03 ตุลาคม 2566
1,864

ยกระดับคอนเทนต์ไทยสู่สากล

ช่วงนี้เรามักจะได้ยินคำว่า Soft Power บ่อยมากขึ้น หรือการทำให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมไปกับเรา หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แนวคิด โดยที่ไม่ได้มีการบังคับ ขู่เข็ญแต่อย่างใด 

ยกตัวอย่างเช่น ปรากฎการณ์ข้าวเหนียวมะม่วง ลูกชิ้นยืนกิน หรือกางเกงช้าง ที่เราคุ้นเคย และนั่นก็คือแนวทางสื่อสารที่สำคัญ ที่เป็นส่วนผลักดันให้เกิดอาชีพ ผลักดันอุตสาหกรรมใหม่ สร้างเศรษฐกิจให้เติบโตและแข็งแรง 

คนไทยเก่งและสามารถผลักดันผลิตภัณฑ์คุณภาพจากตลาดไทยสู่สากลมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ โฆษณา ซีรีส์ YouTuber หรือ Enfluencer 

เมื่อต้นปี 2566 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้าง (องค์การมหาชน) หรือ CEA จัดกิจกรรม Workshop สุดปังในโครงการ Content Lab “สร้างสรรค์ คอนเทนต์ไทย ดันไกลสู่สากล” 

สร้างโอกาสเทรนด์ผู้สนใจ ให้เป็นสุดยอดดิจิตอลคอนเทนต์ ครีเอเตอร์ โดยได้เปิดรับสมัครช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนมีนาคม มีผู้สมัครจำนวน 40 ทีม และผ่านการคัดเลือก ได้เข้าอบรมกับแบบเข้มข้นกับมือโปรในวงการ เพื่อพัฒนาผลงานเข้าประกวด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มงานได้แก่

กลุ่มภาพยนตร์และซีรี่ย์ (Film & Series) กลุ่มดิจิทัล คอนเทนต์ (Digital Content)

คุณเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.ในฐานะพันธมิตรหลักของโครงการ Content Lab และเป็นแกนกลางในกลุ่มดิจิทัล คอนเทนต์ ได้เปิดโอกาสให้นักสร้างสรรค์คอนเทนต์ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป มีโอกาสเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีประกอบการสร้างสรรค์ผลงาน ผ่านการอบรมและ Workshop แบบเข้มข้น

เสริมทักษะด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น Virtual Production, AR, XR, AR Location-Based, CG, 3D Model จากผู้เชี่ยวชาญแนวหน้าในสาขาต่างๆของเมืองไทย พร้อมสัมผัสประสบการณ์การทำงานใน XR Studio ชั้นนำของประเทศ เช่น Supreme Studio และ L&E Studio 

ผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มดิจิทัล คอนเทนต์ จะได้พัฒนาความรู้และประสบการณ์ ในการสร้างสรรค์ผลงานจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีคุณภาพมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล 

สามารถสร้างผลงานที่ผสมผสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย พร้อมสำหรับการต่อยอดทางธุรกิจได้จริง โดยปตท.และบริษัทในกลุ่ม ที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เน้นหลัก Soft Power กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ดึงดูดนักท่องเที่ยว กลับสู่ประเทศไทย 

โดยการคัดเลือกดำเนินไปอย่างเข้มข้นและสนุกสนาน จนได้ผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจำนวน 19 ทีม  แบ่งเป็นกลุ่มภาพยนตร์และซีรี่ย์ (Film & Series) จำนวน 13 ทีม และกลุ่มดิจิทัลคอนเทนต์ นำเสนอภายใต้โจทย์ “Meaningful Travel” ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์จำนวน 6 ทีม 

โอกาสที่หาไม่ได้ง่าย ๆ ก็คือ การเข้ารับการอบรมจากวิทยากรชั้นนำและโอกาสร่วม Business Matching กับ สตูดิโอ ค่ายหนัง ผู้ผลิตภาพยนตร์และซีรี่ย์ และ Streaming Platform ชั้นนำในระดับประเทศและต่างประเทศกว่า 26 ค่าย อาทิ WeTV,  NETFLEX, บริษัท GDH 559 จํากัด และ Workpoint เป็นต้น 

ซึ่งได้รับเสียงสะท้อนจากทีมที่ผ่านเข้ารอบว่า ขอบคุณ ปตท. ที่ให้โอกาสและประสบการณ์ ได้กล้าคิดไปไกลมากกว่าเดิม รู้จักเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้พบเพื่อนใหม่ ๆ ด้วย

มากกว่านั้นคณะผู้จัดงาน มีความปราบปลื้มใจ ที่ได้เห็นศักยภาพของคนรุ่นใหม่ ที่มีความสามารถพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์  ครีเอทีฟคอนเทนต์ ขึ้นมา ซึ่งปตท.และพันธมิตรจะร่วมส่งเสริม Soft Power และโปรโมทผลงานต่อไป 

โดยทีมที่ได้รางวัลชนะเลิศเงินรางวัล 50,000 บาท ได้แก่  LocalXplorer – แอปพลิเคชั่นเชื่อมโยงนักท่องเที่ยวกับชุมชน

รางวัลรองชนะเลิศ เงินรางวัล 30,000 บาท ได้แก่ Sermtat | Thai VR Boxing Game – เกมออกกำลังกายศิลปะแม่ไม้มวยไทยในโลกเสมือนจริง ด้วยเทคโนโลยี Virtual Reality และ Thailand Culture Guide – แอปพลิเคชันเพื่อนคู่ใจสำหรับนักท่องเที่ยวสายมู 

คุณเชิดชัย กล่าวว่า ปตท.พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนศักยภาพเยาวชนไทย ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล สนับสนุนการผลิตผลงานคุณภาพ และยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สู่มาตรฐานสากล 

เตรียมเดินหน้าเปิดรุ่น 2 เสริมศักยภาพคนรุ่นใหม่ ป้อนอุตสาหกรรมคอนเทนต์ต่อเนื่อง จ่อคิวเพิ่มหลักสูตร Script Writing ขยายพื้นที่จัดกิจกรรม เพื่อนำประเทศไทยก้าวสู่การเป็น Creative Hub ของภูมิภาคอาเซียน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต 


45 ปี ปตท.จุดพลังชีวิต ขับเคลื่อนอนาคต
ติดต่อโฆษณา!