07 มกราคม 2565
4,144

เปรียบเทียบความแตกต่างอาการป่วยโควิดสายพันธุ์ต่างๆ

เปรียบเทียบความแตกต่างอาการป่วยโควิดสายพันธุ์ต่างๆ
Highlight :
หลังปีใหม่ได้หนึ่งสัปดาห์พอดี การแพร่ระบาดของโควิด-19 เพิ่มพรวดเกือบสองเท่าจากต้นปี และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีกใน 1-2-สัปดาห์ข้างหน้า  เนื่องจากในช่วงเทศกาลปีใหม่มีการเดินทางข้ามจังหวัด มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรม งานเลี้ยงสังสรรค์ ทำให้การแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีโควิดหลายสายพันธุ์  อาการป่วยในแต่ละสายพันธุ์แตกต่างกันไปบ้าง และปรับเปลี่ยนไปตามเวลา เพราะเขื้อมีการกลายพันธุ์อยู่ตลอด สำหรับเชื้อที่แพร่ระบาดในไทยหลักๆ ในปัจจุบันคือ เดลต้า และ โอมิครอน

ในปัจจุบันนั้นโควิด-19 มีการกลายพันธุ์มากขึ้น สายพันธุ์หลักที่ระบาดในไทยยังคงเป็นเดลต้า ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่อาจเจ็บป่วยรุนแรง โดยเฉพาะในผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน และสายพันธุ์โอมิครอนที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเมื่อเกิดอาการป่วย ก็พอจะประเมินใน้บื้อวต่นได้ว่าน่าจะติดเชื้อจากสายพันธุ์ใด

 

อาการป่วยในแต่ละสายพันธุ์ มีความคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

 

• โควิดสายพันธุ์โอไมครอน

 สายพันธุ์ B.1.1.529 หรือสายพันธุ์โอไมครอน มีรายงานการพบครั้งแรกในทวีปแอฟริกา ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรายงานการพบสายพันธุ์นี้เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564

 อาการโควิดโอมิครอน

 > ไอ เจ็บคอ  มีไข้ อ่อนเพลีย เหงื่อออกมาก รับรู้รส-กลิ่นลดลง มีน้ำมูก หายใจลำบาก ปวดกล้ามเนื้อ

 

• โควิดสายพันธุ์อัลฟา

 สายพันธุ์ B.1.1.7 หรือสายพันธุ์อัลฟา พบที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีการรายงานไปยังองค์การอนามัยโลกครั้งแรกในเดือนกันยายน 2563 โดยสายพันธุ์นี้สามารถกลายพันธุ์ได้ถึง 17 ตำแหน่ง โดยหนึ่งในจุดที่พบการกลายพันธุ์คือโปรตีนส่วนหนามของไวรัส ซึ่งทำให้เชื้อไวรัสจับกับเซลล์ของมนุษย์ได้ดีขึ้น แต่วัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังสามารถต่อต้านสายพันธุ์นี้ไ้ด้

 อาการโควิดอัลฟา

> มีไข้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป  เจ็บคอ   หายใจหอบเหนื่อย ปวดตามร่างกายและศีรษะ  การรับรสหรือการได้รับกลิ่นผิดปกติ

 

• โควิดสายพันธุ์เบตา

 สายพันธุ์ B.1.351 หรือสายพันธุ์เบตา พบครั้งแรกที่แอฟริกา และมีการรายงานไปยังองค์การอนามัยโลกครั้งแรก เมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 เป็นการกลายพันธุ์จากสายพันธุ์ที่พบในประเทศอังกฤษ ซึ่งอาจทำให้มีความสามารถในการหลบหนีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดิมหรือแม้กระทั่งวัคซีนได้

 อาการโควิดเบตา

 > ปวดเมื่อยตามร่างกาย  เจ็บคอ   ท้องเสีย  ปวดศีรษะ   ตาแดง การรับรสหรือการได้รับกลิ่นผิดปกติ   มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี

 

• โควิดสายพันธุ์เดลตา

สายพันธุ์ B.1.617.2 หรือสายพันธุ์เดลตา ถูกพบครั้งแรกในประเทศอินเดีย รายงานไปยังองค์การอนามัยโลกครั้งแรก เมื่อเดือนตุลาคม 2563 สายพันธุ์นี้มีความแตกต่างจากสายพันธุ์อื่น เนื่องจากพบการกลายพันธุ์คู่ ที่อาจทำให้ไวรัสติดต่อได้ง่ายขึ้น หรือหลบระบบป้องกันในร่างกายมนุษย์ได้ดีขึ้น

 อาการโควิดเดลตา

 > ปวดหัว  เจ็บคอ  มีน้ำมูก  เป็นไข้  ไอบ่อย ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส   อาการคล้ายเป็นหวัดธรรมดา

 

ปัจจุบันอาการโควิดเดลตา ในผู้ป่วยจำนวนหนึ่งยังคงมีอาการรุนแรงที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

ส่วนอาการโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน พบอาการไอมากที่สุด รองลงมาคือเจ็บคอ ส่วนอาการได้กลิ่นลดลงนั้นพบน้อยที่สุด อาการโควิดโอมิครอนล่าสุดมีดังนี้

 

อย่างไรก็ตาม โควิดที่แพร่ระบาดอยู่ในไทยขณะนี้หลักๆ ยังคงเป็นสายพันธุ์เดลต้าราว 80% และ โอมิครอนประมาณ 15-20% ซึ่งทั้งสองสายพันธุ์มีอาการที่แตกต่างกันบ้าง และแนวโน้มสายพันธุ์โอมิครอนจะเพิ่มขึ้น

 

โอมิครอนเป็นโควิดกลายพันธุ์ที่พบจุดเริ่มต้นที่ประเทศแอฟริกา แต่ในปัจจุบันได้กลายเป็นโควิดสายพันธุ์หลักในสหรัฐอเมริกาแทนสายพันธุ์เดลตาแล้ว การตรวจสอบโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน และสายพันธุ์เดลตา ยังใช้วิธีการตรวจสอบด้วย PCR และ Antigen Test Kit ได้

 

อาการโควิดโอมิครอนมีข้อบ่งชี้บางอย่างให้ผู้เชี่ยวชาญได้ต้องติดตาม ข้อมูลมาจากบริษัทประกันสุขภาพเอกชนรายใหญ่ของแอฟริกาที่สังเกตเห็นอาการโควิดโอมิครอนที่แตกต่างในผู้ป่วยแอฟริกามีอาการคัน เจ็บคอ คัดจมูก ไอแห้ง ปวดกล้ามเนื้อ และปวดหลังส่วนล่าง แต่อาการเหล่านี้ก็เป็นอาการที่พบในผู้ป่วยเดลตา ซึ่งเร็วเกินไปถ้าจะบอกว่าเป็นความแตกต่างระหว่างอาการโอมิครอนและสายพันธุ์ก่อนหน้า

 

ความแตกต่างระหว่างอาการ “โอมิครอน” และ “เดลตา” ที่มีโอกาสเป็นไปได้มากที่สุด คือการสูญเสียรสชาติและการได้กลิ่น การติดตามอาการโควิดในหลายประเทศพบอาการนี้น้อยลง ยังไม่มีผลยืนยันที่ชัดเจนว่ามาจากการได้รับวัคซีนมาก่อนหรือไม่ เนื่องจากแต่ละบุคคลมีสถานะการรับวัคซีนที่แตกต่างกันออกไป จึงแยกได้ยากว่าเป็นการติดเชื้อเดลตา หรือโอมิครอน

 

ความแตกต่างระหว่าง “โอมิครอน” กับสายพันธุ์อื่น ถึงแม้ว่าอาการโอมิครอนจะใกล้เคียงกับเดลตา แต่ความแตกต่างที่ชัดเจนกับสายพันธุ์อื่นๆ คือระยะฟักตัวที่สั้นกว่า หลังจากบุคคลนั้นรับเชื้อแล้วใช้เวลาเพียง 3 วันก็จะเกิดอาการ และใช้เวลา 4-6 วัน แสดงผลการตรวจเป็นบวก ซึ่งอาจหมายถึงการปรับตัวของเชื้อไวรัสที่เข้าไปในเซลล์ได้เร็วขึ้น

 

ข้อมูลอาการโอมิครอนของผู้ติดเชื้อโควิดในแอฟริกา พบว่ามีอาการรุนแรงจนต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลน้อยกว่าผู้ติดเชื้อสายพันธุ์อื่น แต่การติดเชื้อระยะแรกที่ดูมีอาการน้อยก็อาจจะแปรเป็นอาการรุนแรงในระยะหลังได้

 

เพจไทยรู้สู้โควิด เผยข้อมูลจากแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน และศาสตราจารย์รับเชิญของวิทยาลัยสาธารณสุขสถาบันมิลเคน แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันโอมิครอนว่าแนะนำให้ใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์แทนการสวมหน้ากากผ้า

ติดต่อโฆษณา!