22 ตุลาคม 2563
3,008
จุดเปลี่ยน ปตท. ในยุค Next Normal
คุณ อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ที่มารับไม้ต่อในปีที่ท้าท้ายที่สุดก็ว่าได้ ในปีโควิด19
ถอดรหัสความคิด CEO ปตท. กับนิยามของ “เป้าหมายที่ท้าทาย”
ภารกิจ ปตท. ยังคงต้องรักษาความเข้มแข็งของธุรกิจหลัก และสร้างธุรกิจใหม่แทนที่การเติบโตในรูปแบบเดิม
จากวิกฤติโควิด-19 ที่เกิดขึ้น อย่างแรกที่เราทำ คือ Respond กับสิ่งที่เกิดขึ้น ให้ความสำคัญกับการแก้วิกฤต ด้วยการตั้ง PTT Group Vital Center เพื่อที่จะดูแลและบริหารจัดการองค์กรตามแนว 4R คือ Resilience, Restart, Reimagination และ Reform โดยทั้ง 4R ทำขนานกัน
1. “Resilience”สร้างความยืดหยุ่นให้องค์กร เพื่อให้องค์กรอยู่รอด
เรื่องของ ต้นทุนการผลิต การดูแลพนักงานในช่วงโควิด-19 และการเสริมสภาพคล่องของกลุ่ม ปตท. โดยกลุ่ม ปตท. ออกหุ้นกู้ 35,000 ล้านบาท หรือ 700 ล้านดอลลาร์ เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรจะแข็งแกร่ง ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพ เราตัดเรื่อง OPEX ของปี 2563 ไปประมาณ 6,000 กว่าล้านบาท สิ่งเหล่านี้ทำให้เรามั่นใจได้แล้วว่าเราจะก้าวไปข้างหน้าได้
2. “Restart” เพื่อจะยืนยันว่า Supply Chain ของเรากลับมาทำธุรกิจได้ปกติ
ในช่วงที่ผ่านมามีการหารือระหว่างบริษัทในเครือของ ปตท. โดยมีการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า เช่น Demand น้ำมันเครื่องบินลดลง กลุ่มโรงกลั่นที่มีอยู่ทั้งหมด 3 แห่งประชุมเรื่องกระบวนการทำงานร่วมกัน ปัจจุบันเหลือ 1 แห่ง ที่ผลิตน้ำมันเครื่องบิน เพื่อปรับให้เป็นไปตาม Demand ที่น้อยลง
พอ Restart เรายืนยันได้ว่า คู่ค้าของเราสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ ซึ่งตอนนี้ทุกอย่างกลับมา Restart ได้หมด” อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ กล่าว
3. “Reimagination” จะตอบคำถามเรื่องธุรกิจว่า เปลี่ยนไปอย่างไรบ้างในช่วงก่อนและหลังเกิดโควิด-19
ธุรกิจพลังงานภาพรวมยังไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งหลักๆ นั้นมีอยู่ 2 ข้อ ก็คือ
- Go Green เรื่องปัญหาโลกร้อนยังอยู่ เพียงแต่ว่าสภาวะโควิด-19 เข้ามา ก็มีการเลื่อนออกไป เพราะมีเรื่องของต้นทุนที่ต้องดูกัน แต่ภาพรวมยังคงนโยบายเดิม
- Go Electric พลังงานไฟฟ้า เป็นเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ของเราก็คือ “การปรับโครงสร้าง” โดยหนึ่งในนั้น คือ การปรับสู่ธุรกิจพลังงานทดแทน ซึ่งมีบริษัท GPSC เป็น Flagship หลักในการดูเรื่องไฟฟ้า แต่การปรับโครงสร้างจะแบ่งให้ชัดขึ้นในเรื่อง Renewable ตั้งเป้าหมายให้ท้าทายขึ้น
Go Electric มองว่า อนาคตไฟฟ้ามากขึ้น แต่ตัวเชื้อเพลิงที่มาผลิตไฟฟ้าเดิมมาจากฟอสซิล ในอนาคต Renewable จะเข้ามา แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้นเรามองว่าก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงช่วงเปลี่ยนผ่าน ไม่ใช่แค่ 10 ปี แต่เรามองไปถึง 20-30 ปี เพราะฉะนั้นเพียงพอที่เราจะลงทุนเพิ่มในธุรกิจก๊าซได้มากขึ้น กลับมาที่เราจะปรับโครงสร้างธุรกิจก๊าซให้คล่องตัวมากขึ้น
- จากเส้นทางเดินก๊าซผ่านท่อ สู่ LNG เทรนด์แห่งอนาคต
ปตท. จะโฟกัสในเรื่องนี้ คือ LNG Value Chain ตั้งแต่แหล่งก๊าซ รวมไปถึงนโยบายของ ปตท. สผ. เองโฟกัสแหล่งสัมปทานที่เป็นก๊าซมากกว่าน้ำมัน เมื่อได้แหล่งก๊าซมาต้องทำให้เป็นของเหลว เรียกว่า Liquefaction และขนส่งมาที่ท่าเรือ ซึ่งต้องมีท่าเรือรับเฉพาะ เรียกว่า LNG Receiving Terminal โฟกัสการลงทุนตลอดทั้ง Value Chain ซึ่งเป็นเทรนด์ใหญ่ที่จะเกิดขึ้น
ส่วนธุรกิจอื่นๆ เช่น ปิโตรเคมีและโรงกลั่น (Petrochemical and Refinery – P&R) แยกเป็นโรงกลั่นน้ำมัน ในอนาคตการผลิตจะลดลง เพราะมีรถไฟฟ้าเข้ามาแทนที่ จะต้องปรับตัวโรงกลั่นให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ต้นทุนต่ำที่สุด
- บริษัท Thaioil ลงทุนปรับประสิทธิภาพ ลดต้นทุนต่อหน่วยให้ได้มากที่สุด เพื่อยืนเป็น Last Man Standing ให้ได้
- ปิโตรเคมีเรามองว่า เทรนด์การใช้งานจริงๆ เพิ่มมากขึ้น Specialty ของปิโตรเคมี หรือพลาสติกมีอยู่หลายชนิด เรายังลงทุนที่ต้นน้ำ มีเป้าหมายที่จะลงทุนที่ปลายน้ำให้มากขึ้น ให้มีการใช้งานหลากหลายมากขึ้น มูลค่าเพิ่มยิ่งสูงขึ้น
- ธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน หรือ PTTOR ได้เข้าจดทะเบียนกับทาง ก.ล.ต เรียบร้อย ตอนนี้อยู่ระหว่างเริ่มทำ IPO PTTOR มีเป้าหมายที่จะเป็น Flagship ด้าน Oil and Retail ของ ปตท.
- ทิศทางราคาน้ำมัน…ยุคน้ำมันถูก
กลุ่มโอเปกพลัสลดการผลิตน้ำมันประมาณ 7.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปัจจุบันจนถึงสิ้นปี 2563 เพื่อจะรักษาระดับราคาน้ำมันให้อยู่ที่ 40 กว่าเหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล หากผ่านวิกฤติของโควิด-19 ได้แล้ว ความต้องการใช้น้ำมันก็จะเพิ่มขึ้น โอเปกพลัสอาจจะผ่อนคลายกระบวนการผลิต ในมุมมองของผมราคาน้ำมันอยู่ประมาณ 40-50 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
- จุดเปลี่ยนโครงสร้างรายได้ธุรกิจ เมื่อกาแฟ กำไรดีกว่า น้ำมัน
- ปัจจุบันโครงสร้างรายได้หลักมาจากน้ำมัน 92% และจากธุรกิจ Non-Oil 3% เช่น Café Amazon Jiffy ฮั่วเซงฮง Texas Chicken และให้เช่าพื้นที่รวมกันประมาณ 3% มีธุรกิจน้ำมันในต่างประเทศ สร้างรายได้ประมาณ 5%
- ถ้าเป็น EBITDA จะกลับกัน คือ รายได้น้ำมัน 92% EBITDA 65% ธุรกิจ Non-Oil รายได้ 3%แต่ทำ EBITDA ได้ถึง 30 % และธุรกิจน้ำมันในต่างประเทศ EBITDA 5%
- ในอนาคตเราจะเพิ่มสัดส่วนของ Non-Oil กับธุรกิจน้ำมันในต่างประเทศให้มากขึ้น เนื่องจากตลาดยังไม่อิ่มตัวในต่างประเทศยังมีโอกาสขยายไปได้อีก ธุรกิจ Non-Oil มีความหลากหลายมากขึ้นที่เราจะขยายไปได้
ธุรกิจหลักของ ปตท. อยู่ในประเทศ เพราะฉะนั้นเศรษฐกิจของประเทศมีผลกับธุรกิจของ ปตท. การช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ควรทำ นอกจาก Restart บริษัทแล้ว เราอยาก Restart ประเทศด้วย
- โครงการ Restart Thailand มี 2 เรื่องหลัก คือ การจ้างงาน ทั้งกลุ่ม ปตท. เราจะจ้างงานให้ได้มากที่สุด คือ มาเป็นพนักงานโดยตรงผ่านโครงการลงทุน โครงการก่อสร้าง เราก็จะไปเร่งโครงการก่อสร้าง รวมถึงขยายการลงทุน จะทำให้จ้างงานได้เพิ่มขึ้น และมีโครงการพิเศษที่จะจ้างนักศึกษาจบใหม่ระยะสั้น 1 ปี มาทำโครงการ CSR รวมกันประมาณ 1,000 กว่าคน รวมทั้งหมดช่วยสร้างงานถึง 25,800 อัตรา
- ปตท. หนุนพนักงานเที่ยวไทย ออกค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่ง ไม่เกิน 5,000 บาท
- “PTT Living Community “ ดูแลชุมชนพร้อมกับการทำธุรกิจ
เราพยายามจะนำธุรกิจที่หลากหลายเข้าไปที่แต่ละพื้นที่ต้องการ มีกิจกรรมทางสังคมในการดูแลสังคม เช่น หากเกษตรกรมีผลผลิตที่ล้นตลาด เราก็จะเปิดพื้นที่ฟรีให้เกษตรกรเหล่านั้นนำเข้ามาขาย บางสถานีบริการน้ำมัน เรานำพื้นที่ทางด้านหลังทำเป็นสนามฟุตบอลหรือฟุตซอล เพื่อเป็นพื้นที่ของชุมชนแต่ละที่ เพราะฉะนั้นรูปแบบของสถานีบริการน้ำมันนั้นจะเป็น Living Community จริงๆ โดยเราจะเรียกว่า Mini Community Mall ที่เราสามารถกระจายไปได้ในแต่ละพื้นที่
นอกจากนี้ ปัจจุบัน “ดิจิทัล” เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งสถานีบริการน้ำมันที่เรามีอยู่ เรียกว่า Physical Platform และเราพัฒนาDigital Platform เชื่อมโยงระหว่าง Physical กับ Digital เข้าด้วยกัน
ด้วยฐานลูกค้าที่ใช้บัตรพีทีที บลูการ์ด (PTT Blue Card) ที่เป็นสมาชิกอยู่ถึงประมาณ 6 ล้านคน สิ่งเหล่านี้ทำให้เราพยายามพัฒนานำตัว Digital เข้ามาเพื่อให้ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนในอนาคต และดูแลชุมชนพร้อมกับการทำธุรกิจไปด้วย
- ตอกย้ำแบรนด์ในใจผู้บริโภค กับคนทุกกลุ่ม ทุกวัย ผู้พิการหรือผู้ทุพพลภาพ
Café Amazon ที่ถึงแม้ว่าร้านจะเป็นทางยกระดับขึ้นไป แต่ก็ยังมีทางลาดสำหรับ Wheelchair
สังคมในอนาคตไม่ใช่แค่ผู้พิการอย่างเดียว แต่รวมถึงผู้สูงอายุด้วย และสังคมในอนาคตประเทศไทยจะเข้าสู่ Aging Society มากขึ้น
เราจึงออกแบบสิ่งเหล่านี้เพื่อรองรับไว้ เรามีการทำงานร่วมกับการท่องเที่ยว เนื่องจากในบางครั้งผู้ที่ใช้ Wheelchair ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีปัญหาทางด้านร่ากายหรือผู้สูงอายุ ในเวลาที่พวกเขาเดินทาง ถึงแม้ว่าปลายทางอาจจะมีสถานที่ที่รองรับ แต่ในระหว่างเดินทางอาจจะมีปัญหาพอสมควร เพราะฉะนั้นเราออกแบบสถานีบริการน้ำมันให้เป็นสถานที่แวะพักสำหรับผู้ใช้บริการทุกสภาพร่างกาย
- โครงการ “ไทยเด็ด”
เราจะเข้าไปดูว่าวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตผลิตภัณฑ์ที่ดี เราจะเข้าไปช่วยพัฒนาเรื่องบรรจุภัณฑ์ กระบวนการผลิต เราจะเข้าไปช่วยทำแบรนด์ให้ และขายผ่านเรา เพราะฉะนั้นเราจะมีการจัดสินค้าที่เราได้พัฒนาในโครงการ “ไทยเด็ด” นำมาโชว์ และเชิญตัวแทนรายใหญ่ของสถานีบริการน้ำมันของเราทั่วประเทศมาดู เพื่อที่จะสามารถเลือกสินค้าเพื่อที่จะนำไปขายในพื้นที่ของตนเอง
- Café Amazon ที่เต็มไปด้วยโอกาส
ปัจจุบันเรามีจำนวนสาขาทั้งหมดกว่า 3,300 สาขา โดยอยู่ในประเทศ 3,100 สาขา และต่างประเทศอีก 200 สาขา มีแผนที่จะขยายสาขาในประเทศปีละประมาณ 400 แห่ง
หากเราพูดถึงตลาดของกาแฟนั้น คนไทยบริโภคกาแฟประมาณ 1 กก.ต่อคนต่อปี เปรียบเทียบกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่บริโภคประมาณ 1.4 กก.ต่อคนต่อปี ประเทศกัมพูชาประมาณ 1.2 กก.ต่อคนต่อปี
หากเรานำตัวเลขตัวนี้มาคำนวณกับประชากรไทย 70 ล้านคน จะทำให้เห็นว่าตลาดกาแฟจะยังเติบโตได้อีกมากและคำถามที่ว่าการขยายสาขาเยอะจะเป็นการแย่งตลาดเดิมอยู่หรือเปล่านั้น คำตอบคือ “ไม่ใช่ไ เพราะจริงๆ เป็นตลาดกาแฟของประเทศเราที่มันเติบโตขึ้นมากและก็ยังสามารถโตขึ้นได้อีก
ส่วนธุรกิจ Non-Oil อื่นๆ ในธุรกิจการจัดการพื้นที่ ถ้าเราทำสถานีบริการน้ำมันเป็น PTT Living Community แล้ว เมื่อคนเข้ามาใช้บริการแล้วก็จะเกิดการใช้จ่าย จากตอนแรกอาจจะเพียงแค่อยากช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเดียว แต่เมื่อเข้ามาแล้วเห็นร้านกาแฟ ร้านอาหาร เห็นร้านสะดวกซื้อ เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จะช่วยเอื้อให้เกิดธุรกิจที่ต่อเนื่อง…