13 กันยายน 2567
415

GPSC ร่วมปั้นเด็กไทยแข่งขันวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์โอลิมปิก ดันไทยเติบโตยั่งยืน

GPSC ร่วมผลักดันเยาวชนไทยจนคว้าเหรียญรางวัลจากการแข่งขัน “วิทยาศาสตร์นิวเคลียร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ” ครั้งแรกของโลก เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานอีกแนวทางหนึ่ง

หากเยาวชนไทยมีความรู้และเข้าใจพลังงานนิวเคลียร์ พลังงานสะอาดที่อาจเปลี่ยนโลกในอนาคต เป็นรากฐานสำคัญผลักดันประเทศไทยให้เติบโตยั่งยืนบนเวทีโลก จึงเป็นที่มาให้สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทยเฟ้นหานักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีอัจฉริยะภาพทางการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในทางสันติ จนได้ผู้ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 4 คน เป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และคว้ารางวัลเหรียญทองและเหรียญเงินมาได้สำเร็จ นับเป็นการเพิ่มโอกาสในการขยายผลให้การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ สู่การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านพลังงานอีกแนวทางหนึ่ง

 

คุณวราภรณ์ วัชรสุรกุล เลขาธิการสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย หัวหน้าโครงการแข่งขันวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ปี 2567 กล่าวว่า นิวเคลียร์โอลิมปิกปีนี้เป็นครั้งแรกของโลก เริ่มต้นจากทบวงการปรมาณูระหว่างประเทศซึ่งเขาเป็นหน่วยงานที่มี Forum ที่เกี่ยวกับการศึกษา ให้ความรู้ ความเข้าใจกับเยาวชนประเทศสมาชิก แล้วเขาก็เล็งเห็นว่าการจัดนิวเคลียร์โอลิมปิกจะทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกเป็นการสื่อสารความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์ไปถึงเยาวชนของแต่ละประเทศได้จริงๆ แล้วพลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบัน เพียงแต่ความรู้ ความเข้าใจที่อาจจะน้อยอยู่ การขยายฐานถึงเด็กๆ จะทำให้ความรู้ ความเข้าใจมีมากขึ้น สามารถที่จะใช้พลังงานนิวเคลียร์มาเป็นเทคโนโลยีที่สะอาด แล้วก็จะมารับใช้ประเทศได้ต่อไปในอนาคต

 

ผมได้ไปแข่งขันเกี่ยวกับวิทยาศาตร์นิวเคลียร์ ครั้งที่ 1 ของโลก เป็นการแข่งขันเกี่ยวกับการใช้นิวเคลียร์ในการประยุกต์ใช้สิ่งต่างๆ เช่น ใช้เพื่อการแพทย์ หรือว่าการหาอายุของวัตถุโบราณ ผมเชื่อว่านิวเคลียร์สามารถต่อยอดในหลายด้าน ในความคิดของผม คิดว่านิวเคลียร์ถ้าเราจัดการมันดีพอ มันก็จะไม่มีความอันตราย แต่ในทางกลับกันถ้าจัดการได้ไม่ดีพอมันจะกลายเป็นอันตรายได้ ดังนั้นบุคลากรทางด้านนิวเคลียร์มีความจำเป็นมาก เพราะว่าพวกเขาสามารถทำงานเกี่ยวกับด้านนิวเคลียร์ได้นายธราเทพ เลิศเพทาย ตัวแทนเยาวชนไทยแข่งขันวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ปี 2567 กล่าวเพิ่มเติม

 

คุณปริญดา มาอิ่มใจ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กร บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

การสนับสนุนกิจกรรมในครั้งนี้ก็สอดคล้องกับเรื่องของกลยุทธ์ธุรกิจ แล้วก็ภารกิจของ GPSC ในการที่จะศึกษาและก็ประยุกต์ใช้นวัตกรรมพลังงานในด้านต่างๆ ทั้งกับในระดับประเทศและก็การดำเนินธุรกิจของ GPSC และก็นอกจากนั้นแล้ว GPSC เราก็สนับสนุนในเรื่องของการศึกษาให้กับเยาวชนในระดับต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนโอลิมปิกนิวเคลียร์ในครั้งนี้ก็เป็นการส่งเสริมให้เยาวชนซึ่งเป็นระดับหัวกะทิของประเทศชาติเราในการที่จะมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ได้มีโอกาสในการที่จะเข้าไปร่วมกับกิจกรรมทางด้านวิชาการสำคัญๆ ระดับโลก เราก็คาดหวังว่าน้องๆ กลุ่มนี้ ก็สามารถที่จะกลับมา แล้วก็พัฒนาความรู้ในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะเป็นผู้นำในเรื่องของพลังงานของระดับประเทศแล้วก็ในระดับโลกต่อไป ในส่วนของตัวเทคโนโลยีทางด้านนิวเคลียร์ก็เป็นหนึ่งในหลายๆ เทคโนโลยีทางด้านพลังงานที่ทาง GPSC ก็ศึกษาและก็ทำความเข้าใจ เพื่อที่จะดูว่ารูปแบบของเทคโนโลยีพลังงานด้านไหนที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจของ GPSC

 

บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. ได้ร่วมสนับสนุนการแข่งขันนิวเคลียร์โอลิมปิกระดับโลกในครั้งนี้ เพราะเป็นหนึ่งในแนวทางการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม GPSC ที่จะเสริมสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีพลังงานให้กับเยาวชน โดยเฉพาะพลังงานนิวเคลียร์ พลังงานสะอาดที่เป็นประโยชน์กับประเทศในอนาคต นอกจากนี้ยังสร้างโอกาสให้กับเยาวชนไทยได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์กับเยาวชนนานาประเทศ เป็นการยกระดับการพัฒนาคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาประเทศไทยให้ยั่งยืน

 

รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/FuC4siD9Gwg?si=1calnJWWCpGat8HA



ติดต่อโฆษณา!