15 พฤศจิกายน 2566
2,770

LNG Terminal แหล่งพลังงานเสริมความมั่นคงให้ประเทศไทย



เพราะพลังงาน เป็นแรงขับเคลื่อนในทุก ๆ สิ่ง ทั้งการดำเนินชีวิต การดำเนินธุรกิจ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

เรานึกภาพวันที่ไม่มีพลังงานใช้ไม่ออกกันเลยทีเดียว แต่อย่างน้อยพอจะนึกภาพวันที่ไฟดับ น้ำมันหมด เน็ตหาย ได้อยู่บ้าง แต่ในความเป็นจริงถ้าไม่มีแหล่งพลังงานเพียงพอสำหรับประเทศ ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นคงมากมายเกินกว่าจะประมาณมูลค่า 

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จึงได้วางแผนจัดหาแหล่งพลังงานต่างๆ และลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนภาครัฐ รองรับปริมาณความต้องการที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ 

กำลังการผลิตในประเทศ ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในแต่ละวัน จึงจำเป็นต้องจัดหาเพิ่มเติม ทั้งการนำเข้าน้ำมันดิบเพื่อมากลั่นในประเทศ การนำเข้าก๊าซธรรมชาติผ่านระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน และการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว ที่สามารถขนส่งเชื้อเพลิงข้ามทวีปได้ เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพ และความมั่นคงด้านพลังงานในระยะยาว 

ปตท. ได้จัดตั้ง บริษัท PTT LNG จำกัด ดำเนินการก่อสร้างท่าเรือ และสถานี รับ เก็บ และจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว หรือสถานี LNG ขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย 

เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านโครงสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศในระยะยาว พร้อมเปิดโอกาสให้ประเทศไืทยสู่การเป็น LNG Reginal Hub 

ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานี LNG 2 แห่ง แห่งแรกก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2554 ปัจจุบันมีกำลังการแปรสภาพ  LNG ที่ 11.5 ล้านตันต่อปี สถานี LNG แห่งที่สอง ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการเมื่อปี 2565 มีกำลังการแปรสภาพ LNG ที่ 7.5 ล้านตัน รวมกำลังการผลิตจากทั้งสองแห่งประมาณ 19 ล้านตัน เป็นแหล่งพลังงานสำรองที่สำคัญแหล่งหนึ่งของประเทศ

เราทราบคุณสมบัติของก๊าซธรรมชาติเหลวมาบ้างแล้ว ว่ามีองค์ประกอบหลักคือก๊าซมีเทนและอยู่ในสถานะของเหลว เมื่อลดอุณหภูมิลง ถึง 160 องศาเซลเซียส ก๊าซจะเกิดการควบแน่นเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของเหลว เพิ่มความสะดวกในการขนส่งไปยังพื้นที่ห่างไกล 

เมื่อมีการรับก๊าซ LNG จากเรือขนถ่ายต่างประเทศ จะขนถ่ายจากเรือสู่ถังเก็บโดยขบวนการนำ LNG ไปใช้ประโยชน์ต้องเปลี่ยนสถานะของเหลวกลับเป็นก๊าซ โดยการเพิ่มอุณหภูมิด้วยทะเล เรียกขบวนการนี้ว่า Regasification Process

เมื่อ LNG กลับเป็นสถานะก๊าซแล้วจึงส่งเข้าสู่ระบบท่อก๊าซธรรมชาติ เพื่อส่งจ่ายผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติกลุ่มต่างๆ เช่น โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม และ NGV แต่ก็มีการขนส่งในรูปแบบของเหลวด้วยรถประเภท Semi-Trailer หรือ ISO Tank สู่ภาคอุตสาหกรรมเช่นเดียวกัน

แนวคิดจากการนำพลังงานทุกชนิดจากกระบวนการมาสร้างประโยชน์นั้นน่าสนใจ ทุกคนรู้สึกถึงความเย็นที่สุด ที่อุณหภูมิเท่าไหร่?

อุณหภูมิ -160 องศาเซลเซียส มีปริมาณความเย็นมหาศาล ซึ่งความมหัศจรรย์คือ การคิดค้นวิธีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ แทนที่จะปล่อยทิ้งไป ซึ่ง PTT LNG สามารถนำพลังความเย็นกลับมาใช้ได้ในหลายๆโครงการ 

ที่น่าสนใจคือการนำพลังงานความเย็นที่เหลือใช้ มาพัฒนา ทดลอง และวิจัยเทคโนโลยีการปลูกพืชเมืองหนาวและเมืองร้อน ณ ศูนย์เลิศรัตนพฤกษ์ ตั้งอยู่ในสถานี LNG มาบตาพุด แห่งที่ 1  

จากการนำเข้าพันธุ์ดอกไม้จากต่างประเทศ เช่น ดอกทิวลิป ไฮเดรนเยียร์  ลิลลี่   มาเพาะปลูกภายใต้การควบคุมความชื้น แสง และอุณหภูมิ ซึ่งการเพาะพันธุ์พืชเมืองหนาวขึ้นในประเทศ เป็นการส่งเสริมธุรกิจภายในประเทศ ได้ใช้ดอกไม้ราคาถูกกว่าการนำเข้า และมีจำหน่ายตลอดปี 

แต่หากท่านใด  ที่ชื่นชอบการจัดแสดงดอกไม้ที่สวยงาม เหมือนที่เนเธอร์แลนด์ วันนี้สามารถเข้าชม ได้ที่ อาคารนิทรรศน์พรรณพฤษา สถานี LNG แห่งที่ 2 มาบตาพุด ซึ่งภายในอาคารใช้ความเย็นจากการแปรสภาพ LNG ทำให้คงอุณหภูมิอยู่ที่ 15-17 องศาเซลเซียส 

ดอกไม้มีความสวย สด งดงามหมุนเวียนทั้งปี เปิดให้เข้าชมฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายสามารถเช็ควันหยุด วันนักขัตฤกษ์ ได้ที่ เฟสบุ๊ค Miracle of Natural 

หากใครแวะมาเที่ยวจังหวัดระยอง แวะชม ดอกไม้สวยงามที่อาคารนิทรรศน์พรรณพฤกษา เพื่อเรียนรู้การบริหารจัดการด้านพลังงานอย่างเป็นเลิศ พร้อมชมพรรณไม้เมืองหนาวที่งดงาม เสมือนอยู่ต่างประเทศจริง ๆ


45 ปี ปตท. จุดพลังชีวิต ขับเคลื่อนอนาคต
ติดต่อโฆษณา!