16 ตุลาคม 2565
1,379

รู้ทันโรคกระเพาะ โรคยอดฮิตคนเมือง

Highlight

โรคกระเพาะ เป็นอีกโรคหนึ่งที่มักจะพูดถึงกันอยู่บ่อยๆ และเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาอาหารการกิน การใช้ชีวิตประจำวันของคนเมือง คนวัยทำงาน ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เมื่อเป็นโรคกระเพาะหลายคนเป็นๆหายๆ บางคนกังวลอาจลุกลามเป็นความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ถ้าหากมีการตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter palori ร่วมด้วย ดังนั้นควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดอาหารมัน คุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน ก็จะช่วยป้องกันได้หลายโรค


รู้ทันโรคกระเพาะ โรคฮิตของคนเมือง อาการแบบไหนที่ไม่ควรชะล่าใจ ป้องกันได้ด้วยตัวเรา โรคกระเพาะโดยทั่วไปเป็นๆ หายๆ กว่า 80% มารู้จัก..อาการโรคกระเพาะ วิธีป้องกันและการดูรักษา จากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญสองท่าน อ.พญ. ศุภมาส เชิญอักษร ภาควิชาอายุรศาสตร์ สาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ และ อ. นพ.ธเนศ แก่นสาร ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว

20221016-a-01.jpg

อาการต้องสงสัยว่าจะเป็นโรคกระเพาะอาหาร

กลุ่มอาการที่สงสัยว่าจะมีปัญหากับระบบกระเพาะอาหารส่วนบน คือกระเพาะกับลำไส้เล็กส่วนต้น หมอจะดูและวินิจฉัยและแยกคนไข้ออกมา เช่น เป็นแผลในกระเพาะอาหาร นิ่วในถุงน้ำดี หรือเป็นตับอ่อนที่มีปัญหา ถ้าตรวจแล้วไม่เจออาการโรคเหล่านี้จึงจะบอกว่าเป็นโรคกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นๆหายๆ โดยโรคกระเพาะมักจะมีอาการไม่สุขสบายท้อง ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ แสบร้อน จุก เสียดแน่น อืด เรอ หรือคลื่นไส้  

20221016-a-02.jpg

อาการแบบไหน อาจอาการเป็นแผลในกระเพาะอาหาร

อาหารปวดแสบปวดร้อนในกระเพาะอาหาร ตำแหน่งระหว่างหน้าอกและสะดือ อาจปวดเมื่อท้องว่าง หรือเวลาใดก็ได้ ปวดท้องมากหลังรับประทานอาหารสเผ็ดจัด อาการปวดมักเป็นๆ หายๆ อาการไม่ย่อย เหล่านี้อาจเป็นแผลในกระเพาะอาหาร

สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยงโรคกระเพาะ

กินอาหารในปริมาณมากเกินไป เครื่องดื่มบางชนิด กินอาหารมันมากเกินไป กินไม่ตรงเวลา หรือปัจจัยอื่น เช่น ติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter palori (ต้องรับการรักษา หากปล่อยไว้อาจเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้) สูบบุหรี่ ใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด เครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ดื่มแอลกอฮอล์

20221016-a-03.jpg

การป้องกันการเป็นโรคกระเพาะ

กินอาหารชนิดใดแล้วมีอาการควรต้องเลี่ยง แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน เช่น ถ้ากินกินเผ็ดแล้วปวดท้อง หรือกินน้ำอัดลมแล้วปวดก็ควรงด หรือกินน้อยๆ  ถ้าน้ำหนักเกิน ต้องลดน้ำหนัก ทานอาหารแต่พอดี อย่าทานมากจนเกินไป เพราะจะทำให้การขยายตัวของกระเพาะมีปัญหา ทำให้อิ่มนาน ไม่ย่อย ดังนั้นควรแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ จะดีกว่า กินอาหารที่มีกากไย ระวังยาบางชนิดที่มีฤทธิ์กัดกระเพาะอาหาร ดื่มน้ำให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นต้น

วิธีการรักษา

เมื่อปวดท้อง ควรพบหมอ เพื่อวินิจฉัยโรค หากเป็นโรคกระเพาะหมอจะจัดยาให้ทาน อาจมีการส่องกล้องเมื่อมีสัญญาณว่าเป็นโรคกระเพาะหรือไม่ตอบสนองต่อยาที่จัดไปให้ทาน หากเครียดน้ำย่อยจะหลั่งออกเยอะ หรือที่เรียกว่าเครียดลงกระเพาะ เมื่อส่องกล้องแล้วไม่พบอะไร คนไข้อาจคลายกังวล

อย่างไรก็ตามการส่องกล้องสามารถนำชิ้นเนื้อออกมาตรวจเชื้อแบคทีเรียที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในกระเพาะได้ด้วย หรือถ้าไม่ส่องกล้อง อาจใช้วิธีอื่นเพื่อตรวจได้ เช่น  เป่าลมหายใจ  ตรวจอุจจาระ หรือตรวจเลือด แต่ตรวจเลือดผลจะไม่ชัดเจนเจน เท่าส่องกล้อง หรือตรวจอุจจาระ  ซึ่งวิธีการตรวจอุจจาระเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

แสบลิ้น แสบร้อนที่คอ หมอบอกเป็นกรดไหลย้อน กินยาไม่หาย

อาจจะเกิดจากหูรูดหลอดอาหารหย่อน อาจแสบร้อนที่คอ แต่ถ้าให้ยาแล้วไม่ตอบสนองอาจจะไม่ใช่โรคนี้ หรือถ้าตอบสนองอาจจะใช่หรือไม่ใช่ก็ได้ กรณีที่ไม่ตอบสนองต้องกลับมาพบหมอเพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติมว่าเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารหรือไม่ หรืออาจจะต้องส่องกล้อง ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ

ทานอาหารมันๆ เสี่ยงเป็นโรคกระเพาะหรือไม่

การทานอาหารมัน ทำให้อ้วน เสี่ยงเป็นโรคกระเพาะได้ อาหารมันจะเคลื่อนตัวช้า และจะค้างอยู่ที่กระเพาะได้นาน คนที่กินอาหารมันจะมีอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด อิ่มเร็ว อิ่มนาน กระตุ้นนิ่วในถุงน้ำดี ถุงน้ำดีบีบตัว อาการจากนิ่วแยกได้ชัดเจนจากโรคกระเพาะทั่วไป จะปวดชัดเจน  ดังนั้นการกินอาหารมันอาจทำให้กระตุ้นโรคกระเพาะได้ หรืออาจจะกระตุ้นโรคอื่นที่คล้ายโรคกระเพาะก็ได้เช่นกัน

อายุ 58 ปี หนัก 60 กิโลกรัม สูง 160 เซ็นติเมตร ปวดท้อง ร้อนท้อง มา 3-4 วัน กลิ่นปากแรง แบบนี้เป็นอะไร ควรปฏิบัติตนอย่างไร

ต้องดูว่าเป็นมานานหรือยัง หรือเป็นในช่วงสั้นๆ ส่วนใหญ่ให้ยาลดกรด หรือปรับพฤติกรรมการกิน ซึ่งคนไข้ต้องมีวินัยในการกินยาก่อนอาหารเช้า การเป็นกรดไหลย้อน ก่อนอาการต้องกินยาสม่ำเสมอ

อาการท้องผูกไม่ขับถ่าย 3-4 วันมีความเสี่ยงอะไรหรือไม่

โดยปกติท้องผูกจะทำให้ไม่สบายท้อง อาจต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน บางคนกังวลกลัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ถ้าหากอาการท้องเสีย สลับท้องผูก ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่ใช่ก็ได้ อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่มักไม่มีอาการชัด อาจต้องดูไปก่อน

การนอนไม่หลับของผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร

เมื่ออายุมากขึ้น การนอนหลับยากขึ้นแต่ไม่ใช่ทุกคน ก่อนนอนหากดื่มน้ำจะช่วยให้นอนหลับดีขึ้น บางคนตื่นแล้วหลับยาก ยาบางตัวอาจมีสาเหตุที่ทำให้การนอนมีปัญหา ซึ่งต้องดูสาเหตุเกิดจากอะไร

การนอนควรหลับ 6-8 ชั่วโมงถึงจะดี การนอนเร็ว ช่วงกลางคืนร่างกายมีการหลั่งสารบางอย่าง การนอนไม่ดีก็อาจจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว

ผู้สูงอายุหากน้ำหนักเกินก็อาจต้องลดน้ำหนักช่วย หรือใช้เครื่องช่วยหายใจ การหยุดหายใจขณะหลับเพราะว่าออกซิเจนต่ำลง เมื่อร่างกายต่อสู้กับภาวะนี้ก็จะตื่นมาหายใจเฮือกใหญ่ เพื่อรับออกซิเจน การที่ร่างกายได้รับออกซิเจนที่ต่ำลงเรื่อยๆ ส่งผลต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ ทำให้ความดันหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจสูงขึ้น มีโอกาสเส้นเลือดหัวใจตีบ  ความดันสูงขึ้นมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจได้

ติดต่อโฆษณา!