05 สิงหาคม 2563
1,162

GPSC “ซื้อ” โอกาสแห่งอนาคต

GPSC “ซื้อ” โอกาสแห่งอนาคต หลังจากออกมาเสนอขายหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือกรีนบอนด์ (Green Bond) ซึ่งได้ออกและเสนอขายเป็นครั้งแรก หุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของ GPSC ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ AA- จาก บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เป็นหุ้นกู้ประเภท

ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน มูลค่าของหุ้นกู้ที่จะเสนอขายรวม 5,000 ล้านบาท

เสนอให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่

หุ้นกู้ชุดนี้แบ่งเป็น 3 ชุด คือ
– หุ้นกู้ชุดที่ 1 อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.11%
– หุ้นกู้ชุดที่ 2 อายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.94%
– หุ้นกู้ชุดที่ 3 อายุ 15 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.24%

นำเงินจากการระดมทุนไปใช้ในโครงการพลังงานหมุนเวียน ได้แก่
– โครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
– โครงการบริหารจัดการขยะครบวงจร (Waste-to-Energy)

ภายใต้กรอบการจัดหาเงินทุนเพื่อโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Finance Framework) ของบริษัทฯ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่มีการระดมทุนเพื่อใช้ในโครงการบริหารจัดการขยะครบวงจร

จากสำรวจความต้องการของนักลงทุน (Book Building) พบว่ามีความต้องการจองซื้อกว่า 30,000 ล้านบาท สูงกว่ามูลค่าที่เสนอขาย 5,000 ล้านบาท ถึง 6 เท่า!! …สะท้อนความเชื่อมั่นได้เป็นอย่างดี

การลงทุนใน GPSC เป็นการซื้ออนาคตระยะยาวแม้ช่วงสั้นแนวโน้มอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยแวดล้อมบ้าง แต่หากมองยาวๆ นี่ถือเป็นหุ้นโรงไฟฟ้าในเครือ PTT ที่อนาคตดีและมีแนวโน้มเติบโต

ผลประกอบการ Q2/63 ที่กำลังจะมาถึง?

บล.ฟินันเซีย ไซรัส คาดว่า ผลกำไรสุทธิ ของ GPSC จะค่อยๆฟื้นตัวในไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไปเทียบจากผลประกอบการในไตรมาส 1 ที่อ่อนแอจากผลกระทบปีโควิด-19 และหลายปัจจัย

โดยได้แรงหนุนผลประกอบการให้ฟื้นตัวนั้น มาจาก

1. การพลิกฟื้นของโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี (XPCL) ที่มีสัดส่วน 25% เนื่องจากระดับน้ำที่สูงขึ้น (ภัยแล้งคลี่คลาย) ทำให้ส่วนแบ่งรายได้ปรับตัวดีขึ้น

2. ผู้ใช้อุตสาหกรรม จำกัด (IU) ที่กระจายความหลากหลายในกลุ่มของผู้ใช้อุตสาหกรรม

3. อัตรากำไรขั้นต้นที่สูงขึ้นสำหรับหน่วย IU เนื่องจากค่าใช้จ่ายก๊าซลดลง

GPSC ผู้ชนะและได้ประโยชน์จากต้นทุนก๊าซที่ลดลงใน 3Q20

GPSC จะได้รับประโยชน์หลัก จากต้นทุนก๊าซที่ลดลงใน 3Q20

ค่าใช้จ่ายก๊าซที่ลดลงจะช่วยชดเชยรายได้ขายไฟในนิคมอุตสาหกรรม ที่หายไปบางส่วน

GPSC ปรับแผนเตรียมนำเข้าแอลเอ็นจี LNG โดยอยู่ระหว่างพิจารณายื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) ต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน นับเป็นอัพไซต์ที่น่าสนใจ

ปัจจุบันบริษัทใช้ก๊าซฯ เป็นเชื้อเพลิง เทียบเท่า LNG เกือบ 2 ล้านตัน/ปี และมีโรงไฟฟ้าประเภท SPP ที่ใกล้จะหมดอายุ (SPP Replacement) อีก 7 สัญญา กำลังผลิตรวม 600 เมกะวัตต์ ซึ่งจะเริ่มทยอยเข้าระบบตั้งแต่ปี 2565 ต้องจัดหาเชื้อเพลิงใหม่ ส่วนนี้ 6 สัญญาใช้ก๊าซฯ ส่วนอีก 1 สัญญาเป็นถ่านหิน

ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่มีสาเหตุมาจากโควิด-19 และราคาน้ำมันที่ร่วงลงแรง ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยปรับตัวลดลงสู่ระดับที่หดตัวลง 0.7% YoY (เทียบกับประมาณการเดิมที่คาดว่าจะเติบโต 2-3%) GPSC วางแผนคงอัตราการใช้กำลังการผลิตไว้ที่ 95-100% โดยกำไรจะได้รับการสนับสนุนจากราคาก๊าซและถ่านหินที่ลดลง

กลยุทธ์ 3S เป็นไปตามแผน คาดปีนี้มี synergy กับ GLOW
คาดว่า GPSC จะรายงานกำไรและเงินปันผลเพิ่มขึ้นในปี 63-65

บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ระบุว่า กลยุทธ์การเติบโต (3S) ของ GPSC ยังเป็นไปตามแผนงานเดิม ดังนี้

1. Synergy – ตั้งเป้าหมาย EBITDA จากประโยชน์ของการบริหารร่วมกับ GLOW 400 ล้านบาทในปี 2563

2. Selective – เน้นการขยายงานตามกลุ่ม PTT และเป้าหมายมีสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจาก Renewable 30% (ปัจจุบัน 11%)

3. S-curve – ลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่ และระบบกักเก็บพลังงาน (ESS)

Credit :
ฟินันเซียไซรัส | MCOT | บล.หยวนต้า (ประเทศไทย)
ติดต่อโฆษณา!