“สภา กทม.” กระบอกเสียง “คนกรุง” ฝ่าวิกฤติโควิด-19
Highlight
การแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ “กรุงเทพมหานคร” ติดเชื้อรายวันสูงสุดของประเทศ! มาตรการสู้ภัยโควิด-19 ทิศทางจะเป็นอย่างไร? กระบอกเสียงสำคัญแทนคนกรุง คือ “สภากรุงเทพมหานคร” ที่ต้องคอยคอยผลักดันและตรวจสอบการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
“กรุงเทพมหานคร” เป็น “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ” แตกต่างจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบทั่วไป ผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะ มีหน้าที่บริหารจัดการ ขณะเดียวกัน ตัวแทนประชาชนในการตรวจสอบคือ “สมาชิกสภา กทม.” หรือ ส.ก. เพื่อถ่วงดุลอำนาจ ไม่ให้ผู้ว่าฯ ทำสิ่งใดๆ โดยไม่ถูกตรวจสอบหรือตั้งคำถามจากประชาชน
หน้าที่ “สภากรุงเทพมหานคร” ทำอะไร?
1. “พิจารณางบประมาณ” รายจ่ายประจำปีและงบประมาณส่วนอื่นๆ
เช่น การจ่ายขาดเงินสะสมกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 พันล้านบาท เพื่อสู้ภัยโควิด-19 , การพิจารณาเตรียมงบประมาณฉุกเฉิน เพื่อการตั้งกระทู้ถามสดถึงมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19
2. “เสนอและตรวจสอบ” การบริหารของ กทม. ให้ปรับปรุงเรื่องต่างๆ
เช่น เปิดอภิปรายถกปัญหาค่าโดยสารรถไฟฟ้า
3.“ควบคุมการทำงาน” ของฝ่ายบริหารด้วยวิธีการต่างๆ
เช่น ตั้งกระทู้ถาม และเสนอญัตติให้กรุงเทพมหานครจัดการเรื่องต่างๆ ตลอดจนสามารถเสนอแนะข้อคิดเห็นต่อผู้ว่ากรุงเทพมหานคร
4. “ช่วยเร่งผลักดัน” ให้กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรม
เช่น ศึกษารูปแบบการปฏิรูปโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร , การจัดตั้งกองทุนสุขภาพท้องถิ่น และการสร้างหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชน
“สภากรุงเทพมหานคร” มาจากไหน?
มาจากการเลือกตั้งของประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง โดยเราจะได้เลือกตั้งกันทุกๆ 4 ปี
สิทธิเลือกตั้งของกรุงเทพมหานคร มีทั้งหมด 50 เขต แต่ละเขตมี ส.ก. 1 คนต่อราษฎร 150,000 คน
ถ้าเศษเกิน 75,000 คน จะสามารถเพิ่ม ส.ก. ได้อีก 1 คน
“สภากรุงเทพมหานคร” ต้องฟังเสียงประชาชน
ประชาชนส่งความคิดเห็นเพื่อร่วมพัฒนากรุงเทพได้ที่ :
Facebook หรือ Twitter : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์
เว็บไซต์ : www.prbangkok.com
Application : BKK Connect
บทบาทหน้าที่เหล่านี้จึงทำให้ “สภากรุงเทพมหานคร” เป็นกลไกหลักที่จะช่วยขับเคลื่อนทิศทางการพัฒนากรุงเทพฯ ให้เดินหน้าต่อไป เป็นการทำงานอย่างใกล้ชิด ช่วยขับเคลื่อนความฝันและความต้องการของชาวกรุงเทพฯ ให้เกิดขึ้นจริง
#รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์คลิกอ่านทันข่าว