องค์การอนามัยโลกพบโรคฝีดาษลิงระบาดเพิ่มขึ้น 20% หวั่นเชื้อกลายพันธุ์ข้ามสปีชีส์หลังติดสุนัข
Highlight
องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยโรคฝีดาษลิงยังคงแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง โดยยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 20% หรือเกือบ 7,500 รายเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมปรับสู่ 35,000 รายใน 92 ประเทศทั่วโลก โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ติดเชื้อในยุโรปและอเมริกา ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 12 ราย ในไทยยังอยู่ที่ 5 ราย แต่การแพร่เชื้อไปยังสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข อาจทำให้เชื้อโรคพัฒนาข้ามสปีชีส์ ซึ่งยากต่อการรักษาผู้ป่วยในอนาคต อย่างไรก็ตามกรมควบคุมโรคระบุฝีดาษลิงติดต่อไม่ง่ายด้าน ดร. ไมค์ ไรอัน ผู้อำนวยการโครงการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข มองว่า กรณีเช่นนี้ “อยู่ในการคาดการณ์อยู่แล้ว”“แต่เราไม่อยากเห็นไวรัสเคลื่อนย้ายจากสปีชีส์หนึ่ง ไปยังอีกสปีชีส์หนึ่ง…เพราะนั่นหมายถึงว่าไวรัสกำลังปรับตัว และการปรับตัวให้เข้ากับสปีชีส์ใหม่ ไวรัสก็มีแนวโน้มที่จะวิวัฒนาการ”
ดร. ซิลวี ไบรแอนด์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเตรียมความพร้อมโรคระบาดโลกขององค์การอนามัยโลก เสริมว่า “นี่เป็นครั้งแรกที่สุนัขติดเชื้อได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า สุนัขจะแพร่เชื้อไปยังสุนัขตัวอื่นได้ หรือทำให้มนุษย์ติดเชื้อ”
“แต่เราไม่อยากเห็นไวรัสเคลื่อนย้ายจากสปีชีส์หนึ่ง ไปยังอีกสปีชีส์หนึ่ง…เพราะนั่นหมายถึงว่าไวรัสกำลังปรับตัว และการปรับตัวให้เข้ากับสปีชีส์ใหม่ ไวรัสก็มีแนวโน้มที่จะวิวัฒนาการ”
ดร. ซิลวี ไบรแอนด์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเตรียมความพร้อมโรคระบาดโลกขององค์การอนามัยโลก เสริมว่า “นี่เป็นครั้งแรกที่สุนัขติดเชื้อได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า สุนัขจะแพร่เชื้อไปยังสุนัขตัวอื่นได้ หรือทำให้มนุษย์ติดเชื้อ”
จนถึงตอนนี้ พบผู้ติดเชื้อฝีดาษวานรแล้วราว 35,000 คนทั่วโลก ส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 12 ราย ทำให้เมื่อเดือน ก.ค. องค์การอนามัยโลกประกาศให้ฝีดาษวานรเป็นภาวะฉุกเฉินโลก
สำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักรระบุว่า หลังการติดเชื้อฝีดาษวานรพุ่งสูงในช่วงเดือน พ.ค. ตอนนี้ อัตราการติดเชื้อเริ่มลดลงแล้ว ซึ่งถือเป็นช่วงเดียวกับที่วัคซีนต้านฝีดาษวานรใกล้จะหมด โดยวัคซีนล็อตใหม่จะมาถึงในเดือน ก.ย.
ยอดติดเชื้อในไทยยังอยู่ที่ 5 ราย
สำหรับการแพร่ระบาดโรคฝีดาษลิงใน ระเทศไทยนั้น ยังคงพบผู้ติดเชื้อติดเชื้อยืนยันที่ 5 ราย โดยรายล่าสุดเป็นหญิงไทยที่กลับจากนครดูไบ ประเทศยูเออี โดยเดินทางเข้ามาไทยทางอากาศในวันที่ 14 ส.ค.
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่าผู้ติดเชื้อรายที่ 5 ถือเป็นการติดเชื้อจากต่างประเทศ เพราะมีอาการตั้งแต่อยู่ที่ต่างประเทศและกลับมาไทย รายนี้ติดตามผู้สัมผัสมีน้อย เนื่องจากเพิ่งเดินทางเข้ามา
“อย่างไรก็ตามเราติดตามคนที่นั่งบนเครื่องบินใกล้กัน 2 ราย ซึ่งเป็นชาวต่างชาติทั้งคู่ เพื่อแนะนำให้มาตรวจต่อไป ทั้งนี้ยืนยันว่าโรคฝีดาษลิงติดต่อไม่ง่าย” นพ.โอภาสกล่าว
นพ.โอกาสกล่าวว่า ผู้เสียชีวิตมักเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง หรืออาการป่วยร้ายแรงอื่นอยู่ก่อนแล้ว อาทิ สมองอักเสบ และโรคมะเร็ง เป็นต้น
ทั้งนี้องค์การอนามัยโลก แนะนำว่ายังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนฝีดาษลิงให้กับประชาชนในวงกว้าง แต่อาจฉีดในกลุ่มเสี่ยง เช่น บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วย หรือเจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการตรวจเชื้อ ซึ่งกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้มีโอกาสสัมผัสเชื้อได้มากกว่าคนทั่วไป
“โรคฝีดาษลิงไม่ใช่โรคที่ติดต่อง่าย ต้องสัมผัสใกล้ชิด หลีกเลี่ยงมีเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยงหรือคู่นอนที่ไม่รู้จัก กลุ่มชายรักชายเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุด โดยมีจุดสัมผัสเสี่ยงสูงของโรคนี้ จะอยู่ที่ตุ่มฝี ตุ่มหนอง และที่ผิวหนัง” นพ.โอภาสกล่าว
อ้างอิง : BBC, กระทรวงสาธารณสุข