GC ตั้งเป้าหมาย ปี 2030 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 20% ปี 2050 ตั้งเป้าสู่การเป็น Net Zero Company ด้วย 3 กลยุทธ์หลัก
Highlight
GC วางแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ เพื่อเป้าหมายสู่การลดภาวะโลกร้อน ควบคู่ไปกับการเติบโตอย่างต่อเนื่องของธุรกิจ โดยมีหลักการ คือ สร้างความสมดุลสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม จะต้องเติบโตไปพร้อมกัน
ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงเหลือ 20% ในปี 2030 และในปี 2050 จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายใต้การขับเคลื่อนผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก ซึ่งประกอบด้วย “Efficiency-Driven, Portfolio-Driven และ Compensation-Driven”
3 กลยุทธ์หลักในการขับเคลื่อนสู่การเป็น Net Zero Company
1. Efficiency-Driven ปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานและโรงงาน นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เพื่อเป็นการลดใช้ทรัพยากร ประหยัดพลังงาน และใช้เชื้อเพลิงสะอาด จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 20%
2. Portfolio-Driven ลงทุนในธุรกิจที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ Low Carbon Business ซึ่ง GC มีการดำเนินธุรกิจด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เช่น Biochemicals, Bioplastics, Recycle และ GC ยังได้เข้าซื้อกิจการของ allnex เพื่อต่อยอดความแข็งแกร่งของธุรกิจ ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 25%
3. Compensation-Driven คือ ปลูกป่า และ Carbon Capture เป็นการนำคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศดึงมาทำเป็นของเหลว Solid นำมาใส่ท่อและฝั่งไว้ใต้ดินหรือทะเล ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 55% เมื่อรวมทั้ง 3 กลยุทธ์หลักก็จะบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้
แม้ว่า GC ต้องนำงบประมาณมาลงทุนในธุรกิจเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้เป็น Net Zero แต่ยังตั้งเป้าการเติบโตของธุรกิจไว้ประมาณ 4% ต่อปี
“Quick Win มีหลายอย่าง ซึ่งปัจจุบันทาง GC ได้ดำเนินการอยู่แล้ว เช่น การลดทรัพยากร ลดวัตถุดิบ ลดของเสีย และปล่อยแก๊สลดลง โครงการเหล่านี้มี Return ที่ดีด้วยตัวเอง คุ้มทุน ลงทุนแล้วได้รับประโยชน์” ดร.คงกระพัน กล่าว
งบประมาณที่นำมาลงทุนใน 3 กลยุทธ์หลัก แบ่งเป็น
1. Efficiency-Driven ใช้งบประมาณ 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการลงทุนต่อเนื่องทุกปี ตั้งเป้าหมายไว้ภายใน 30 ปีข้างหน้า จะเป็น Net Zero โดยจะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา เพื่อลดการใช้ทรัพยากร เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
2. Compensation-Driven การปลูกป่า และ Carbon Capture ใช้งบประมาณ 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งในช่วง 10 ปีแรกจะใช้งบประมาณไม่มาก เพราะ Carbon Capture ยังต้องพัฒนาต่อเนื่อง แต่จะใช้งบประมาณมากในช่วง 20 ปีหลัง
3. Portfolio-Driven ใช้งบประมาณปรับพอร์ตการลงทุน 22 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการลทุนในการขยายธุรกิจ แต่เลือกลงทุนในธุรกิจที่มีคาร์บอนต่ำ ธุรกิจ Green Economy, Biochemicals
นโยบายจากผู้บริหารสู่การปฏิบัติที่วัดผลได้จริง สู่การเป็น “Net Zero Company”
ผู้บริหารและพนักงานพร้อมขับเคลื่อนองค์กร สู่ Net Zero Company ในปี 2050 เป็นเป้าหมายที่ท้าทายแต่ชัดเจน เป็นสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนทั้งองค์กร ทุกฝ่ายต้องมีความคิดไปในทิศทางเดียวกัน โดยเริ่มตั้งแต่คณะกรรมการบริษัท ที่สนับสนุนเรื่อง Net Zero อย่างจริงจัง ฝ่ายจัดการทำแผนโครงสร้างบริหารจัดการสำหรับ 3 กระบวนการ คอยควบคุมและกระจายงานให้แต่ละฝ่าย นับเป็นกลยุทธ์หลักของ GC และพนักงานจะรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองว่าต้องรับผิดชอบงานส่วนไหนบ้าง เพราะ GC มีการสื่อสารกับพนักงานผ่าน Town Hall, Microsoft Teams ตลอดเวลา
เป้าหมายการดำเนินงานจะปรับไปในทุกปี และมีเป้าหมายใหญ่ในเรื่อง Net Zero โดยทั่วไปแล้ว GC ดำเนินธุรกิจด้านความยั่งยืนมาโดยตลอด เรื่องเป้าหมายการเป็น Net Zero Company เป็นเพียงเป้าหมายหนึ่ง แต่ธุรกิจที่ทำอยู่แล้วก็ยังดำเนินต่อไป ซึ่งทำให้เข้มข้นขึ้นและมีเป้าหมายชัดเจนมากขึ้น เป็นเป้าหมายที่ท้าทายแต่ชัดเจน
การประเมินผล คือ วัดผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ Net Zero ทุกปี เช่น วางเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละปีอย่างชัดเจน ลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน การปรับพอร์ตธุรกิจ เป็น Green Economy, Biochemicals, Low Carbon ตั้งเป้าหมายการลงทุนไว้ชัดเจน
ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการขับเคลื่อนขององค์กร และแผนรับมือ
การเปลี่ยนแปลงมีทั้งวิกฤตและโอกาส แต่อยากให้มองเป็นโอกาส เพราะองค์กรขับเคลื่อนได้เร็ว ก็ช่วยประเทศลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มาก ผลดี คือ มีประสิทธิภาพในการแข่งขันด้านธุรกิจ ลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้พลังงาน
อีกหนึ่งสิ่งที่เป็นโอกาส คือ GC ทำธุรกิจทั่วโลก จะมีเรื่องการกีดกันทางการค้า เพราะบางประเทศมี Carbon Tax แต่ GC ดำเนินธุรกิจด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง จึงมีภูมิคุ้มกัน และยังถือเป็นโอกาสทำให้ลูกค้าต่างชาติอยากจะมาใช้ผลิตภัณฑ์ของไทย สิ่งสำคัญที่สุด คือ คนรุ่นใหม่ที่จะมาทำงานกับเรา จะผ่านการสัมภาษณ์งานกับคำถามว่า เราช่วยโลกอย่างไร และทั้งหมดนี้ คือปัจจัยสำคัญ ดร. คงกระพัน กล่าว
กระบวนการสร้าง Chemistry for Better Living ในแบบของ GC
การสร้างเคมีภัณฑ์ ต้องคำนึงถึงความสะดวกสบาย ความปลอดภัย ต้องรักษาสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงผลิตสำเร็จเป็นผลิตภัณฑ์ สอดคล้องกับ “Chemistry for Better Living”
ดร.คงกระพัน กล่าวว่า Chemistry for Better Living คือการสร้างเคมีภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น เม็ดพลาสติก สารเคมีต่างๆ เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น ต้องคำนึงถึงความสะดวกสบาย ความปลอดภัย ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่นำไปใช้จะทำให้ชีวิตเราดีขึ้น แต่กระบวนการผลิตต้องทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นด้วย เพราะฉะนั้น Net Zero ถือเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการผลิตไปจนถึงการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ต้องสอดคล้องกับแนวคิดที่เรามีเคมีที่ดีกับทุกๆ คน
ทำไม GC ถึงกล้าเปิดแผนการดำเนินงานกับคนภายนอก
เพราะ “เรามีโลกใบเดียว และทุกคนต้องใช้อากาศร่วมกัน” เราตั้งใจจะถ่ายทอดแผนงาน และวิธีการต่างๆ ที่ GC ดำเนินการอยู่เพื่อให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับองค์กรหรือชีวิตประจำวัน “ทุกคนต้องช่วยกันลดภาวะโลกร้อน”
ถ้า GC ทำสำเร็จบริษัทเดียวก็ไม่มีประโยชน์ ความตั้งใจจะถ่ายทอดแผนงาน และวิธีการต่างๆ ที่ GC ดำเนินการอยู่เพื่อให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับองค์กรหรือชีวิตประจำวัน เพราะเป้าหมายหลัก คือการที่ทุกคนร่วมมือกันลดภาวะโลกร้อน
“ความสมดุลเป็นสิ่งสำคัญ ถ้ามุ่งเน้นไปทางสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว ธุรกิจก็อยู่ไม่ได้ จึงต้องสร้างความสมดุลทั้งเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ให้มีความยั่งยืน ก้าวไปพร้อมกัน” ดร.คงกระพัน กล่าว
#GCChemistryforBetterLiving
#GCเคมีที่เข้าถึงทุกความสุข
#GCCircularLiving
#CEOTalk #ทันข่าวพลังงาน
#รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์คลิกอ่านทันข่าว