29 พฤษภาคม 2563
942

GPSC เปิดกำไร Q1/2020 แตะ 1.58 พันล้านบาท ฝ่าวิกฤตโควิด-19

GPSC จัดการประชุม Analyst Meeting เพื่อรายงานผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2563 รวมถึงความคืบหน้าของโครงการต่างๆ “ในรูปแบบการประชุมแบบ New Normal” ผ่าน Facebook Live เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยสรุปผลประกอบการและผลกำไรในไตรมาสแรกของปีนี้เติบโตอย่างมีนัยสำคัญท่ามกลางวิกฤตโควิด-19



เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ผู้นำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้า กลุ่ม ปตท. ได้จัดการประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ หรือ  Analyst Meeting เพื่อรายงานผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2563 รวมถึงความคืบหน้าของโครงการต่างๆ “ในรูปแบบการประชุมแบบ New Normal” ผ่านช่องทาง Facebook Live เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยสรุปผลประกอบการและผลกำไรในไตรมาสแรกของปีนี้เติบโตอย่างมีนัยสำคัญท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและประเทศไทย

คุณชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในไตรมาสแรก เราเดินไปได้ตามแผน กำไรของเราสูงขึ้น ประมาณ 107% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (YoY) กำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยะสำคัญ คือ การเข้าซื้อ GLOW ประกอบกับในปีนี้ ค่าความพร้อมจ่ายจากโรงไฟฟ้าศรีราชามาเป็นตัวช่วยหนุน รวมถึงการอ่อนค่าของค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 1 เม.ย. ทางคณะกรรมการได้อนุมัติจ่ายปันผลระหว่างกาล ครึ่งหลังของปี สำหรับผลประกอบการปี 2019 วงเงิน 0.8 บาทต่อหุ้น ทำให้เงินปันผลรวมของผลประกอบการปี 2019 คิดเป็นเงิน 1.30 บาทต่อหุ้น เรื่องของสถานการณ์โควิด-19 เราสามารถดำเนินการโดยที่ไม่มีข้อติดขัดอะไร เราดำเนินการผ่านพ้นจนถึงปัจจุบันประสบความสำเร็จด้วยดี




เพื่อก้าวสู่การเติบโตในอนาคต GPSC ยังคงเดินหน้าทุกโครงการตามแผนเดิมที่วางไว้ โดยยึดหลัก 3S ได้แก่ Synergy & Integration, Selective Growth และ S-curve ควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการเพื่อสร้างความมั่นคงในระบบการผลิตไฟฟ้าและสาธารณูปโภคให้ได้อย่างต่อเนื่อง ด้านความคืบหน้าภายหลังการเข้าซื้อกิจการ GLOW นั้น ในขณะนี้ได้ผนึก 2 องค์กรเป็นหนึ่งเดียว หลังปรับโครงสร้างใหม่ 1 เม.ย. ที่ผ่านมา เพื่อสร้าง Synergy Value โดยในปีนี้ จะเริ่มรับรู้มูลค่าการทำ Synergy ร่วมกันได้ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 400-500 ล้านบาท จากการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการทำธุรกิจ การบริหารจัดการโรงไฟฟ้าโครงข่ายต่างๆ และส่วนงานซ่อมบำรุงเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ นำมาสู่การรับรู้มูลค่าการดำเนินงาน
ติดต่อโฆษณา!