กทม. เดินหน้า "วัคซีนโควิด 19" ปลอดภัย มั่นใจได้

กทม. เดินหน้า "วัคซีนโควิด 19" ปลอดภัย มั่นใจได้

Written by ทันข่าวToday

Highlight
กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สูงเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ทั้งด้วยจำนวนผู้คนที่ใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานครจำนวนมาก เป็นแหล่งศูนย์รวมของการคมนาคม และเศรษฐกิจของประเทศ มีการเคลื่อนย้ายของประชากรเข้าและออกพื้นที่เป็นจำนวนมาก ซึ่งง่ายต่อการกลายเป็นพื้นที่ของการแพร่ระบาดของโรค ดังนั้น การฉีดวัคซีนโควิด 19 ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในภาวะแบบนี้

การแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่กลับมาอีกครั้ง ในคลัสเตอร์ของสถานบันเทิง เป็นเวฟต่อจากกลุ่มแรงงานต่างด้าวจากคลัสเตอร์ตลาด สิ่งที่เกิดขึ้นทาง กรุงเทพมหานครให้ความสำคัญกับเรื่องของการเฝ้าระวัง สอบสวนโรค คัดกรองและป้องกัน พร้อมกับเร่งเรื่องการฉีดวัคซีนควบคู่ไปด้วย  

1. กรุงเทพมหานครกับแนวทางการฉีดวัคซีน 

โดยหลักการแล้ว กรุงเทพมหานครมีเป้าหมายในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แก่ประชาชนให้ครอบคลุมอย่างน้อยร้อยละ 60 ของประชากร เพื่อจะทำให้เกิด “ภูมิคุ้มกันหมู่”(herd immunity) ขึ้นในกลุ่มประชาชน 

วัคซีนล็อตแรกจากกระทรวงสาธารณสุข คือ  “ซิโนแวคของประเทศจีน” มาส่งมอบช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ทั้งหมด 66,000 โดส  

กระจายฉีดไปทั่วถึง 66,000 คน ในช่วงมีนาคมที่ผ่านมา เพื่อสร้างความมั่นใจ ว่าวัคซีนปลอดภัย และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับกลุ่มเสี่ยง ก็คือ

▪️ กลุ่มที่ 1 บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขในพื้นที่เสี่ยง 6 เขตติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่ เขตจอมทอง เขตบางขุนเทียน เขตบางแค เขตบางบอน เขตภาษีเจริญ และเขตหนองแขม รวมทั้งบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วยโควิด 19 ในโรงพยาบาลนอกพื้นที่เสี่ยง 6 เขตข้างต้น
▪️ กลุ่มที่ 2 เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขด่านหน้าอื่นๆ ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วยโรคโควิด 19 
▪️ กลุ่มที่ 3 ผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรคในพื้นที่เสี่ยง 6 เขต ที่มีอายุ 18 – 59 ปี 10 เดือน 

20210409-a-1.jpg

ในระยะแรกเป้าหมายการให้บริการวัคซีนโควิด 19 เพื่อลดความรุนแรงและความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อโควิด 19 และปกป้องระบบสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จึงเน้นให้บริการในเขตพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดสูงและเป็นพื้นที่รอยต่อกับจังหวัดสมุทรสาครใน 6 เขต ได้แก่  

1) เขตจอมทอง  
2) เขตบางขุนเทียน  
3) เขตบางแค 
4) เขตบางบอน  
5) เขตภาษีเจริญ  
6) เขตหนองแขม

▪️ กลุ่มที่ 4 ประชาชนทั่วไปในพื้นที่เสี่ยง 6 เขต รวมถึงประชาชนกลุ่มเสี่ยงย่านตลาดบางแค ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และผู้สูงอายุในบ้านพักคนชรา (บ้านบางแค 1 และบ้านบางแค 2)  ซึ่งกรุงเทพมหานครได้รับความร่วมมือจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ไปให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca ที่ได้รับการจัดสรรพิเศษสำหรับผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราทั้ง 2 แห่งนี้

20210409-a-2.jpg 
ขอให้พี่น้องประชาชนทุกคน มั่นใจในความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน ได้รับความสะดวกในการให้บริการตามมาตรฐานทางการแพทย์ 

2. กระบวนการแจกจ่ายและฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) เป็นอย่างไร ?

วัคซีนโควิด AstraZeneca เป็นหนึ่งในวัคซีนที่ไทยกำลังจะนำเข้ามาฉีดเพื่อป้องกันโควิด 19 ในประเทศ โดยเป็นวัคซีนโควิดที่คิดค้นโดยบริษัทแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (Oxford University)

ทางกรุงเทพมหานคร ได้รับมาประมาณ 30,000 โดส โดยฉีดในล็อตแรกในกลุ่มบุคคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัครสาธารณสุข และกลุ่มผู้ป่วย 7 กลุ่มโรค ซึ่งในทุกๆ กลุ่มเน้นฉีดในกลุ่มอายุเกิน 60 ขึ้นไป 

จำนวนโดส 30,000 โดส แรกที่ได้มา จะมีวันหมดอายุในช่วงเดือนมิถุนายน จึงจำเป็นต้องเร่งฉีดให้ครบภายในเดือนพฤษภาคม นี้ ตอนนี้ทางกรุงเทพมหานครกำลังเร่งปรับแผนการทำงาน

3. แผนการจัดสรรวัคซีนโควิด 19 ของกรุงเทพมหานครในอนาคต 

วัคซีนซิโนแวค ล็อตที่ 2 ที่ทางกรุงเทพมหานครจะได้มาอีก 100,000 โดส เราจะต้องกันไว้ให้กับผู้ที่จะฉีดเข็มที่ 2 จำนวน 66,000 โดส ที่เหลือ 34,000 โดส ก็จะเตรียมกระจายให้พี่น้องคนกรุงเทพมหานครอีก 17,000 คน (ครบ 2 เข็ม) 

ซึ่งแผนที่จะฉีด 17,000 คน นั้น ทางกรุงเทพมหานคร จะกระจายให้กับทีมบุคลากรด่านหน้าที่กระจายทั้ง 50 เขต ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน 
 
ในระยะถัดไป กรุงเทพมหานครจะขยายพื้นที่ให้บริการวัคซีนโควิด 19 ให้คลอบคลุมทั้งกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ารับบริการวัคซีนในโรงพยาบาลทุกแห่ง และมีการจัดบริการหน่วยบริการวัคซีนเชิงรุกตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ  

4. ผู้ที่สามารถที่จะได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 นั้นต้องมีการลงทะเบียน และขั้นตอนอย่างไร?  

กรุงเทพมหานคร ตั้งใจจะฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมครบทุกกลุ่ม ใน 50 เขตทั่วประเทศ สำหรับประชาชนที่อายุเกิน 18 ปี (ประมาณ 5 ล้านกว่าคน) 

20210409-a-3.jpg

ลงทะเบียนฉีดวัคซีนได้ 2  แบบ  

1) แบบลงทะเบียนผ่าน Line Official “หมอพร้อม” และ 
2)  ลงทะเบียนได้ที่ โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร / ศูนย์บริการสาธารณสุขทุกแห่งใกล้บ้าน (สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกใช้สมาร์ทโฟน) 
 
โดยโรงพยาบาลจะดำเนินการลงทะเบียนจองสิทธิฉีดวัคซีน และตรวจสอบสิทธิว่าเข้าเกณฑ์ที่จะได้รับการฉีดวัคซีนหรือไม่ 

ต้องเข้าใจว่าแม้ว่าลงทะเบียน 100 คน ก็ไม่ได้รับการยืนยันการฉีดทั้ง 100 คน เพราะต้องขึ้นอยู่กับการคัดกรอง และความเสี่ยง ที่โรงพยาบาลจะสกรีนตามความเหมาะสม  
 
กรณีกลุ่มเสี่ยงมีโรคประจำตัวแต่ไม่มีหลักฐานในระบบของโรงพยาบาลที่จองฉีดวัคซีน ให้ใช้หลักฐานยืนยัน เช่น ใบรับรองแพทย์ หรือประวัติการรักษาในการลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนล่วงหน้า  
 
ต่อจากนั้นกำหนดวันฉีดวัคซีนและหน่วยบริการฉีดวัคซีนตามที่ผู้รับบริการเลือก ยืนยันการจองฉีดวัคซีน โดยโรงพยาบาบาลสามารถออกใบนัดหมายฉีดวัคซีนโควิด 19 หรือนัดหมายฉีดวัคซีนตามระบบนัดหมายปกติของโรงพยาบาล 
 
สำหรับการเข้ารับบริการฉีดวัคซีน กลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนจองสิทธิทุกราย สามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนได้ ณ โรงพยาบาลตามวัน เวลาที่จองสิทธิไว้ตามบัตรนัด โดยกลุ่มเป้าหมายที่มี Line Official Account "หมอพร้อม" จะได้รับการแจ้งเตือนการนัดหมายผ่าน Line Official Account "หมอพร้อม"   
 
ส่วนกลุ่มเป้าหมายที่มิได้มีการลงทะเบียนจองสิทธิในเวลาที่กำหนด สามารถขอรับบริการฉีดวัคซีนได้ที่โรงพยาบาลในช่วงที่ให้บริการวัคซีนโควิด 19 แต่เนื่องจากปริมาณวัคซีนที่โรงพยาบาลได้รับการจัดสรรมีจำนวนจำกัดและไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกคน ดังนั้นโรงพยาบาลต้องให้บริการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมายตามลำดับการจองสิทธิ   

5. เปิด 7 ขั้นตอนฉีดวัคซีน ใช้เวลาไม่เกิน 37 นาทีต่อคน 

20210409-a-4.jpg
ขั้นตอนการฉีดวัคซีน COVID-19 มี 7 ขั้นตอน ใช้เวลาไม่เกิน 37 นาทีต่อคน 

1. ตรวจสอบสิทธิ์ กรอกข้อมูลประวัติ ไม่จำเป็นต้องมีโทรศัพท์ 
2. ลงทะเบียน ทำบัตร  
3. วัดไข้ ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน 
4. ให้คำปรึกษาแนะนำ และลงชื่อในใบยินยอมการรับวัคซีน 
5. ฉีดวัคซีน  
6. พักรอสังเกตอาการ 30 นาที  
7. ลงทะเบียนกับเจ้าหน้าที่โดยตรง หรือ Line Official Account “หมอพร้อม” และให้คำแนะนำก่อนกลับบ้าน 
 
ขอให้ทุกคนมั่นใจ ในกระบวนการฉีดวัคซีนจากหมอและพยาบาลมืออาชีพ ที่มีความปลอดภัย และอยากจะขอเน้นย้ำเรื่องการฉีดเข็มที่ 2 ว่าเป็นเรื่องสำคัญ หลังจากฉีดเข็มที่ 1 ภูมิคุ้มกันยังไม่เต็มที่ 

กรณีฉีดซิโนแวก (Sinovac) เข็มที่ 2 จะฉีดห่างจากเข็มแรก 3 สัปดาห์ หาดไม่ว่างในวันที่นัดหมาย สามารถเลื่อนวันฉีดได้แต่ไม่ควรเกิน 1 สัปดาห์ 

กรณีฉีด แอสตราเซเนกา(AstraZeneca) เข็มที่ 2 จะทิ้งระยะเวลาห่างจากเข็มแรกประมาณ 8 สัปดาห์ (แต่ไม่ควรเกิน 12 สัปดาห์) 

6. กรุงเทพมหานครเปิดให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลไหนบ้าง? 

20210409-a-5.jpg

20210409-a-6.jpg
ในเฟสแรกที่เราเน้นไปที่ 6 เขตใกล้กับสมุทรสาคร ทางกรุงเทพมหานครจึงกำหนด 

โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครและโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 16 แห่ง

1. โรงพยาบาลบางขุนเทียน 1  
2. โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล 
3. โรงพยาบาลบางมด  
4. โรงพยาบาลพีเอ็มจี  
5. โรงพยาบาลนครธน  
6. โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน  
7. โรงพยาบาลเกษมราษฎร์บางแค  
8. โรงพยาบาลราชพิพัฒ  
9. โรงพยาบาลบุญญาเวช  
10. โรงพยาบาลบางปะกอก 8  
11. โรงพยาบาลสหวิทยาการมะลิ  
12. โรงพยาบาลบางไผ่  
13. โรงพยาบาลมิตรประชา (เพชรเกษม 2)  
14. โรงพยาบาลพญาไท 3  
15. โรงพยาบาลวิชัยเวชอินเตอร์เนชั่นแนล หนองแขม
16. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร อุทิศ

ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ 7 แห่ง

1. ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 
2. ศูนย์บริการสาธารณสุข 40
3. ศูนย์บริการสาธารณสุข 42
4. ศูนย์บริการสาธารณสุข 47
5. ศูนย์บริการสาธารณสุข 48
6. ศูนย์บริการสาธารณสุข 62
7. ศูนย์บริการสาธารณสุข 65 

ตามหลักการหากฉีดวัคซีน เมื่อฉีดเข็มแรกไปแล้ว นับตั้งแต่วันที่ฉีดไปอีก 2 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน หรือ เมื่อครบ 1 เดือนแล้ว แต่ยังไม่มีการฉีดเข็มที่ 2 โอกาสป้องกันการติดเชื้อ จะมีเพียงแค่ 60% มีโอกาสที่จะติดเชื้ออีก 40% 

ดังนั้นย้ำกันเสมอว่า ถึงฉัดวัคซีนแล้ว ก็ยังต้องการ์ดอย่าตก ต้องใส่หน้ากากอนามัย  ล้างมือ รักษาระยะห่าง กันต่อไป

ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันส่วนบุคคล (D-M-H-T-T) อย่างเคร่งครัด ได้แก่ เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกนอกบ้านหรืออยู่ในพื้นที่สาธารณะ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์ล้างมือ ตรวจวัดอุณหภูมิ และใช้แพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” เมื่อเข้าใช้บริการในสถานที่ต่างๆ  

20210409-a-7.jpg 
เพราะองค์การอนามัยโลก ย้ำว่า ยังต้องใส่หน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่าง เนื่องจากต้องใช้เวลาถึงจะเพิ่มภูมิคุ้มกันจนมีความครอบคลุมสูง และประสิทธิภาพของวัคซีน คือ ป้องกันการเสียชีวิต การป่วยหนัก ส่วนการป้องกันการติดเชื้อและป้องกันการแพร่เชื้อยังต้องรอผลการศึกษาในระยะยาว ดังนั้น หลังฉีดวัคซีนแล้วยังต้องยกการ์ดสูง

ติดต่อโฆษณา!