เส้นทางธุรกิจก๊าซธรรมชาติกลุ่ม ปตท. สู่เป้าหมาย “ความมั่นคงทางพลังงาน”
Highlight
ปตท.เผยภาพรวมการใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้น และราคาเพิ่มขึ้นตามปัจจัยกระทบจากภายนอก แต่เพิ่มขึ้นไม่มากเมื่อเทียบกับหลายประเทศ เนื่องจากไทยมีแหล่งวัตถุดิบก๊าซธรรมชาติจากในประเทศถึง 60% อย่างไรก็ตามหมดยุคพลังงานราคาถูก ผู้บริโภคต้องค่อยๆปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงานอย่างประหยัด และใช้พลังงานสะอาดเพิ่มขึ้น เพื่อมุ่งสู่การเป็น Net Zero เช่นการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งกลุ่ม ปตท.ขยายการบริการ EV Charger Station ครอบคลุมทั่วประเทศ นอกนี้มีแผนในการผลักดัน “LNG Reginal Hub” เพื่อเป็นศูนย์กลางของตลาด CLMV อีกด้วย
คุณวุฒิกร สติฐิต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)กล่าวถึงภาพรวมการใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติของกลุ่มปตท.ว่า ในช่วงนี้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 4,700-4,800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ปรับตามความต้องการใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก
ทั้งนี้ปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศไทย ประกอบไปด้วย
- ภาคการไฟฟ้า 60%
- ภาคขนส่งและปิโตรเคมี 20%
- ภาคอุตสาหกรรม 20%
แหล่งก๊าซธรรมชาติของประเทศไทย มาจากหลายแหล่งดังนี้
- มาจากอ่าวไทย ประมาณ 50%
- นำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) 30%
- นำเข้าจากเมียนมา 20%
สำหรับการพัฒนาการตลอด 40 ปีที่ผ่านมา มีการใช้เพิ่มขึ้น และหลังจากประเทศมีกิจกรรมเพิ่มขึ้นหรือหลังยุคโควิด มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น
ความผันผวนของราคาน้ำมันมีนัยอย่างไร ? ต่อธุรกิจก๊าซธรรมชาติ
คุณวุฒิกร กล่าวว่า ราคาพลังงานจะผลกระทบมาจากข้างนอก โดยประเทศไทยจริงๆ แล้ว เราโชคดี ถึงแม้ในภาคไฟฟ้าเราใช้ก๊าซธรรมชาติถึง 60% แต่ก๊าซส่วนใหญ่ที่ใช้มาจากแหล่งในประเทศ เมื่อมีเหตุการณ์ข้างนอก แหล่งในประเทศไม่ได้กระทบมาก และไม่ได้ปรับราคาขึ้นมากนัก มีปรับบ้างตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้น แต่ไม่ได้ปรับเหมือน LNG ที่นำเข้ามา LNG ที่เป็นราคา Spot ในวันนี้ราคาสูงมาก แต่ถ้าเป็น LNG ที่เป็นสัญญา Long-term ราคาต่ำกว่านั้นมาก เพราะเป็นราคาที่ล็อกไว้ล่วงหน้า
“ข้อดีของการมีแหล่งก๊าซธรรมชาติและการมีสัญญา LNG ในระยะยาว คือมีผลต่อเสถียรภาพด้านราคามากกว่า เมื่อสถานการณ์ในต่างประเทศ” คุณวุฒิกร กล่าว
ที่ผ่านมาในการผลิตไฟฟ้า มีการใช้ก๊าซในการผลิตค่อนข้างมาก และมีการผูกกับหลายสูตร ทำให้ภาคอุตสาหกรรม ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง จากราคาก๊าซที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ต้องยอมรับว่าปรับสูงขึ้นแต่ไม่มาก
มองอนาคตธุรกิจก๊าซธรรมชาติและกลยุทธ์การรับมือยุคเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานทางเลือก อย่างไร?
ในวันนี้ ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ราคาไฟฟ้ายังไม่ได้ปรับสูงขึ้นตาม ในฝั่งผู้บริโภคมีความจำเป็นเมื่อราคาพลังงานเพิ่มขึ้น ถ้าเราสะท้อนราคาพลังงานจริงๆเข้าไปได้ จะทำให้ประชาชนประหยัดมากขึ้น เป็นเรื่องสำคัญ ระยะยาวด้านการขนส่ง เชื่อว่าจะมีการใช้รถ EV มากขึ้น
“ทางกลุ่ม ปตท.ได้รองรับการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า โดยติดตั้ง EV Charging Station ภายในสถานีบริการ NGV ปตท. เมื่อเปรียบกับการใช้พลังงานรูปแบบอื่น ถือว่า EV ยังถูกอยู่”คุณวุฒิกร กล่าว
ในวันนี้ ปตท.เปิดตัว EV Charging Station ในสถานีบริการ NGV โดยได้เริ่มโมเดลแรกที่สถานีบริการ NGV สาขากำแพงเพชร 2 คนที่เคยมีการติดตั้ง NGV เดิม
สามารถมาชาร์จได้เลย และในจุดนั้นมีกิจกรรมต่างๆ รองรับผู้ใช้บริการขณะรอชาร์จอีกด้วย ได้รับความนิยมสูงมาก สะดวกสบาย
บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือโออาร์ บริษัทลูกปตท. มีแผนที่จะขยาย EV Charger Station ครอบคลุมทั่วประเทศ ตอบโจทย์เทรนด์การใช้พลังงานทางเลือก
ความต้องการในประเทศกำลังเพิ่มขึ้น ราคาก๊าซที่จะปรับขึ้นอยู่กับ ปัจจัยต่างประเทศด้วย ราคามีโอกาสปรับขึ้น แต่โชคดีว่าประเทศไทย เราไม้ได้อิงกับการ Import ทั้งหมด เพราะฉะนั้นเวลาราคาปรับขึ้น เรามีก๊าซในประเทศ มีของสำรอง โดยมีการซื้อขาย Long-term ไว้ล่วงหน้า มีสูตรการซื้อขายที่ปัจจัยภายนอกไม่มีผลกระทบมากนัก เป็นตัวช่วย ในยุโรปมีผลกระทบมาก แต่ของไทยยังไม่ถึงขั้นนั้น คุณวุฒิกร กล่าว
ต้นทุนพลังงานของภาคอุตสาหกรรมแพงขึ้น แต่ราคายังถูกกว่าเมื่อเทียบกับหลายประเทศ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมที่ประหยัดพลังงานได้ ก็จะช่วยประหยัดต้นทุนการผลิต เพิ่มโอกาสการลงทุน
ราคาพลังงานทั่วโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยุคพลังงานถูกๆ คงหมดลง และต้องหาวิธีดูแลและจัดการ การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนช่วยกัน
ความคืบหน้าแผนผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง LNG Reginal Hub
ประเทศไทยนำเข้า LNG ประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียน มีข้อได้เปรียบเยอะ ไม่ต้องพูดถึงองค์ความรู้ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ในช่วงเริ่มลงทุนในก๊าซธรรมชาติ และ LNG ปตท.มองเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน และในวันนี้ก็ยังเป็นภารกิจ ปตท.ในการดูแลเรื่องความมั่นคงพลังงาน และถ้าสังเกตจะเห็นว่าการผลิตไฟฟ้าของไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจมาอย่างยาวนาน แต่โชคดีที่มีต้นทุนที่ถูก ขณะที่เมื่อก่อนไทยใช้ก๊าซในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ประเทศไทยมีความได้เปรียบหลายอย่างเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน มีระบบ Infrastructure ที่รองรับอุตสาหกรรมอย่างสมบูรณ์แบบ
นอกนี้ในบางประเทศเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวมีความต้องการก๊าซสูง แต่สำหรับประเทศไทยในช่วงฤดูหนาวใช้ก๊าซน้อย ประเทศเราใช้พลังงานหลากหลาย เป็นปัจจัยโดดเด่นในการที่จะเป็น LNG Reginal Hub คุณวุฒิกร กล่าว
ในช่วงต้นปี 2564 เริ่มทดลองส่งออก LNG ไปประเทศญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จสามารถส่งออกไปได้ ปัจจุบันเริ่มขนส่ง LNG ทางรถและในอนาคตจะขนส่งทางระบบราง นอกจากนั้นจะขยายการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน (CLMV) ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม
การลงทุนเพิ่มเติม Infrastructure ต่างๆ เช่น การมีถังเก็บ LNG เพิ่มขึ้น เข้นในข่วงที่ราคา LNG spot ในช่วงที่มีการขึ้น-ลง ถ้าสามารถเอา LNG ในช่วงราคาถูกมาเก็บไว้เป็นโยชน์ทั้งการใช้เองในประเทศและขายต่อหรือส่งออกไปต่างประเทศก็มีกำไร ดังนั้นการพันธมิตร ร่วมสร้าง LNG Reginal Hub เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน โดยมีประเทศไทยเป็นผู้ขับเคลื่อน
ธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีการปรับตัวและต่อยอดเพื่อให้บรรุเป้าหมาย Net Zero อย่างไร?
ปตท.ได้ทำมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก่อนหน้านี้ไม่ได้ใช้คำว่า Net Zero กลุ่มปตท.เป็นองค์กรแรกๆ ที่ปลูกป่า 1 ล้านไร่ เพื่อตอบโจทย์ Net Zero เราให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และชุมชนรอบข้างพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม
วันนี้ในการก้าวไปสู่การเป็น Net Zero ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่เป็น Fossil Fuel ที่สะอาดที่สุด ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ปตท.กำลังเติบโตด้วยก๊าซธรรมชาติที่จะส่งเสริม ให้เกิดการใช้ Renewable Energy มากขึ้น และได้ปรับโมเดลธุรกิจหลายอย่างในช่วงที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนนโยบาย Net Zero เช่นการขยายธุรกิจไปสู่
- EV Charging Station ใน MGV station
- ติดตั้งโซลาร์เซลล์ รูฟท็อป ในโรงงาน
- LoT แพลตฟอร์มดิจิทัล
ธุรกิจด้านพลังงานสะอาดจะช่วยประหยัดต้นทุน และกระทบสิ่งแวดล้อมน้อย สิ่งเหล่านี้จะตอบโจทย์นโยบาย Net Zero สร้างประโยชน์ให้กับโลก ประชาชน และสังคมให้มากขึ้น
พันธกิจของ ปตท.จะช่วยผู้บริโภคได้มากน้อยขนาดไหน ในภาวะการณ์ปัจจุบัน ในขณะที่ราคาพลังงานสูงขึ้น
“วันนี้เป็นหน้าที่ของทุกคนในการที่จะช่วยกันประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถให้คำแนะนำคนอื่นได้อย่างไร”
ปตท.มี Vision ใหม่ “Powering Life with Future Energy and Beyond” โดยกำลังใช้พลังงานแห่งอนาคตไปตอบโจทย์ผู้บริโภคต่างๆ
ขอให้ทุกคนตระหนักถึงคุณค่าพลังงาน ประหยัด และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ คุณวุฒิกร กล่าว