ต้นทุนน้ำมันไม่ต่างกัน แต่ราคาขายปลีกต่างกันเพราะอะไร
Highlight
ราคาน้ำมันแพงส่งผลต่อรายจ่ายสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงภาวะสงคราม มีหลายปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกในแต่ละประเทศต่างกัน ขึ้นอยู่กับการพึ่งพาการนำเข้า มาตรการจัดเก็บภาษี การเก็บเงินเข้ากองทุน ในขณะที่ประเทศผู้ผลิตนอกจากมีต้นทุนที่ต่ำกว่าแล้วยังไม่จัดเก็บภาษี แถมมีการอุดหนุนการใช้น้ำมันในประเทศอีกด้วย
สงคราม ปัจจัยหลักส่งผลกระทบทั่วโลก ทั่งภาคการเงิน เศรษฐกิจ อาหาร และพลังงาน โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าพลังงาน จากต่างประเทศ เพราะมีผลผลิตภายในประเทศไม่เพียงพอ หรือไม่มีแหล่งพลังงานของตนเอง
ค่าครองชีพแปรผันตามราคาเชื้อเพลิง ที่เป็นต้นทุนเบื้องต้นต่อการดำรงชีวิต ส่วนราคาพลังงานที่แต่ละประเทศต่างกัน เพราะมีมาตรการภาษี การเก็บเงินเข้ากองทุน เพื่อนำไปอุดหนุนภาคส่วนอื่น หรืออุดหนุนราคาพลังงานไม่เท่ากัน
ประเทศเพื่อนบ้านไทย เช่น ลาว เมียนมา ต้องนำเข้าน้ำมันเช่นเดียวกัน ต้นทุนเนื้อน้ำมันไม่ต่างกันมากนัก เพราะราคาที่ซื้อขายจะอ้างอิงจากตลาดโลก เช่น ราคาน้ำมันเบนซินที่สิงคโปร์ลิตรละ 83.25 บาท ลาวลิตรละ 60.68 บาท กัมพูชา ลิตรละ 52.51 บาท
การเปรียบราคาขายปลีก ไม่ควรเปรียบเทียบกับประเทศผู้ผลิต เพราะนอกจากมีต้นทุนไม่เท่ากัน ไม่เก็บภาษีเพิ่มแล้วยังมีนโยบายอุดหนุนราคาในประเทศอีกด้วย เช่น มาเลเซีย และบรูไน
การมีพลังงานใช้อย่างไม่ขาดแคลน คือหนึ่งในความมั่นคงของประเทศ โดยปตท.ดำเนินมาตรการบริหารจัดการน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รองรับความต้องการใช้ในประเทศอย่างเต็มความสามารถ ยึดมั่นพันธกิจความมั่นคงทางพลังงาน ควบคู่กับการสาธารณสุข สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดกว่า 40 ปี