09 พฤษภาคม 2567
874

เปิดรับสมัครโครงการศิลปกรรม ปตท. “PTT Art Awards” ปี 2567


ศิลปะเป็นสิ่งที่จรรโลงใจได้เสมอ โดยศิลปะแต่ละแขนงจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ศิลปะยังช่วยสร้างแรงบรรดาลใจ และเป็นพลังส่งต่อให้กับใครหลาย ๆ คน เหมือนกับงานที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ 

ทางบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดประกวดศิลปกรรม ปตท. “PTT Art Awards”  ครั้งที่ 39 ประจำปี 2567 ในหัวข้อ “พลังที่ส่งต่อ” เพื่อเปิดโอกาสให้ ศิลปิน เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้ร่วมกันถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ประสบการณ์ในช่วงชีวิตที่ผ่านมาในรูปแบบงานศิลปะทุกประเภท

ทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ผลงานทัศนศิลป์อื่น ๆ และเป็นปีแรกที่เปิดรับผลงาน “ดิจิทัลอาร์ต 2 มิติ” 

การประกวดศิลปกรรมของปตท. เริ่มตั้งแต่ปี 2529 โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับมหาวิทยาลัยศิลปากร 

จัดประกวดครั้งแรกในหัวข้อ “ในหลวงของเรา” เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้แสดงออกถึงความจงรักภักดี ต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก็ได้มีการจัดศิลปกรรมปตท. ต่อเนื่องกันมา 30 ปี 

▪️ ที่มาของหัวข้อการประกวด

ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร คณะกรรมการตัดสินผลงาน PTT Art Awards ครั้งที่ 39 ประจำปี 2567 ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์) ปี 2565 อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาควิชาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า  

“การประกวดศิลปกรรมปตท. “PTT Art Awards ครั้งที่ 39 ครั้งนี้มีหัวข้อที่ชื่อว่า “พลังที่ส่งต่อ” ซึ่งก็คือสิ่งที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมา อาจจะเริ่มต้นจากพลังชีวิต พลังความคิด การดูแลรักษาสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ผมคิดว่าเป็นสิ่งจะต้องถ่ายทอดถึงกัน  

สำหรับความพิเศษของการประกวดในปี 2567 นั้น ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ระบุว่า ที่จริงแล้ว เรายังยืนยันจะใช้เทคนิคเดิม ของการประกวดคือ จิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ แต่ในปีนี้มีสิ่งพิเศษเพิ่มขึ้นคือดิจิทัลอาร์ต 2 มิติเพิ่มขึ้นมา เช่นการสร้างสรรค์งานด้วยคอมพิวเตอร์ หรือไอแพด สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้น่าจะอยู่ในความสนใจของเด็ก ๆ ค่อนข้างมาก 
   

▪️ การประกวดแบ่งเป็น 4 รุ่น  

สำหรับการประกวด PTT Art Awards ครั้งที่ 39 จะเปิดรับผลงาน 4 กลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 9 ขวบ
2. กลุ่มเยาวชนอายุ 9 - 13 ปี
3. กลุ่มเยาวชนอายุ 14 - 18 ปี
4. กลุ่มประชาชนทั่วไป


▪️ ประสบการณ์จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง 

วริศรา อภิสัมภิณวงศ์ ผู้ชนะการประกวดศิลปกรรม ปตท. ประจำปี 2563 รางวัลดีเด่น ระดับประชาชนทั่วไป กล่าวว่า มีรุ่นพี่ที่ส่งเข้าประกวดหลายคน ก็เลยส่งผลงานเข้าร่วมประกวดด้วย จนสามารถคว้ารางวัลดีเด่น ก็อยากเชิญชวนทุกคน ร่วมส่งผลงาน

นารา วิบูลย์สันติพงศ์ ผู้ชนะการประกวดศิลปกรรม ปตท.ประจำปี 2564 - 2565 รางวัลยอดเยี่ยมระดับเยาวชนอายุระหว่าง 14 - 18 ปี กล่าวว่า สนุกเวลาทำ มีความรู้สึกว่า ศิลปะเป็นที่ที่ทำให้เราได้ผ่อนคลายและใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้ 

โดยส่งรูปแบบประติมากรรมเข้าประกวด ซึ่งเป็นสาขางานศิลปะที่ชื่นชอบ โดยสามารถสร้างสรรค์ผลงานในลักษณะ 3 มิติได้ 

สำหรับการประกวดในปีนี้คิดว่าเป็นหัวข้อที่ดี ที่สามารถส่งพลังของเรา ไปยังคนที่มาดูผลงานได้ อยากให้ทุกคนลองส่งผลงานเข้าประกวดแม้ว่าจะได้รางวัลหรือไม่ได้รางวัล จะทำให้เราได้พัฒนา และได้ลองทำผลงานใหม่ ๆ 

ดังนั้น ปตท. ถือโอกาสนี้เชิญชวนทุกคนประกวดโครงการศิลปกรรมปตท. ครั้งที่ 39

“อยากให้คนที่รักงานศิลปะส่งผลงานเข้าประกวด เป็นเวทีที่ มีเกียรติ และเป็นเวทีระดับชาติ โดยส่งผลงานได้ตั้งแต่ 10 - 16 มิถุนายน 2567” ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ กล่าว


20250509-d-01.jpg


▪️ ส่งทางไปรษณีย์ พร้อมใบสมัคร

- โดยผลงานจะต้องส่งถึงจุดรับผลงาน ตามวันเวลาที่กำหนดเท่านั้น ต้องแนบใบสมัครจริงมาพร้อมกับผลงาน โดยไม่ต้องนำใบสมัครติดหลังผลงาน

- ใช้บริการขนส่งของบริษัทขนส่งใดก็ได้ ทั้งนี้หากส่งโดยไปรษณีย์ไทยโปรดส่งโดย EMS เท่านั้น

▪️ ส่งถึง : ศูนย์ศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000 โทร. 09 7242 9333

▪️ ส่งผลงานดิจิทัลอาร์ต 2 มิติ 

- อัปโหลดผลงานผ่านลิงก์ ของโครงการฯ ระหว่างวันที่ 10 - 16 มิถุนายน 2567

- ติดตามได้ที่ FB : หอศิลป์ ณ บ้านเจ้าพระยา 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายกิจการเพื่อสังคม ปตท. โทร. 02 537 1388 หรือ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โทร. 09 7242 9333

ถ้าหากงานศิลปะเปรียบเหมือนดอกไม้ที่ผลิบานในหัวใจของคน งานศิลปกรรมของปตท. นั้นก็อาจจะเปรียบเสมือนผืนแผ่นดินที่บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ ปลูกฝังความดีงาม ให้เกิดขึ้นในสังคม 

“ปตท. จุดพลังชีวิต ขับเคลื่อนอนาคต”


รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/WXX255phTIg?si=9C_mgDbZTHUTfJoM

ติดต่อโฆษณา!