05 มิถุนายน 2563
3,064
“เรื่องเล่าดีดี ของคนกรุงเทพฯ” ตอน กทม. เดินหน้าโครงการ “Green Bangkok 2030” สร้างปอดให้คนเมือง
Highlight
ชวนมารู้จักกับ 11 พื้นที่สีเขียว (เฟส1) สวนสวยแหล่งใหม่ ฟอกปอดคนกรุงเทพฯ จากโครงการ “Green Bangkok 2030” พร้อมปักหมุดเฟส
2 เดินหน้า สร้างพื้นที่สีเขียวเพิ่มอีกกว่า 500 ไร่ ตลอดโครงการ
การมีต้นไม้จำนวนมากในพื้นที่ “ชุมชนเมือง” กลายสิ่งสำคัญสำหรับเมืองขนาดใหญ่ในโลกทุกวันนี้ เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี เปรียบเสมือนปอดของคนเมือง
กรุงเทพมหานครตระหนักถึงความสำคัญของต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในเมืองสำหรับคุณภาพชีวิตที่ดีของคนกรุงเทพฯ กับการปักหมุด 11 สวนสวยๆ ชวนคนกรุงมารู้จัก
▪️โครงการ “Green Bangkok 2030” ปลูกเพื่อเปลี่ยนร่วมสร้าง “กรุงเทพฯ เมืองสีเขียว … ดีต่อใจ คนกรุง
โดย พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ประกาศเจตนารมณ์ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่กรุงเทพฯ ให้ได้ตามเป้าหมายภายในปี พ.ศ.2573
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2562 ณ สวนวชิรเบญจทัศ
เป้าหมายของโครงการนี้ คือการสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวที่เข้าถึงได้ในระยะ 400 เมตร หรือเดินได้ภายใน 5-10 นาที จากปัจจุบันมีเพียง ประมาณ 13% ของกรุงเทพฯ ให้เป็น 50% เพิ่มพื้นที่สีเขียวต่อประชากร จากปัจจุบันมีเพียง 6.9 ตารางเมตรต่อคน เป็น 10 ตารางเมตรต่อคน และเพิ่มพื้นที่ร่มไม้ในเมือง จากปัจจุบันมีเพียง ประมาณ 17% เป็น 30%
โดยปักหมุดนำร่องสร้างสวนสวยๆ เพื่อคนกรุงเทพฯไว้ 11 โครงการ (เฟส 1) ซึ่งมีความคืบหน้าไปมากในหลายโครงการ พร้อมให้เตรียมไปเช็คอินกัน ดังนี้
▪️ โครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการกับพี่น้องประชาชน จำนวน 1 โครงการ คือ
• สวนปิยะภิรมย์ เขตบางกะปิ
ก่อสร้างบนที่ดินของกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 ไร่ (เขตบางกะปิ)
ขณะนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จ เปิดให้บริการอย่างไม่เป็นทางการแล้ว ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เนื่องจากพื้นที่สวนเป็นพื้นที่เปิด ไม่มีรั้วล้อมรอบ
▪️ โครงการที่คาดว่าจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนในเดือนสิงหาคม 2563 จำนวน 1 โครงการ คือ
• สวนสันติพร
ก่อสร้างบนที่ดินกรมธนารักษ์ จำนวน 2.5 ไร่ (เขตพระนคร)
▪️ โครงการที่คาดว่าจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนในเดือนกันยายน 2563 จำนวน 1 โครงการ คือ
• สวนสาธารณะบริเวณทางแยกต่างระดับถนนร่มเกล้ากับถนนเจ้าคุณทหาร เขตลาดกระบัง
ก่อสร้างบนที่ดินของกรุงเทพมหานคร 18 ไร่
▪️ ปักหมุด อีก 8 โครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปี 2564 กระจายหลายเขต ทั่วกรุงเทพมหานคร
โดยมีความคืบหน้า ดังนี้
1. สวนสาธารณะภายในสถานีพัฒนาที่ดินกรุงเทพมหานคร
▪️(ถนนบางขุนเทียนชายทะเล)
พื้นที่ ที่ดินของกรมธนารักษ์ 37 ไร่ (เขตบางขุนเทียน)
▪️คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน ก.พ. 2564
2. สวนชุมชน เขตบางรัก (นับเป็นสวนที่สำคัญ)
▪️เป็นพื้นที่ ที่ดินเอกชนบริจาคให้กรุงเทพมหานคร 0.5 ไร่
▪️คาดว่าจะแล้วเสร็จในต้นปี 2564
สวนนี้ ถือว่า เป็นความร่วมมือของประชาชน มีการลงพื้นที่ เพื่อตอบโจทย์คนเมือง และยังได้ทำงานร่วมกับกลุ่ม WePark (ซึ่งเป็นกลุ่มวิชาชีพภูมิสถาปนิก เข้ามาช่วยการออกแบบพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสมกับพื้นที่เมือง และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนในพื้นที่)
3. สวนภายในซอยวิภาวดี 18 แยก 3
▪️พื้นที่ ที่ดินของกรมธนารักษ์ 2 ไร่ (เขตจตุจักร)
▪️คาดว่าจะแล้วเสร็จในต้นปี 2564
ประชาชนโดยรอบสามารถมาใช้พื้นที่ได้ โดยทาง กลุ่ม WePark (ซึ่งเป็นกลุ่มวิชาชีพภูมิสถาปนิก เข้ามาช่วยการออกแบบพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสมกับพื้นที่เมือง และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนในพื้นที่)
4. พื้นที่ภายในศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช
▪️เขตประเวศ พื้นที่ ที่ดินของกรุงเทพมหานคร เนื้อที่ทั้งหมด 70 ไร่
แบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วน ดังนี้
▪️พื้นที่ภายในบริเวณอาคารศูนย์กำจัดมูลฝอย 20 ไร่ ออกแบบให้เป็นสวนสาธารณะอเนกประสงค์ ที่มีองค์ประกอบเหมือนสวนสาธารณะทั่วไป ได้แก่ ทางเดินวิ่ง สนามกีฬา สนามเด็กเล่น สนามหญ้า และปลูกต้นไม้ยืนต้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2564
▪️พื้นที่ว่างบริเวณบ่อฝังกลบเดิม 50 ไร่ ซึ่งอยู่ในแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ทำให้ไม่สามารถสร้างสิ่งปลูกสร้างหรือจัดให้มีกิจกรรมใดๆ ได้ จึงมีแนวความคิดออกแบบพื้นที่นี้ให้เป็นสวนป่าที่มีระบบนิเวศใกล้เคียงกับป่าธรรมชาติ โดยสำนักสิ่งแวดล้อมได้ขอความร่วมมือจากสถาบันปลูกป่าของ ปตท. ในการสำรวจพื้นที่และเก็บตัวอย่างดินเพื่อนำไปวิเคราะห์หาพืชพรรณต้นไม้ที่เหมาะสมในการนำมาปลูกเป็นป่าต่อไป
▪️คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในกลางปี 2564
5. พื้นที่สีเขียวภายใน ปตท. สำนักงานใหญ่ ถ.วิภาวดี
▪️เขตจตุจักร พื้นที่ ที่ดินปตท. 0.75 ไร่
▪️คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือน พ.ย. 2563
สถาบันปลูกป่า ปตท. ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีกแรง
6. การพัฒนาพื้นที่สีเขียวตามแนวถนนพหลโยธิน (ห้าแยกลาดพร้าว – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) เขตจตุจักร เขตพญาไท เขตราชเทวี
พื้นที่ ที่ดินสาธารณะและที่เอกชนบางส่วน ตลอดแนวระยะทาง 5.1 กม.
7. พื้นที่ใต้ทางด่วนฉลองรัช (ซอยปรีดีพนมยงค์ 2) เขตวัฒนา
พื้นที่ ที่ดินการทางพิเศษฯ 5.4 ไร่ (เขตวัฒนา)
▪️คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือน ก.ค. 2564
8. พื้นที่ใต้ทางด่วนศรีรัช – วงแหวนรอบนอก (หน้าสถานีรถไฟฟ้าบางซ่อน)
พื้นที่ ที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย (เขตบางซื่อ)
อยู่ระหว่างการประสานงานกับการรถไฟแห่งประเทศไทย
▪️อีก 2 ปีข้างหน้า (2565) กรุงเทพมหานครจะมีพื้นที่ สีเขียวเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 500 ไร่
นอกจากนี้ยังมีโครงการเพิ่มเติมใน เฟส2 (แล้วเสร็จภายในปี 2565) จำนวน 9 โครงการ คือ
1. สวนจากภูผาสู่มหานทีภายในสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พื้นที่ 26 ไร่
2. สวนสาธารณะบริเวณโครงการต่อเชื่อมถนนกาญจนาภิเษก – ถนนพุทธมณฑล สาย 2 เขตทวีวัฒนา พื้นที่ 35 ไร่
3. สวนอยู่เย็นเป็นสุข เขตลาดพร้าว พื้นที่ 11 ไร่
4. สวนป่าสัก ซ.วิภาวดี เขตจตุจักร พื้นที่ 3 ไร่
5. พื้นที่ว่างริมคลองลาดพร้าว พื้นที่เขตจตุจักร
6. พื้นที่ภายในศูนย์กําจัดมูลฝอยหนองแขมของสํานักสิ่งแวดล้อม
7. พื้นที่สวนป่าเอกมัย เขตวัฒนา พื้นที่ 5.4 ไร่
8. พื้นที่ภายในการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ถ.พระราม9 พื้นที่ 300 ไร่
9. ที่ดินเอกชนบริเวณ ซ.ศรีนครินทร์ 24 เขตสวนหลวง พื้นที่ 4 ไร่
กรุงเทพมหานคร คาดว่าพื้นที่สีเขียว PHASE 1 และ PHASE 2 น่าจะดำเนินการได้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2565 ซึ่งจะทำให้กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ สีเขียวเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 500 ไร่
▪️ ผสานพลังทุกภาคส่วนรวมทั้งประชาชน
เรียกว่า โครงการนี้ได้แรงพลังจากหลากหลาย ทั้ง กลุ่ม ปตท. กลุ่ม WePark สถาบันการศึกษา รวมถึงพลังของประชาชน ต่างเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างมหานครสีเขียวอย่างยั่งยืน
เพราะเรื่องพื้นที่สีเขียวในเมืองกำลังเป็นเรื่องที่คนในสังคมส่วนใหญ่สนใจและให้ความสําคัญ เพื่อก้าวสู่ “การสร้างพื้นที่สีเขียวที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน”
ถ้าสนใจร่วมโครงการสามารถติดต่อได้หลายช่องทาง ดังนี้
▪️สำนักสิ่งแวดล้อม ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง เลขที่ 123 ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง 10400 โทร. 02 246 0356 ▪️GREEN BANGKOK 2030 CENTER บริเวณชั้น 3 ศูนย์การค้าเอราวัณ กรุงเทพมหานคร (อยู่ระหว่างการปิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน)
▪️ Facebook Fan Page Green Bangkok 2030
สำนักงานสวนสาธารณะ
▪️ Facebook account
สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม