21 สิงหาคม 2567
395

Godji Caring Hero : Godji พาท่องโลกพลังงานสะอาด

วันนี้ Godji อยากชวนทุกคนไปเที่ยวรอบโลก ดูโครงการพลังงานสะอาดที่เน้นย้ำถึงศักยภาพพลังงานแห่งอนาคตที่ยั่งยืน  ที่หลายๆ ประเทศเริ่มดำเนินการกันแล้ว และอยู่ระหว่างพัฒนา

🔹 Solar Farm  ถึงแม้ว่าจีนจะเป็นผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์รายใหญ่ที่สุด แต่ Solar Farm ที่ใหญ่ที่สุดในโลกนั้น ตั้งอยู่ที่สาธารณรัฐอินเดีย นั่นคือ Bhadla Solar Park มีกำลังการผลิตรวม 2.25 กิกะวัตต์ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 57 ตารางกิโลเมตร 

ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของอินเดียในการขยายแหล่งพลังงานทดแทน และบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ และบริษัทพลังงานของไทย ก็ได้เพิ่มเป้าหมายกำลังการผลิตและมีการลงทุนพลังงานหมุนเวียนที่อินเดียด้วยเช่นกัน

🔹 Wind Farm ทุ่งกังหันลมผลิตไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้แก่ The Gansu Wind Farm ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน มีเป้าหมายกำลังการผลิตรวม 20 กิกะวัตต์ โดยการก่อสร้าง Phase แรก แล้วเสร็จเมื่อปี 2010 ติดตั้ง Turbines 3,500 ตัว และจ่ายไฟฟ้าให้ภาคกลางและภาคตะวันออกของจีน ซึ่งเมื่อโครงการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ คาดว่าจะมีการติดตั้ง Turbines ถึง 7,000 ตัวกันเลยทีเดียว    

สองตัวอย่างพลังงานสะอาดที่คุ้นเคย ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ที่มีก้าวกระโดดด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ประกอบกับพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ที่มนุษย์ใช้ประโยชน์กันอยู่ทุกวันนี้มีอยู่อย่างจำกัด และมีการใช้งานเพิ่มสูงขึ้น

ส่งผลให้การผลิตพลังงานจากแหล่งพลังงานทดแทน มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรองรับความต้องการใช้พลังงาน อีกทั้งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สาเหตุสำคัญของปัญหาโลกร้อน และก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้เร็วขึ้น

🔹 พลังงานไฮโดรเจน ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจ และจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ PDP 2024 นั้น จะเป็นส่วนหนึ่งในการผสมเข้ากับก๊าซธรรมชาติ และนำไปเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า ด้วยไฮโดรเจนเป็นพลังงานทางเลือกที่สะอาด ปล่อยคาร์บอนต่ำ หรือไม่สร้างมลพิษเลย โดยโรงงานไฮโดรเจนเหลว ที่ใหญ่ที่สุดในโลก อยู่ที่สาธารณรัฐเกาหลี กำลังการผลิต 30,000 ตันต่อปี ซึ่งเป็นปริมาณเพียงพอสำหรับรถโดยสารพลังงานไฮโดรเจน 5,000 คันต่อปี

นอกเหนือจากการพัฒนาพลังงานทางเลือกเพื่อสิ่งแวดล้อมแล้ว แนวคิดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ถูกนำมาปรับใช้ ยกระดับมาตรฐานต่างๆ ช่วงเริ่มต้น แต่นวัตกรรมนี้มุ่งให้ทุกคนเข้าถึงการผลิตพลังงานหมุนเวียนได้มากขึ้น ละก็น่าสนุกมากๆ  สามารถลดอัตราการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์กันแล้ว อย่าลืมมาช่วยกันเพิ่มอัตราการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยการปลูกต้นไม้เพิ่มมากขึ้น

โดย "ต้นไม้" 1 ต้นนั้น สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้เฉลี่ย 9 - 15 กิโลกรัมต่อปี ทั้งยังช่วยดักจับฝุ่นและมลพิษในอากาศ ได้ 1.4 กิโลกรัมต่อปี ซึ่งศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนฯ ของต้นไม้นั้น ขึ้นอยู่กับอัตราการเติบโตของต้นไม้ และปัจจัยแวดล้อม นอกจากนี้ ยังช่วยทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้น และที่สำคัญ ช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้ชุมชน ส่งเสริมเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง

🔹 ชวนเที่ยวป่าในกรุง เพื่อน ๆ รู้ไหม ในกรุงเทพฯ ก็มีป่านะ มาเที่ยวป่ากันไหม ป่าในกรุง บนถนนสุขาภิบาล 2 พื้นที่ 12 ไร่ ได้เดินเล่นเพลิน ๆ หรือภาคตะวันออก จังหวัดระยอง ยังมีศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ บนพื้นที่ประมาณ 350 ไร่ หรือถ้าสนใจระบบนิเวศป่าชายเลน แวะไปที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปเยี่ยมชม ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ซึ่งสามารถพลิกฟื้นนากุ้งร้าง มาเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่ได้รับรางวัลมาตรฐานดาวแห่งความยั่งยืนในระดับ 5 ดาว จากโครงการ STAR และเครื่องหมายมาตรฐานการท่องเที่ยว สาขามาตรฐานกิจกรรมดูนกระดับดีเยี่ยม

และการปลูกป่า ก็ได้มากกว่าต้นไม้ ปลูกป่าแล้ว ปลูกการมีส่วนร่วมดูแลรักษาป่าจากชาวบ้านและหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ เกิดเป็นเครือข่ายอนุรักษ์และรักษาป่าให้ยั่งยืน และชุมชนสร้างอาชีพจากป่าได้อีกด้วย

ในวันนี้ แปลงปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ จากจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2537 กว่า 1 ล้านไร่ ที่ ปตท. ร่วมปลูก สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เฉลี่ย 2.14 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และมีการพึ่งพิงใช้ประโยชน์จากป่าของชุมชนโดยรอบคิดเป็นมูลค่ากว่า 280 ล้านบาทต่อปี 


ปตท. แข็งแรงร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

 

 

ติดต่อโฆษณา!