11 เมษายน 2565
1,699

“สุขสงกรานต์ สานประเพณีแบบไม่ประมาทโควิด-19”

Highlight

การเดินทางเคลื่อนย้ายเพื่อฉลองเทศกาลสงกรานต์ ในช่วงที่โอมิครอนกำลังระบาดสร้างความกังวลว่ายอดการติดเชื้อทั่วประเทศจะเพิ่มสูงขึ้นทะลุหลักแสน ศ.พญ.ศศิโสภณ เกียรติบูรณกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี แนะนำข้อปฏิบัติเที่ยวสงกรานต์อย่างปลอดภัยคือ ฉีดวัคซีนอย่างน้อย 3 โดส ไม่ไปสถานที่เสี่ยงช่วง 7 วันก่อนหน้าเดินทาง ควรปฏิบัติตามมาตรการ DMHT ภายหลังการเดินทางตรวจ ATK สำรวจอาการติดเชื้อในระยะ 3-5 วัน


หลังเทศกาลสงกรานต์อาจเห็นยอดการติดเชื้อโควิดสูงขึ้นในกรณีเลวร้ายที่สุดหรือ worst case จะเห็นยอดการติดเชื้อเกินวันละ 100,000 แสนคน

ศ.พญ.ศศิโสภณ เกียรติบูรณกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า สถานการณ์ในปัจจุบันถือว่ายังดีอยู่ เป็นการระบาดของไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน ถึงแม้ว่าจะติดง่าย ติดเร็ว แต่ความรุนแรงไม่มาก ถือว่ายังรับมือได้ เมื่อเทียบกับเดลต้า 

“หลังสถานการณ์สงกรานต์ ในฐานะที่เป็นแพทย์ ก็ต้องคาดการณ์ไปก่อนว่าหากมีการติดเชื้อมากจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เพราะมีการเคลื่อนที่ของคนหมู่มาก มีการจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น เราอาจจะไปใกล้ชิดกัน”  ศ.พญ.ศศิโสภณ กล่าว

ข้อแนะนำเที่ยวสงกรานต์แบบไหนปลอดภัยที่สุด?

1. ทุกคนต้องไปรับวัคซีนไม่ต่ำกว่า 3 โดส

2. ถ้าเราเป็นลูกหลาน พยายามทำตัวเองให้สะอาดปลอดเชื้อ เช่นไม่ไปที่เสี่ยง หรือไปใกล้ชิดคนที่เป็นโควิดในช่วงก่อนหน้าเดินทาง 7 วัน เพราะระยะฟักตัวของโรคโดยเฉลี่ย 3-5 วัน 

3. ควรตรวจ ATK อย่างน้อยหนึ่งครั้งก่อนกลับภูมิลำเนา ในช่วง 24 ชั่วโมงก่อนเดินทาง 

4. ควรปฏิบัติตามมาตรการ DMHT อย่างเคร่งครัด คือ D-เว้นระยะห่าง  M-สวมหน้ากาก  H-ล้างมือบ่อยๆ และ T-วัดอุณหภูมิ -ตรวจ ATK 

ทั้งหมดนี้เป็นมาตรการที่ใช้ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาลแนะนำประชาชนให้ปฎบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อ 

20220411-a-01.jpg

COVID-19 มีโอกาสกลายพันธุ์รุนแรงกว่านี้ไหม?

ไวรัสโควิดมีโอกาสกลายพันธุ์ได้อีก เป็นไปได้ทั้งสองแบบ คืออาจจะรุนแรงขึ้น หรือเบาลงก็ได้  ถ้าเป็นแบบรุนแรง “คนติดปุ๊บ คนตายเร็ว ไม่แพร่เชื้อ ก็จบเร็ว” แต่ถ้ากลายพันธุ์แล้ว “เจ็บป่วยเบาๆหรือไม่หนัก มันก็แพร่ไปเรื่อยๆ” ซึ่งเราต้องติดตามว่าการกลายพันธุ์จะมากหรือน้อย หน้าตาเป็นแบบไหนต้องติดตามต่อไป  ศ.พญ.ศศิโสภณ กล่าว

COVID-19 จะอยู่กับคนไทยตลอดไปหรือไม่?

คาดว่าในที่สุด COVID-19 จะเป็นโรคประจำถิ่นเหมือนไข้หวัดใหญ่ที่ไม่หายไป เราจะต้องอยู่กับมัน และการติดเชื้อจะน้อยลงไปเรื่อยๆ ในอนาคตเรามีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ มียาที่รักษาที่ อย่างน้อยมียาที่รักษาโควิดโดยเฉพาะ 2 ยี่ห้อ นั่นคือยาโมลนูพิราเวียร์ และแพ็กซ์โลวิค และที่มีการนำเข้ามาแล้วในประเทศไทยแล้วหนึ่งยี่ห้อ และอีกหนึ่งยี่ห้อจะนำเข้ามาช่วงสงกรานต์

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็น COVID-19 รุนแรงคือกลุ่มใดบ้าง? 

แม้ว่าโอมิครอนจะดูเป็นสายพันธุ์ไม่รุนแรง แต่ติดง่าย ละติดเร็ว ทำให้ดูเหมือนว่าจำนวนติดเยอะ พอมีจำนวนติดมาก สัดส่วนคนที่รุนแรงก็เยอะตาม และส่วนใหเป็นคน 608 ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้สูงอายุ, ผู้อยู่ใน 7 กลุ่มโรคร้าย, และผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนและวัคซีนเข็มกระตุ้น

ปัจจุบันมีผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับวัคซีนเข็มแรกนับล้านคน และมีกลุ่มที่ไม่ได้รับเข็มกระตุ้น ซึ่งควรได้รับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็มที่จะทำให้ ทำให้ไม่เจ็บป่วยรุนแรง หรือเสียชีวิต

20220411-a-02.jpg

หลังสงกรานต์ทำอย่างไร? ต้องตรวจ ATK ตอนไหน?

หลังช่วงสงกรานต์เราต้องปฏิบัติตัวอย่างไรนั้น เราต้องประเมินตัวเอง 2-3 กรณีว่ามีความเสี่ยงสูง หรือ ความเสี่ยงต่ำ 

กรณีเสี่ยงสูง เช่นกรณี อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยใกล้กว่า 2 เมตรและไม่ใส่หน้ากากอนามัย 

กรณีอยู่ในที่อากาศแออัดกับผู้ติดเชื้อ และไม่สวมหน้ากากอนามัย เช่น ผับ บาร์ รถปรับอากาศ รถตู้ ถ้าใส่หน้ากากอนามัยหมดทุกคนจะเป็นเสี่ยงต่ำทันที แม้จะอยู่ในสถานที่เสี่ยงเหล่านั้น

ดังนั้นประเมินตัวเองว่าเราอยู่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนในช่วงสงกรานต์ จากนั้นเฝ้าสังเกตอาการ เช่นมีไข้ ไอ เจ็บคอ หรือไม่

หากไม่มีอาการ ให้เฝ้าระวังระยะฟักตัวของเชื้อและตรวจหาเชื้อ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 5-6 และครั้งที่ 2 วันที่ 10 หากมีอาการแนะนำให้ตรวจเชื้อทันที

ระยะฟักตัวโอมิครอน 3-5 วัน ดังนั้นเราสังเกตุอาการตามระยะเวลาฟักตัวของเชื้อ

20220411-a-03.jpg

ถ้าเป็น COVID-19 ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร?

ถ้าตรวจ ATK เจอขึ้น 2 ขีดหรือเป็นผลเป็น “บวก”ให้ตั้งสติก่อน บางทีอาจเป็นผลบวก “ปลอม” สังเกตว่า ถ้ามีอาการไข้ ปวดเมื่อย ไอ จาม ก็อาจป่วยจริง ดังนั้นถ้าหากผลตรวจเป็นบวก ก็ให้เช็ค  ATK ซ้ำต่างยี่ห้อกันเพื่อดูผลอีกครั้ง  

ปัจจุบันถ้าตรวจพบเชื้อ แล้วมีอาการน้อยไม่ต้องไม่ต้องเข้าโรงโรงพยาบาล ติดต่อส่วนกลาง 1330 ส่วนใหญ่ ในช่วงนี้ผู้ติดเชื้อเป็นโอมิครอนทั้งหมด ส่วนใหญ่จะไปติดต่อที่แผนกผู้ป่วยนอก เป็นการรักษาแบบ “เจอ-แจก-จบ” 

ดังนั้นหากเจอติดเชื้อแล้ว โทรสายด่วน 1330 เจ้าหน้าที่จะส่งยามาให้ และโทรติดตามอาการภายใน 48 ชั่วโมง 

ส่วนการรักษาแบบ Home Isolation ซึ่งเป็นการรักษาแบบก่อนหน้านี้ ในช่วงที่เดลต้าระบาด เจ้าหน้าที่จะโทรติดตามอาการผู้ป่วยทุกวัน ซึ่งปัจจุบันทั้ง Home Isolation ทำน้อยลงแล้ว

และแบบ Hospitel มีน้อยลงมาก เพราะเชื้อไม่รุนแรงเหมือนแต่ก่อน ทั้งนี้รูปแบบการรักษาแบบ Hospital นั้นคล้ายกับว่าเป็นการยกโรงพยาบาลไปไว้ที่โรมแรม มีการยกเครื่องมือทางการแพทย์ไป เครื่องช่วยหายใจไปรักษาโรงแรม จึงแทบไม่จำเป็นในปัจจุบัน

การรักษาแบบ Hotel Isolation สำหรับผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีคนจำนวนมาก ไม่สามารถแยกกักตัวได้ จะใช้สำหรับเคสที่จำเป็นจริงๆ 

ถ้าติดเชื้อแล้วกินยารักษาทันทีได้หรือไม่?

ถ้าไม่มีอาการติดเชื้อ และไม่อยู่ใน 7 กลุ่มเสี่ยง ไม่ต้องทำะไรก็ได้ หรืออาจจะใช้ฟ้าทะลายโจร  

หรือกรณีผู้ป่วยมีอาการและอยู่กลุ่ม 7 โรคเสี่ยง ส่วนใหญ่ต้องรับยาฟาวิพิราเวียร์ หรือยาอีกยี่ห้อหนึ่งที่เข้ามา หรือกรณีเชื้อลงปอด แพทย์จะพิจารณาว่าใช้ยาอะไรดี

ติดต่อโฆษณา!