08 พฤศจิกายน 2566
1,883
วังจันทร์วัลเลย์ เมืองอัจฉริยะ
เมืองที่สมบูรณ์แบบในความฝันของใครหลายคนที่เป็นเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City จะมีหน้าตาอย่างไร แต่เชื่อว่าต้องมีครบองค์ประกอบ ในการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน
เราพามารู้จัก “วังจันทร์วัลเลย์” เมืองนวัตกรรม หรือ Smart City สถานที่ตั้งสำคัญของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECI ในการยกระดับขีดความสามารถด้านการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมทุกภาคส่วนของประเทศ รองรับการเติบโตด้านเศรษฐกิจ
วังจันทร์วัลเลย์ หรือโครงการนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ตั้งอยู่ที่อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง บนพื้นที่ 3,454 ไร่
แบ่งพื้นที่เป็น 3 โซน ได้แก่ Education Zone, Innovation Zone และ Community Zone
ด้วยความตั้งใจในการสร้าง “วังจันทร์วัลเลย์” ให้เป็นเมืองอัจฉริยะ หมายถึง เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ และการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่าย และการใช้ทรัพยากรของเมือง และประชากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชน การพัฒนา “วังจันทร์วัลเลย์” เกิดจากความร่วมมือระหว่างบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ที่จะพัฒนาพื้นที่โครงการให้มีระบบนิเวศน์นวัตกรรมระดับชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยมีการนำแนวคิดเมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน เข้ามาใช้ในการออกแบบพัฒนาโครงการ โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันพัฒนาผู้ประกอบการไทย เปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจแห่งอนาคต และอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve)
ปัจจุบัน วังจันทร์วัลเลย์ ได้รับการประกาศให้เป็นเมืองอัจฉริยะประเทศไทย Smart City Thailand ครบทั้ง 7 ด้าน จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564
ประกอบด้วย Smart Environment, Smart Energy, Smart Economy, Smart Governance, Smart Mobility, Smart People, Smart Living
ปตท. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและบริหารจัดการพลังงานภายในพื้นที่ 3,000 กว่าไร่นี้อย่างครบวงจร รองรับการวิจัย ทดลอง และทดสอบนวัตกรรมในพื้นที่ โดยมีศูนย์ปฎิบัติการอัจฉริยะ หรือ IOC ทำหน้าที่เป็นห้องควบคุมและสั่งการระบบปฏิบัติการสำคัญต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น ระบบ SCADA เป็นระบบแสดงสถานะและใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ แบบ Real-Time เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบรวบรวมน้ำเสีย
Energy Management System แสดงปริมาณการรับจ่ายสาธารณูปโภค แบบ Real-Time โดยรับข้อมูลจาก Smart Meter ที่ติดตั้งในอาคาร และ Security Management System ใช้แสดงผลควบคุมและสั่งการระบบความปลอดภัยต่างๆ เช่น . CCTV ระบบ FIRE ALARM ระบบ SMART PARKING ระบบ NETWORK MONITORING SYTEM ระบบ BUS TRACKING ระบบ ENVIRONMENTAL MONITORING SYSTEM ระบบ EMERGENCY PHONE เป็นต้น
ส่วนที่น่าสนใจโซน Innovation คือ พื้นที่ Sandbox ในการทดสอบ ทดลองนวัตกรรม รองรับ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ UAV Regulatory Sandbox โดยสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) พัฒนาทุกองค์ประกอบของระบบนิเวศน์อากาศยานไร้คนขับ เช่น โดรนสำรวจแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ โดรนสังเกตการณ์ โดรนดับเพลิง โดรนส่งของ
โครงการ NBTC Regulatory Sandbox บริการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและคลื่นความถี่ สำหรับทดลอง ทดสอบด้านวิจัยและพัฒนา ในพื้นที่วังจันทร์
CAC Sandbox หรือ Connected and Autonomous Vehicles โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้าน Future Mobility ให้บริการพื้นที่ต้นแบบในการทดลอง ทดสอบยานยนต์ไร้คนขับ
พื้นที่ต้นแบบในการทดสอบระบบ ERC Sandbox ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ เพื่อเป็นการให้บริการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน คาร์บอนเครดิต ใบรับรองสิทธิการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
โดยสรุป พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์นี้ พร้อมให้บริการแก่นักลงทุน เปิดโอกาสในการสร้างความร่วมมือ ด้านการพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรม ซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ และยังมีสิทธิประโยชน์ในการลงทุนและวิจัยนวัตกรรมอีกด้วย
อาทิ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ยกเว้นอากรนำเข้าวัตถุดิบสำหรับการทำวิจัยและพัฒนา Smart Visa สำหรับผู้เชี่ยวชาญและครอบครัว
สิทธิการเช่าพื้นที่ระยะยาวสำหรับจัดตั้งศูนย์วิจัย และการเช่าพื้นที่ในอาคารเพื่อการวิจัยและพัฒนา สามารถใช้สอยโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน เช่น โรงผลิตชิ้นงานต้นแบบอุปกรณ์ เครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบ Co-Working Space สนามทดลองและทดสอบ
อย่างไรก็ตาม สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น สถานที่จริง ท่านที่สนใจ สามารถติดต่อและเยี่ยมสถานที่ได้ด้วย WWW.WANGCHANVALLY.COM
45 ปี ปตท. จุดพลังชีวิต ขับเคลื่อนอนาคต