“เรื่องเล่าดีดี ของคนกรุงเทพฯ” ตอน กทม. ห่วงใยสุขภาพประชาชนในช่วงฤดูฝน

Highlight

“ฤดูฝน” เป็นอีกช่วงหนึ่งที่มีอัตราผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะอากาศที่มีความเย็นชื้น และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

และถ้า … คลื่นลูกที่สองในการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาชนกับฤดูไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ไม่อยากจะคิด

กทม. ชวนทุกคนหันมาดูแลสุขภาพ และอัพเดทโรคภัยที่มากับฝนกัน


นอกจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เราต้องคอยระวังกันเป็นตลอดเวลา เข้าฤดูฝน อากาศชื้นเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคเป็นยิ่งนัก ก็ยังมีโรคติดต่ออื่นๆ ที่สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง

5 กลุ่มโรคที่ต้องระวังในฤดูฝน ที่มักจะวนเวียนมาพบเจอในทุกๆ ปี กับฤดูฝน


1) กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ด้วยสภาพอากาศที่แปรปรวนบวกกับเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศชื้นช่วงฤดูฝนจะเป็นพาหะของโรคระบบทางเดินหายใจ เพียงแค่ไอ จาม เช่น

▪️ โรคไข้หวัดใหญ่ พบได้ทุกกลุ่มอายุ

▪️ โรคปอดอักเสบ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย พบผู้ป่วยได้ทุกกลุ่มอายุ
2) กลุ่มโรคติดต่อทางน้ำและอาหาร

▪️ โรคท้องร่วงเฉียบพลัน | อาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป ผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ 3 ครั้งขึ้นไปต่อวัน

▪️ โรคอาหารเป็นพิษ มักพบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อน โดยทั่วไปมีอาการเล็กน้อยไม่รุนแรง มักจะหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง

3) กลุ่มโรคที่มียุงเป็นพาหะ ไข้เลือดออกมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งกว่าร้อยละ 80 จะเกิดจากยุงลายที่อยู่ในบ้าน ดังนั้นเราจึงต้องกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้านให้หมดจด โดยเฉพาะในจุดที่มีน้ำท่วมขัง

▪️ โรคไข้เลือดออก

▪️ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือโรคชิคุนกุนยา

▪️ โรคไข้สมองอักเสบ เจอี

▪️ โรคมาลาเรีย

4) กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผล หรือเยื่อบุผิวหนัง

▪️ โรคฉี่หนู หรือเลปโตสไปโรซิส

▪️ กลุ่มโรคเยื่อบุตาอักเสบ

▪️ โรคตาแดง หรือโรคการติดเชื้อไวรัส Adenovirus เป็นโรคระบาดที่มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน พบได้ทุกเพศทุกวัยจากการสัมผัสน้ำตาหรือขี้ตาของผู้ป่วย การใช้ของร่วมกัน ฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา การไอ จาม หายใจรดกันในสถานที่แออัดไปด้วย
กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ ใส่หน้ากากอนามัย ยังคงต้องเคร่งครัด ทำเป็นกิจวัตรอย่างต่อเนื่อง ช่วยปลอดภัย ปลอดโรค ลดเสี่ยงได้จริงๆ
เฝ้าระวัง 2 กลุ่มเสี่ยง ที่ต้องดูแล

▪️ เด็กเล็ก
นอกจาก ไข้หวัดใหญ่ และไข้เลือดออก แล้วอีกโรคที่ต้องระมัดระวัง คือ ” โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก มีผื่นแดงหรือตุ่มบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า สาเหตุเกิดจากสภาพอากาศที่เย็นและชื้น ไวรัสที่เจริญเติบโตได้ในลำไส้
พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ควรต้องระมัดระวัง รักษาสุขอนามัยของเด็กให้สะอาด ตัดเล็บให้สั้น รวมทั้งหมั่นล้างมือบ่อยๆ

▪️ กลุ่มผู้สูงอายุ
ส่วนในกลุ่มผู้สูงอายุ โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดอักเสบ เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะในปีนี้เป็นครั้งแรกที่มีโรคระบาดทั้งสองโรคพร้อมกัน ทั้งโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่

▪️ จำเป็นแค่ไหน … “วัคซีนไข้หวัดใหญ่”

(จากการศึกษาพบว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ได้ 40-60 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่ตรงกับวัคซีน)

บุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรได้รับวัคซีนนี้ปีละ 1 เข็มอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยป้องกันความรุนแรงและการแพร่กระจายของโรคไข้หวัดใหญ่ กลุ่มเสี่ยง อย่างเช่น

1. เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี
2. ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
3. สตรีมีครรภ์ อายุครรภ์ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
4. ผู้ป่วยที่พักฟื้นในสถานพยาบาลหรือสถานที่สำหรับดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

▪️วิธีดูแลตัวเองช่วงฤดูฝนแบบง่ายๆ ทำได้ทุกคน


▪️3 ภัยอันตรายที่มักจะเกิดขึ้นในฤดูฝน ที่อยากให้ระมัดระวัง

1) การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจมน้ำ
ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดและให้ความรู้ในการเอาตัวรอด และวิธีการช่วยเหลือคนจมน้ำอย่างถูกวิธี ขณะที่ชุมชนควรมีป้ายเตือน ทำเครื่องป้องกัน ทำรั้วล้อมรอบแหล่งน้ำ
2) การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการถูกฟ้าผ่า เมื่อมีฝนตกฟ้าคะนอง
ให้หลบในที่ปลอดภัย เช่น อาคารขนาดใหญ่ ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือกลางแจ้งในขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เนื่องจากจะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าเข้ามาในโทรศัพท์มือถือได้
3) อันตรายจากการถูกสัตว์มีพิษกัด
ควรจัดบ้านให้สะอาด ไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนของสัตว์มีพิษ ระวังเมื่อต้องเข้าไปในที่รก กอหญ้า หรือกองไม้ หากถูกงูพิษกัดต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที และจำลักษณะชนิดของงูที่กัด เพื่อการให้เซรุ่มพิษงูได้ถูกต้องและรวดเร็ว
ทางกรุงเทพมหานครเราห่วงใย และตั้งใจที่จะดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มากที่สุด

เราเตรียมความพร้อมทั้งบุคลากร อุปกรณ์ต่างๆ ที่จะดูแลประชาชน
ถ้าต้องการให้ กทม. ช่วยเหลือดูแล ด้านสุขภาพ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่ Hotline 1646 สายด่วนสุขภาพสำนักการแพทย์


นอกจากนี้ สำนักงานเขต เตรียมพร้อมมาตรการดูแลการระบาดของไข้เลือดออก ที่แต่ละเขต ลงพื้นฉีดพ่นกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ดูแลไม่ให้เกิดน้ำท่วมขัง รวมถึงเร่งรณรงค์ควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคภัยต่างๆ ที่มาพร้อมฝน หน่วยงานอื่นๆ ของกรุงเทพมหานคร ต่างช่วยกันดูแลความปลอดภัยพี่น้อง ที่อาจเกิดจากอุบัติภัย ไม่ว่าจะเป็น ฝาท่อระบายน้ำ ระบบสายไฟ ป้ายเตือนต่างๆ ที่ใกล้แหล่งน้ำ เป็นต้น
สิ่งที่อยากจะทิ้งทาย ฝากกับพี่น้องประชาชน การดูแลสุขภาพตัวเอง แข็งแรงทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจ เป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ รอบตัวเรา
ติดต่อโฆษณา!