GPSC - ธ.ก.ส. ศึกษาพื้นที่เกษตร ผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ฯ-ลม ประยุกต์ใช้พลังงานสะอาด พลิกโฉมเกษตรสู่ Smart Farming
ประเทศไทยมีพื้นที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก และประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และตอนนี้เทรนด์การใช้พลังงานสะอาดก็เป็นนโยบายหลักที่ไทยส่งเสริมและผลักดัน เพื่อร่วมขับเคลื่อนไทยสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2608 ทำให้สององค์กรอย่างบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษาและพัฒนาพื้นที่เพื่อการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ผนึกกำลังสำรวจพื้นที่ทางการเกษตรที่มีศักยภาพ ปักหมุดผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด ทั้งแสงอาทิตย์ และลม ควบคู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมพลังงาน พลิกโฉมภาคการเกษตรของไทยให้ก้าวสู่เกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Farming ที่สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มมูลค่าสินค้าการเกษตร และต่อยอดการขอฉลากรับรองการประกอบการเกษตรกรรมสีเขียวจาก ธ.ก.ส. ในอนาคต โดย ธ.ก.ส. พร้อมเติมทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำผ่านโครงการส่งเสริมและสนับสนุนสินเชื่อสีเขียว (Green Credit) วงเงินรวมกว่า 20,000 ล้านบาท
ดร.รสยา เธียรวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า พิธีลงนามความร่วมมือหรือบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ระหว่างทาง GPSC กับทาง ธ.ก.ส. ก็ร่วมกัน เนื่องจากว่าพื้นที่เกษตรกรมีอยู่ทั่วประเทศไทย แล้วก็ประเทศไทยเองก็มีเป้าหมายที่อยากจะเป็น Net Zero องค์กรทั้ง PTT Group แล้วก็ GPSC Group เราก็มีเป้าหมายเช่นเดียวกัน ดังนั้นพอมีพื้นที่ของเกษตรกร เรามีความร่วมมือ เราพยายามที่จะส่งเสริมซึ่งกันและกัน เกษตรกรได้ประโยชน์ องค์กรได้ประโยชน์ ประเทศได้ประโยชน์ พยายามทำให้เกษตรกรสามารถที่จะร่วมกับผลิตพลังงานสะอาดไปด้วยกัน ก็จะสามารถทำให้เกิด Win Win เกิดขึ้น แล้วมุ่งไปสู่เป้าหมายร่วมกันได้ อันนี้ก็เป็นวัตถุประสงค์ในการทำบันทึกข้อตกลงกับระหว่าง GPSC กับ ธ.ก.ส. ในครั้งนี้
คุณธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ตำแหน่งผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในส่วนของทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. และบริษัท GPSC มีความร่วมมือที่จะมุ่งเน้นเพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้พลังงานสะอาด ให้เกษตรกรเองมีองค์ความรู้ และมีการพัฒนาพื้นที่โดยการใช้พลังงานสะอาดเข้ามา ซึ่งตรงนี้จะทำให้เกษตรกรสามารถจะลดต้นทุนการผลิตและการเข้ามาดูแลในเรื่องของสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป มุ่งสู่การเป็น Smart Farmer และขับเคลื่อนในส่วนของการที่จะเป็น Smart Farming ลดต้นทุนการผลิตและเข้ามาดูแลในสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นธ.ก.ส. เองเรายังมีการสนับสนุนแหล่งเงินทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ Green Credit ในส่วนของการให้สินเชื่อที่เป็นสีเขียว ดังนั้นเกษตรกรหากมีความต้องการที่จะปรับเปลี่ยนในเรื่องของกระบวนการผลิตโดยการใช้เทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมสามารถเข้ามาที่ธ.ก.ส. เพื่อใช้ในส่วนของสินเชื่อที่เป็น Green Credit ได้ เรามีวงเงินสำหรับรองรับพี่น้องเกษตรกรมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท ในการดำเนินการของพี่น้องเกษตรกรโดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่ใช้ประกอบการเกษตรมันยังมีบางส่วนที่จะสามารถจะยกระดับในการพัฒนาให้เกิดในส่วนของมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นการที่ดำเนินการในเรื่องของการติดตั้งกังหันร่วมกับทาง GPSC ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการที่ทำให้พี่น้องเกษตรกรเอง มีรายได้เสริม นอกจากนั้นแล้วจะทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทำให้พวกเราเองมีโอกาสเข้าไปเห็นทัศนียภาพในภาคการเกษตรร่วมถึงการทำงานร่วมกันกับพลังงานสะอาด
วันนี้เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทาง GPSC ได้เข้ามา ในการที่จะร่วมกับ ธ.ก.ส. GPSC ก็จะเป็นองค์กรที่สนับสนุนให้เกิดการทำและการผลิตพลังานที่สะอาดแล้วก็ยั่งยืน เราก็จะต้องลดการใช้พลังงานที่มีมลพิษ พลังงานที่แพง มาสู่พลังงานที่เรียกว่าต้นทุนถูกลง และสามารถที่จะทำให้เกิดความสะอาดของสิ่งแวดล้อมได้ โดย GPSC สนับสนุนด้านเทคนิค เพราะว่าเกษตรกรไม่คุ้นเคยกับการทำพลังงานสะอาด คุ้นเคยแต่การปลูกเท่านั้น เพราะฉะนั้น GPSC มาให้ความรู้ มองว่าวันนี้เราได้ทำงานที่สำคัญในการร่วมมือกันระหว่าง ธ.ก.ส. และ GPSC ในการที่จะเกษตรกรมีรายได้ที่ยั่งยืน ยกฐานะคุณภาพชีวิตได้มากขึ้น อยากเห็นเกษตรกรมีความมั่นคง เข้มแข็ง แล้วก็มีความเป็นอยู่ที่ทัดเทียมกับคนที่มีรายได้สูงมากขึ้น คุณลดาวัลย์ คำภา อนุกรรมการ คณะอนุกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กล่าว
สำหรับแนวทางการดำเนินงานของทั้งสององค์กร จะจัดตั้งคณะทำงานร่วมกัน โดยคัดเลือกพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพในทุกพื้นที่ ที่อยู่ภายใต้ขอบเขตการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. เข้าร่วมโครงการ ซึ่งในส่วนของ GPSC จะนำผู้เชี่ยวชาญเข้าไปวิเคราะห์และประเมินความเป็นไปได้ของการนำเทคโนโลยีด้านพลังงานที่เหมาะสม เข้าไปสนับสนุนภาคการเกษตร ทั้งการติดตั้งระบบพลังงานหมุนเวียน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม แสงอาทิตย์ และการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมด้านการบริหารจัดการพลังงาน เข้าไปควบคุมการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบการใช้งานของภาคการเกษตร