เทรนด์พลังงานโลกเปลี่ยน ประเทศไทยพร้อมหรือยัง
Highlight
เมื่อเทรนด์พลังงานโลกเปลี่ยน จึงมีคำถามว่าประเทศไทยพร้อมหรือยัง หน่วยงานที่กำกับดูแลภาคพลังงานพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้หรือไม่ และมีนโยบายการแข่งขันที่เป็นธรรมให้ผู้บริโภคไม่ถูกเอาเปรียบอย่างไร คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ฉายภาพการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาด เพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ของไทยเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065
ทั่วโลกให้ความสนใจสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สำหรับไทยเองก็มีเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065
ดังนั้นหน่วยด้านการกำกับพลังงานมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการใช้พลัง
งานอย่างมีประสิทธิภาพ และการก้าวไปสู่โลกของพลังงานสะอาดเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดการใช้พลังงานฟอสซิลลง
คมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษกกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า เทรนด์พลังงานสะอาดรักษาสิ่งแวดล้อม การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อลดโลกร้อน กำลังได้รับสนับสนุนการอย่างจริงจัง
กกพ. เป็นส่วนงานกำกับดูแลการใช้พลังงาน ที่ประชาชนคนไทยก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนไม่ให้โลกร้อนได้ และการใช้พลังงานสีเขียว ก็เป็นสิทธิ์ของทุกคนที่สามารถเข้าถึงการใช้งานได้
“กกพ.ดูแลด้านการกำกับอย่างในเรื่องของ การใช้พลังงานสีเขียว ถ้าผลิตแล้วใช้เอง อย่างสมมุติว่า ใช้โซล่าร์ไม่ปล่อยไฟเข้าระบบไฟฟ้าก็เปิดให้ทำเต็มที่ ต่อมาก็ขยายผลถ้าติดตั้งใช้งานเองแล้ว มีไฟเหลือ ก็รับซื้อไฟฟ้าจากบ้านที่อยู่อาศัยของประชาชนได้ เป็นการช่วยสนับสนุนคนที่ติดตั้งแผงโซล่าร์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และกลุ่มบ้านขนาดเล็กบ้านอยู่อาศัย ปล่อยให้ไฟไหลออกได้ โดยรับซื้อราคา 2.2 บาทต่อหน่วย เปลี่ยนเป็นมิเตอร์ให้ใช้ไฟฟ้าได้ 2 ทาง ทั้งใช้ในบ้านและปล่อยไฟให้การไฟฟ้า สามารถสร้ารายได้ หรือกลุ่มโรงเรียน โรงพยาบาล ก็ให้ค่าไฟอีกอัตราหนึ่ง” คุณคมกฤชกล่าว
สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เดืมไม่ได้อนุญาตให้ไฟไหลย้อนเข้าระบบ ปัจจุบันก็อนุญาตให้ทำได้ ก็คิดค่าใช้จ่ายให้ในราคาที่เหมาะสม ซึ่งเปิดรับอยู่ สามารถไปสมัครที่การไฟฟ้า หลังจากตรวจเช็คระบบต่างๆ สามารถขายไฟส่วนเกินได้
การติดตั้งแผงโซลาร์มีความคุ้มค่าหรือไม่
แต่ละบ้านไม่เหมือนกัน การติดตั้งโซลาร์เซลล์สอนให้เรารู้จักใช้พลังงานสีเขียว เพราะ โซลาร์จะมีไฟต่อเมื่อมีแดด ถ้าเราติดใช้เองต้องดูว่า บ้านเรามีการใช้ไฟตอนกลางวันหรือไม่ ถ้าเราใช้ไฟตอนกลางวัน ต้องดูว่าเราใช้ไฟวันละเท่าไหร่ ให้คำนวณปริมาณการติดตั้งแผงโซลาร์ให้เหมาะสม กับการใช้ไฟฟ้าประจำวันถึงจะคุ้มค่า ถ้าเราใช้ไฟเหมาะสมระยะเวลาคืนทุนประมาณ 4-5 ปี ถ้าเราติดตั้งเยอะเกินไป การใช้พลังงานเหลือ แต่ขายได้แค่ 2 บาทก็ใช้เวลานานถึงจะคุ้มทุน เป็นการสอนเราว่าพลังงานหมุนเวียนไม่ได้มีตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้นต้องคำนวณให้พอดีถึงจะคุ้มค่า
สำนักงาน กกพ.มีนโยบายส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างไร
“เรื่องนี้ กกพ.ก็ศึกษามาพอสมควร เราไม่ค่อยห่วงเท่าไหร่” คุณคมกฤช กล่าว ซึ่งพอจะสรุปได้เป็น 2 ประเด็น
1. ระบบไฟฟ้ามีเพียงพอรองรับการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าหรือไม่ ซึ่งในเรื่องนี้ ก็สามารถยืนยันได้ว่าเรามีระบบไฟฟ้าที่แข็งแรงพอ รองรับปริมาณปริมาณการใช้ ยานยนต์ได้ เพราะใช้ไฟฟ้าไม่เยอะมากนัก
2. ต้องมาดูว่าคนที่จะใช้ยายนยนต์ไฟฟ้ามาจากสาเหตุอะไร เท่าที่ดูมามีหลายสาเหตุ เช่น
•ราคารถยนต์ เป็นปัจจัยหลัก
•ความคุ้มค่าในการใช้เชื้อเพลิง เปรียบเทียบระหว่างการใช้ น้ำมัน แก๊ส และไฟฟ้า อย่างไหนถึงจะถูกที่สุด ปรากฎว่าใช้ไฟฟ้าถูกที่สุด ก็เป็นปัจจัยที่ดึงดูดให้คนใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น
•ความสะดวกสบาย รถยนต์ไฟฟ้า ใช้ในกรุงเทพ ไม่มีปัญหา เพราะเรากลับมาชาร์จไฟที่บ้าน ทิ้งไว้ทั้งคืน ตอนเช้ามาขับต่อได้เลย แต่อาจจะไม่สะดวกในช่วงเวลาที่ต้องเดินทางไปต่างจังหวัด หากรถไฟหมดระหว่างทางจะทำอย่างไร จึงเป็นสิ่งที่สนับสนุนให้มีสถานีชาร์จเพื่อสนับสนุนให้คนมียานยนต์ไฟฟ้าสามารถเดินทางไปได้ทุกที่
กกพ.สนับสนุนให้มี EV Charge Station ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยเฉพาะเป็นการบริการแบบ Quick Charge ใช้เวลาไม่เกิน 15-20 นาที จะได้ไฟขึ้นมา 80-90% ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาด ก็พยายามโปรโมท แต่ปริมาณคนใช้รถยังน้อยอยู่
ดังนั้นจึงมีการทดลองคิดราคาต้นทุน ไม่คิดราคา Demand Charge กับเจ้าของสถานี ก็จะดูไปจนกว่าปริมาณรถมากขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง
ทั้งนี้เพื่อให้เกิด ความเสมอภาคกับประชาชนที่ใช้พลังงานสะอาดที่บ้าน และแบบยานยนต์ เปรียเทียบกัน
ข้อจูงใจในการใช้รถ
“เราไม่ได้ลงไปสนับสนุนผู้ใช้รถด้านราคา แต่สนับสนุน EV Charge Station ใน Rate ราคาต้นทุน ในระยะเวลา 2 ปี และขยายไปอีก หรือกำหนด Rate ใหม่ เพื่อให้สมเหตุสมผลกับรถที่ใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นมาตรการสนับสนุนในระยะสั้น แต่ในระยะยาวเมื่อมีคนใช้รถเยอะ คงจะต้องให้มีความเท่าเทียมกันหรืออยู่ใน Rate เดียวกันระหว่างผู้ใช้รถ บ้านที่อยู่อาศัย หรือโรงงาน ที่ใช้ Rate เดียวกัน
ผู้ประกอบการที่ต้องการทำสถานีประจุไฟฟ้า มีคำแนะนำอย่างไร
กกพ.ได้มีการตัดทำแผ่นพับเป็นข้อมูลความรู้เบื้องต้นสำหรับการประกอบกิจการสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV คู่มือดังกล่าวนี้ หรือผู้ที่ตะติดตั้งโซล่าร์ที่ใช้ในบ้านก็สามารถดูเป็นแนวได้เช่นกัน โดยสามารถเข้าดูข้อมูลในเว็บไซต์ของสำนักงานกกพ.ได้อีกทางหนึ่ง www.erc.or.th
นววัตกรรมพลังงานที่จะเป็นทางออกในยุคต่อไปของประเทศไทยคืออะไร
เทรนด์การใช้พลังงานหมุนเวียน
ปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาก้าวไปมาก จากโครงการเล็กๆ ที่เคยทำกันมาเช่นโซลาร์เซลล์ ที่เป็น Re-new เดิมทีอาจจะไม่คุ้มค่า หากคิดเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วยความคุ้มค่าก็จะมากขึ้น โครงการฟอสซิลที่ปล่อย Co2 ก็เริ่มมีตุ้นทุนที่ใกล้เคียงกันมากขึ้นเมื่อตัดแต้มต่อออก ต้นทุนก็เริ่มใกล้เคียงกันมากขึ้น เป็นเทรนด์หนึ่งที่ต้องเดินไปกับมัน พลังงานฟอสซิลมีความเสถียรสามารถใช้งานได้ 24 ชั่วโมง
1. เทรนด์พลังงานโลกเปลี่ยน พลังงานหมุนเวียนมีความคุ้มค่าต่อการใช้งานในปัจจุบัน
2. พลังงานหมุนเวียนต้องมีระบบการบริหารพลังงาน เช่น Battery Energy Storage System หรือแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน ให้มีปริมาณมากขึ้นและมีความมั่นคง ก็จะส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น
3. อนาคตหากมีระบบบริหารจัดการ Smart Grid ส่งผลให้การใช้พลังงานหมุนเวียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
“ดังนั้นในอนาคตเทรนด์เทคโนโลยีก็นำไปสู่การใช้พลังงานกมุนเวียนได้มากขึ้น” คุณคมกฤช กล่าว
สำหรับเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 นั้นประเทศไทยได้เดินทางไปถึงขั้นตอนใด
คุณคมกฤช กล่าวว่า ต้องดูว่าประเทศไทยเหมาะที่จะใช้พลังงานหลักควบคู่กับพลังงานหมุนเวียนชนิดใด จะเป็นแก๊สหรือไม่ มีวิธีบริหารจัดการอย่างไร หรือพลังงานไฮโดรเจนก็เป็น new technology ที่จะเข้ามาในอนาคต ซึ่งพลังงานหมุนเวียนก็ไม่สามารถทดแทนได้ทั้งหมด ดังนั้นต้องพัฒนาควบคู่กับพลังงานหลักบางส่วน ซึ่งก็เป็นอีกเทรนด์ของพลังงานหลักเช่นกันว่าในอนาคตเราจะใช้ในสัดส่วนเท่าไหร่ในการบริหารระบบไฟฟ้า