บทบาทของ “ประธานสภากรุงเทพมหานคร”

HighLight : การพัฒนากรุงเทพมหานครในทุกมิติ คือ หน้าที่ของฝ่ายบริหารโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้นำ แต่อีกหนึ่งองค์กรที่สำคัญ คือ “สภากรุงเทพมหานคร” ซึ่ง “ประธานสภากรุงเทพมหานคร” ทำหน้าที่และมีอำนาจในการดำเนินกิจการของสภากรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร


การพัฒนากรุงเทพมหานครในทุกมิติ คือ หน้าที่ของฝ่ายบริหารโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้นำ แต่ชาวกรุงหลายคนอาจยังไม่รู้ว่ามีอยู่อีกหนึ่งองค์กรที่สำคัญ นั่นก็คือ “สภากรุงเทพมหานคร”

สภากรุงเทพมหานครเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ มีหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบในการออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ และมีอำนาจตรวจสอบติดตามการบริหารของฝ่ายบริหาร ด้วยการตั้งกระทู้ถาม เสนอญัตติ เปิดอภิปรายทั่วไป และโดยเฉพาะการทำหน้าที่ผ่านคณะกรรมการสามัญประจำสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งถือว่าเป็นบทบาทอันสำคัญของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ที่จะตรวจสอบและติดตามการบริหารของฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานคร

สภากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร หรือ “ส.ก.” ชุดปัจจุบัน มาจากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2557 ซึ่งมีการเลือกประธานสภากรุงเทพมหานคร ดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี

 20210709-a-01.jpg


บทบาทและหน้าที่ “ประธานสภากรุงเทพมหานคร”

“ประธานสภากรุงเทพมหานคร” ทำหน้าที่และมีอำนาจในการดำเนินกิจการของสภากรุงเทพมหานคร

ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร ดังต่อไปนี้

  1. ดำเนินกิจการของสภาให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภา
  2. เป็นประธานของที่ประชุม
  3. กำกับดูแลงานในสภา
  4. รักษาระเบียบและความสงบเรียบร้อยในสภา
  5. เป็นผู้แทนสภาในกิจการภายนอก
  6. หน้าที่และอำนาจตามที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือประกาศอื่นกำหนดไว้

 20210709-a-02.jpg


“คณะกรรมการสามัญประจำสภากรุงเทพมหานคร”

ขณะเดียวกัน ส.ก. จะทำหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งสภากรุงเทพมหานคร มีคณะกรรมการสามัญประจำสภาทั้งหมด 12 คณะ ประกอบด้วย

  1. คณะกรรมการกิจการสภา
  2. คณะกรรมการตรวจรายงานการประชุม
  3. คณะกรรมการการศึกษา
  4. คณะกรรมการการโยธาและผังเมือง
  5. คณะกรรมการการสาธารณสุข
  6. คณะกรรมการการรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม
  7. คณะกรรมการการเศรษฐกิจ การเงิน การคลังและการงบประมาณ
  8. คณะกรรมการการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย
  9. คณะกรรมการการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
  10. คณะกรรมการการจราจรและการขนส่ง
  11. คณะกรรมการการระบายน้ำ
  12. คณะกรรมการการวัฒนธรรม การท่องเที่ยวและการกีฬา

 

“คณะกรรมการสามัญประจำสภากรุงเทพมหานคร” มีอำนาจกระทำกิจการ หรือพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร จากนั้นรายงานต่อสภากรุงเทพมหานคร ถ้าสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเห็นชอบกับรายงานของคณะกรรมการดังกล่าว ประธานสภากรุงเทพมหานคร ก็จะส่งเรื่องให้ฝ่ายบริหารดำเนินการตามมติของสภากรุงเทพมหานคร ต่อไป

 

#รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์คลิกอ่านทันข่าว

ติดต่อโฆษณา!