

นายนิพัทธ์พนธ์ สุวรรณชนะ

ผู้สมัครอิสระ

22

นายวรัญชัย โชคชนะ

ผู้สมัครอิสระ

23

นายเฉลิมพล อุตรัตน์

ผู้สมัครอิสระ

24

นายโฆสิต สุวินิจจิต

ผู้สมัครอิสระ

25

นายประพัฒน์ บรรจงศิริเจริญ

ผู้สมัครอิสระ

26

พล...มณฑล เงินวัฒนะ

ผู้สมัครอิสระ

27

นายภูมิพัฒน์ อัศวภูภินทร์

ผู้สมัครอิสระ

28

นายสราวุธ เบญจกุล

ผู้สมัครอิสระ

29

นายกฤตชัย พยอมแย้ม

พรรคประชากรไทย

30

นายพงศา ชูแนม

พรรคกรีน

31

นายวิทยา จังกอบพัฒนา

ผู้สมัครอิสระ


 
ติดต่อโฆษณา!