27 มีนาคม 2563
1,295
“เรื่องเล่าดีดี ของคนกรุงเทพฯ” ตอน กทม. ชวนคนกรุง “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน”
Highlight
- หลายคนคงเคยได้ยินโครงการปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน (Earth Hour) กันมาบ้าง
- ปัญหาโลกร้อนในปัจจุบันที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จากตัวอย่างรอบตัวเรา สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงเกิดจากความผันแปรตามธรรมชาติ กิจกรรมที่ เกิดขึ้นจากมนุษย์ ก่อให้เกิดภัยพิบัติตามมา ซึ่งความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินในหลายประเทศทั่วโลก
- กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่มีประชากรกว่า 10 ล้านคน รวมถึงเป็นศูนย์กลางการพัฒนาทุกด้านของประเทศ ทำให้มีการใช้พลังงานมากตามจำนวนของประชากร กรุงเทพมหานครตระหนักถึงเรื่องนี้ และได้รณรงค์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
โครงการ “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน (60+ Earth Hour 2020)” จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
ในปี 2563 นี้ กรุงเทพมหานคร องค์กร WWF ประเทศไทย มูลนิธิสิ่งแวดล้อม- ศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) (FEED) การไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมรณรงค์ “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน” ภายใต้แนวคิด “ปิดเพื่อโลก เปลี่ยนเพื่ออนาคต” ในวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2563 นับเป็นปีที่ 13 ที่กรุงเทพมหานครจัดกิจกรรมนี้
สังสัยไหม ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน (60+ Earth Hour 2020)”
- เริ่มขึ้นที่ไหน ?
- สัญลักษณ์สื่อถึงความหมายอะไร
- ทำไมถึงกลายเป็นสัญลักษณ์สากลทั่วโลก?
และปีนี้ถือเป็นปีที่ 13 ด้วยการรณรงค์ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ร่วมกันปิดไฟที่ไม่จำเป็นเป็นเวลา 1 ชั่วโมง เพื่อให้ทุกภาคส่วนตระหนักร่วมแก้ปัญหาก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อนและลดการใช้พลังงาน รวมทั้งกระตุ้นจิตสานึก สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าและพลังงาน
ตราสัญลักษณ์ของโครงการนี้จะเป็นเลข 60+ รวมกับคำว่า Earth Hour สามารถอธิบายได้คือ 60+ หมายถึง หกสิบบวก คือ เวลา 60 นาที (หรือ 1 ชั่วโมง) ที่ต้องการจะบวกเพิ่มให้กับชั่วโมงของโลก (Earth Hour) ซึ่งเป็นโลกที่เราทุกคนอาศัยอยู่ร่วมกัน
“ปิดเพื่อโลก เปลี่ยนเพื่ออนาคต” คนกรุงเทพฯ ทำได้
ในปี 2563 นี้ กรุงเทพมหานคร, องค์กร WWF ประเทศไทย, มูลนิธิสิ่งแวดล้อม-ศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) (FEED), การไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมรณรงค์ “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน” ภายใต้แนวคิด “ปิดเพื่อโลก เปลี่ยนเพื่ออนาคต” ในวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2563 นับเป็นปีที่ 13 ที่กรุงเทพมหานครจัดกิจกรรมนี้
ด้วยเป้าหมาย “ทำดีกว่าเดิม” :
ในปีนี้กรุงเทพมหานครตั้งเป้าหมายการลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าให้เพิ่มขึ้นหรือเท่ากับปีที่ผ่านมา
(ปี 2562 = 1,514 เมกกะวัตต์) นั่นหมายถึงเราจะสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 749 ตัน และคิดเป็นมูลค่า 6.05 ล้านบาท
เราหวังว่าพี่น้องประชาชนในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ จะให้ความร่วมมือรวมพลังพร้อมใจกันปิดไฟที่ไม่จำเป็น รวมถึงวิธีอื่นๆ ที่ช่วยลดภาวะโลกร้อน และมาร่วมการทำ Challenge ด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการปิดไฟ การถอดปลั๊กไฟ หรือกิจกรรมที่สื่อถึง Earth Hour เพื่อสร้างกระแสในสังคมให้ร่วมกันประหยัดพลังงาน ภายใต้ hashtag
#CONNECT2EARTH
#ปิดเพื่อโลกเปลี่ยนเพื่ออนาคต
#VoiceforThePlanet
แม้จะเป็นจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ แต่จะกระเพื่อมเหมือนกระแสน้ำขยายไปสู่สังคมในวงกว้างที่เห็นเป็นรูปธรรมนอกจากเป็นการจะช่วยประหยัดค่าไฟภายในบ้านแล้ว
ยังเป็นการช่วยชาติประหยัดพลังงาน ประหยัดงบประาณ และช่วยรักษ์โลกรักษ์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน
จากการที่กรุงเทพมหานครดำเนินการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างความตระหนักและสร้างความร่วมมือในการลดปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เราเริ่มโครงการนับตั้งแต่ปี 2551 จนถึง 2562 สามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้ถึง 19,887 เมกะวัตต์ ลดค่าใช้จ่ายรูปแบบตัวเงิน
ประมาณ 70.82 ล้านบาท แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ สามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงถึง 11,008 ตัน
ปี 2563 กับรูปแบบกิจกรรมที่แตกต่าง
สำหรับในปีนี้ หลายๆประเทศประสบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรค กรุงเทพมหานครและเครือข่ายจึงมีการปรับเปลี่ยนการจัดกิจกรรมรณรงค์ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน โดยจะไม่รวมคนจำนวนมาก และเน้นขอความร่วมมือสื่อมวลชนช่วยประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรม ภายใต้ hashtags
#CONNECT2EARTH
#ปิดเพื่อโลกเปลี่ยนเพื่ออนาคต
#VoiceforThePlanet
โดยในวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2563 จัดกิจกรรมในรูปแบบ Virtual Event เน้นประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ และสื่อสังคมออนไลน์ โดยไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่เวลา 20.00 น. เป็นการไลฟ์สดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเชิญชวนลูกเพจร่วมกิจกรรมผ่านเฟซบุ๊กของกรุงเทพมหานคร เพจเฟซบุ๊กของ WWF ประเทศไทย และเพจเฟซบุ๊กของดารา นักร้อง ผู้มีชื่อเสียง และผู้นำทางความคิดในสังคมออนไลน์ ก่อนนำเข้าสู่กิจกรรมปิดไฟ 1 ชั่วโมง ในเวลา 20.30 – 21.30 น. โดยประชาสัมพันธ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ เพื่อสร้างการรับรู้และเชิญชวนประชาชนร่วมกิจกรรม
พร้อมรายงานผลการจัดกิจกรรมและภาพบรรยากาศทั่วโลก โดยสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ลิงค์ https://www.facebook.com/events/190354698929100/ หรือสแกน QR CODE
สำหรับจุดปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ ประกอบ 5 แห่ง ได้แก่
นอกจากนี้ สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ได้รณรงค์เชิญชวนผู้ประกอบการเจ้าของอาคาร สถานที่ พร้อมใจกันร่วมปิดไฟลดใช้พลังงาน
EarthHour ไม่ใช่แค่กิจกรรมการปิดไฟ แต่เป็นหนึ่งในการรณรงค์ที่ยิ่งใหญ่เพื่อสิ่งแวดล้อมของเรา กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่มีประชากรกว่า 10 ล้านคน ทำให้มีการใช้พลังงานมากตามจำนวนของประชากร เพียงความตั้งใจของคน 1 คน หากร่วมพลัง 10 ล้านคน จะเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่อย่างแน่นอน มาช่วยกันปิดเพื่อโลก เปลี่ยนเพื่ออนาคตกันนะครับ #CONNECT2EARTH #ปิดเพื่อโลกเปลี่ยนเปลี่ยนเพื่ออนาคต #VoiceforThePlanet