09 กรกฎาคม 2567
620

ปิโตรเคมี ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย


ผลิตภัณฑ์ข้าวของเครื่องใช้ที่อำนวยความสะดวกให้กับเราในชีวิตประจำวัน เกิดขึ้นจากนวัตกรรม เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญใช้กระบวนการทางเคมีและฟิสิกส์ พัฒนาอุตสาหกรรมเคมีอย่างต่อเนื่อง

วัตถุดิบหลักสำคัญได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ ถ่านหิน และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่นำมาผ่านกระบวนการแยกก๊าซ ที่นอกจากจะได้เชื้อเพลิงเป็นก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันประเภทต่าง ๆ แล้ว ยังจะได้สารตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอีกด้วย

แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลักคือ กลุ่มโอเลฟินส์และกลุ่มอะโรเมติกส์ ที่เป็นวัตถุดิบตั้งต้นของการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นมานั่นเอง 

ก๊าซธรรมชาติ 6,000 ลูกบาศก์ฟุต หรือ น้ำมัน 1 บาร์เรล สามารถผลิตเสื้อ 21 ตัว ถังขยะพลาสติกใหญ่ 6 ถัง กล่องใส่เบียร์ 4 ลัง เชือกเกลียว 30 เส้น ผ้าห่ม 5 ผืน ล้อรถยนต์ 1 เส้น ล้อจักรยาน 13 เส้น ยางในล้อรถยนต์ 3 เส้น และถุงน่อง 500 คู่

จะเห็นได้ว่าก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ ที่มีสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่หลากหลายสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ถึง 25 เท่า ดีกว่าการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงขั้นต้นแต่เพียงอย่างเดียว

ส่วนวัตถุดิบชีวภาพพืชเกษตร เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด หรือปาล์มนั้นสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ Biofuel, Biochemicals, Bioplastics ประเภท PLA, PBS

ซึ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพนั้น จะสามารถสร้างคุณค่าได้เพิ่มขึ้นถึง 40 เท่า เพราะประเทศไทย ไม่ได้มีทรัพยากรทางพลังงานของตนเองอย่างเหลือเฟือ การรู้ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและนำทรัพยากรทางพลังงาน ไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เรามีพลังงานใช้อย่างนั่งยืนต่อไปในอนาคต


รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/cYW5uDJluQs?si=wkhKPnze5HQ_FtSa



ติดต่อโฆษณา!