น้ำมันสำเร็จรูปที่ใช้อยู่ในประเทศไทยมาจากไหน
น้ำมันสำเร็จรูป ที่ใช้อยู่ในประเทศไทย มาจากไหนกันนะ
ข้อมูลปี 2566 พบว่าประเทศไทยผลิตน้ำมันดิบได้ประมาณ 136,183 บาร์เรล/วัน แต่ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป อยู่ที่ประมาณ 1,128,591 บาร์เรล/วัน จึงต้องมีการนำเข้าน้ำมันดิบประมาณ 962,155 บาร์เรล/วัน เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานภายในประเทศ โดยในส่วนของน้ำมันสำเร็จรูป ประเทศไทยมีการผลิตอยู่ที่ 174 ล้านลิตร/วัน มีการใช้งานที่ 152 ล้านลิตร/วัน และนำเข้าอยู่ที่ 9 ล้านลิตร/วัน
การนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่นนั้นจะคุ้มค่ากว่าการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปแต่ละประเภทแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งในแง่ของความมั่นคงทางพลังงาน และการควบคุมต้นทุนราคาเนื้อน้ำมันได้
โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นบางตัวมีเพียงพอต่อความต้องการในประเทศ แต่หากตัวใดขาดก็ต้องนำเข้ามาเสริม หรือหากเกินก็สามารถส่งออกเพื่อสร้างรายได้ และลดภาระการสร้างถังจัดเก็บ
ส่วนน้ำมันดิบที่ส่งออกไปต่างประเทศนั้น มักมีคุณสมบัติไม่ตรงตามความต้องการใช้งานในประเทศไทย จึงส่งออกให้ผู้ที่มีความต้องการคุณสมบัติของน้ำมันดิบดังกล่าว
ประเทศไทยนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศกว่า 90% ดังนั้น ต้นทุนราคาน้ำมันดิบจึงแปรผันตามราคาตลาดโลก ทั้งกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน OPEC สงครามการค้า ภัยพิบัติ อัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น
โครงสร้างราคาน้ำมันของแต่ละประเทศ โดยหลักประกอบด้วย 3 ส่วนที่คล้ายกัน แต่จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันตามนโยบายด้านพลังงานของแต่ละประเทศ
ประเทศไทย มีโครงสร้างราคาน้ำมัน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นทุนเนื้อน้ำมันสำเร็จรูป ที่ซื้อจากโรงกลั่น หรือที่เรียกว่า “ราคา ณ โรงกลั่น” ประมาณ 71% การจัดเก็บภาษี และการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน รวมประมาณ 25% และ ส่วนสุดท้ายคือ ค่าการตลาด อีก 4% ที่รวมถึงต้นทุนการลงทุนของผู้ค้าน้ำมันทั้งหมด
เพราะประเทศไทย ไม่ได้มีพลังงานของตนเองอย่างเหลือเฟือ การรู้ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า และได้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เรามีพลังงานใช้อย่างยั่งยืนต่อไปอีกในอนาคต
ปตท. จุดพลังชีวิต ขับเคลื่อนอนาคต
รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/eVGrZ_2cKiM?si=l0iIAaFzJduSXk8x