30 เมษายน 2564
6,821

เจาะลึกแผนธุรกิจรูปแบบใหม่ของกลุ่ม ปตท.

เจาะลึกแผนธุรกิจรูปแบบใหม่ของกลุ่ม ปตท.
Highlight
ปตท. ลงทุน 2,000 ล้านบาท เดินหน้าธุรกิจ “Life Science” เพื่อดูแลสุขภาพคนไทย


Life Science ธุรกิจด้านสุขภาพ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตามองอย่างมาในยุคนี้ ด้วยวิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป ยิ่งเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากเท่าไร เรื่องของสภาวะแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น อาหารการกิน อากาศ การพักผ่อน ฯลฯ กลายเป็นสิ่งที่ต้องเพิ่มระดับความสำคัญมากขึ้นทันที ทำให้ปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกวันนี้คนเราหันมาให้ความสนใจ และดูแลสุขภาพมากขึ้น

ธุรกิจ Life Science คืออะไร ?

20210430-a-10.jpg

“Life Science” คือ ชีววิทยาศาสตร์ เป็นการทำให้ความรู้ทางชีววิทยาศาตร์เป็นประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด และต่อยอดมาสู่ ธุรกิจด้านสุขภาพนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็น ด้านอุตสาหกรรม ด้านการเกษตร และ ด้านการแพทย์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต

20210311-a-2.jpg
ปัจจุบัน มีหลายบริษัทที่เล็งเห็นความสำคัญของ Life Science  อย่าง ปตท. ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานมาโดยตลอด ล่าสุด บอร์ดบริหารของ ปตท. ได้ทำการอนุมัติทุนจดทะเบียน 2 พันล้านบาท เพื่อจัดตั้งบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด เป็น New S - Curve เกี่ยวกับ Life Science โดยตรง ซึ่งเกี่ยวพันกับวิทยาศาสตร์ และเพื่อสุขภาพ

ธุรกิจ Life Science สำคัญอย่างไรต่อคนไทย?

20210430-a-8.jpg

โดย ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) กล่าวว่า ด้วยความที่สังคมไทย กำลังก้าวเข้าสู่ สังคมสูงวัย เรื่องของสุขภาพ จึงเป็นเรื่องจำเป็น และจะทำอย่างไรให้คนไทยแข็งแรง และมีสุขภาพที่ดี จึงได้สรรหาบุคลากรคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็น แพทย์ เภสัชกร และเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่างๆ รวมถึง วิศวกรเคมี มาร่วมมือกันวิจัยและพัฒนาด้าน Life Science ไม่ว่าจะเป็นอาหาร โภชนาการ เทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยโรค ยารักษาโรค ทั้งด้านการรักษา และ การป้องกัน

4 กลุ่มสินค้าเป้าหมาย เพื่อคนไทย

20210430-a-9.jpg

1. ธุรกิจยา โดยจะเน้นในส่วนของยาสามัญ (Generic) หรือยาที่พ้นระยะสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์  ซึ่งจะทำให้สามารถสร้างมูลค่าได้ โดยจะโฟกัสไปที่กลุ่มยารักษาโรคไม่ติดต่อ (NCD) เช่น โรคมะเร็ง ซึ่งปัจจุบันได้มีความร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรม และสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์เรื่องโรงงานผลิตยามะเร็ง เพื่อพัฒนาเป็นยาที่มีการจดลิขสิทธิ์เป็นลำดับแรกออกสู่ตลาด เบื้องต้น ปตท.ร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรม (อภ.) และสถาบันวิจัยจุฬาลงกรณ์ ตั้งโรงงานผลิตยารักษามะเร็งแห่งแรกของไทยที่นิคมอุตสาหกรรมวนารมย์ อ.บ้านฉาง จ.ระยอง

20210311-a-5.jpg


2. ธุรกิจอาหารและโภชนาการ
เน้นอาหารเพื่อสุขภาพ เสริมความแข็งแกร่งของร่างกาย ลดการเกิดโรค ในรูปแบบของธรรมชาติ (Functional Food) หรืออาหารแห่งอนาคต (Future Food) ซึ่งจะโฟกัสที่สารตั้งต้นหรือสารสำคัญที่มีคุณสมบัติในการรักษาซึ่งเป็นการต่อยอดสินค้าเกษตร นำมาทำเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ  ผู้ป่วยสามารถทานได้ แต่ไม่เน้นเป็นอาหารเสริม

20210311-a-3.jpg


3. ธุรกิจอุปกรณ์และวัสดุทางการแพทย์
(Medical Device) โดย ปตท.จะมุ่งเน้นที่วัสดุสิ้นเปลือง หรือ สิ่งที่ไทยต้องนำเข้า เพื่อทดแทนการนำเข้า และ สร้างความมั่นคงด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ เริ่มพัฒนาจากสิ่งเล็กน้อยที่ใช้บ่อย และต้องเป็นการต่อยอดวัสดุปิโตรเคมีในกลุ่ม ปตท. โดยจะร่วมมือกับ IRPC หรือ GC นำวัตถุดิบไปต่อยอด เช่น ผ้า Melt Blown ซึ่งใช้เม็ดพลาสติกโพลิโพรพิลีน และโอกาสการผลิตยางสังเคราะห์ Nitrile Butadiene Latex (NBL) เพื่อเป็นวัตถุดิบทำถุงมือไนไตร เพื่อใช้ทางการแพทย์

4. ธุรกิจเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology) หรือธุรกิจที่พุ่งเป้าไปที่การยกระดับการวินิจฉัยโรคให้มีคววามแม่นยำมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีใหม่ โดยอินโนบิกได้มีการร่วมมือกับสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคโควิด-19 (COVID-19) 


20210311-a-4.jpg
ทั้งนี้ 4 กลุ่มธุรกิจดังกล่าว คือ Life Science ที่เป็น New S - Curve จาก ปตท. เพื่อทำให้เกิดมั่นคงทางสุขภาพ เพราะเชื่อว่า สุขภาพดีจะนำพาถึงเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีในระยะยาว

20210311-a-6.jpg

ติดต่อโฆษณา!