โรคกรดไหลย้อน อย่ากินแล้วนอนจำให้ขึ้นใจ
Highlight
โรคกรดไหลย้อน เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ส่วนหนึ่งก็มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน โรคกรดไหลย้อนก็เช่นเดียวกัน สาเหตุส่งนหนึ่งมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ กินเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด กินแล้วนอนทันที เหล่านี้อาจเป็นสาเหตุทำให้หูรูดหลอดอาหารหย่อน เกิดกรดไหลย้อนได้ง่าย มีอาการเรอ เปรี้ยว ขม ดังนั้นไม่ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดอาการเหล่านี้ รวมทั้งการลดน้ำหนัก กรดไหลย้อนป้องกันและรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
โรคกรดไหลย้อน “ป้องกันและรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม” ซึ่งโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ส่วนหนึ่งก็มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน และหนึ่งในนั้นก็คือ “โรคกรดไหลย้อน” ในปัจจุบันเราจะได้ยินผู้คนพูดถึงเรื่องโรคนี้กันบ่อยมากขึ้น ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะ โรคกรดไหลย้อน เป็นโรคหนึ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามาก และไม่ว่าใครก็สามารถเป็นโรคนี้ได้ อ.พญ.ศุภมาส เชิญอักษร ภาควิชาอายุรศาสตร์ สาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ และ ผศ.พญ.ศิริสุชา โศภนคณาภรณ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีคำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอย่างถูวิธี เพื่อลดปัญหากรดไหลย้อน และการดูแลรักษา ก่อนเกิดปัญหาเรื้อรัง
วิธีสังเกตอาการเบื้องต้นสำหรับโรคกรดไหลย้อน มีวิธีเช็คอย่างไรบ้าง
กรดหรือน้ำย่อยในหลอดอาหาร มันไหลย้อนขึ้นไปที่หยอดอาหารทำให้ มีอาการรบกวน หรือมีภาวะแทรกซ้อน อาการคือมีแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว เรอขม ให้สงสัยส่าเป็นกรดไหลย้อน นอกจากนี้ยังมีอาการนอกหลอดอาหาร เช่น ไอเรื้อรัง เสียงแหบ จุกที่คือ ฟันผุ หลังรักษากรดไหลย้อนฟันผุก็ดีขึ้น แน่นหน้าอก ซึ่งต้องประเมินแล้วว่าไม่ได้เป็นโรคหัวใจ สัญญาณที่บ่งบอกว่า จะต้องพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค เช่น กลืนลำบาก อาเจียร น้ำหนักลด ซึ่งอาจะเป็นสาเหตุของโรคอื่นได้
พฤติกรรมแบบไหนที่ เสี่ยงต่อการเป็นโรคกรดไหลย้อน
สิ่งที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อนมาจากหลายเหตุ เช่น การทำงานของหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายทำงานไม่ดี เปิดอยู่ตลอดเวลา หรือมีกระเปาะอยู่ทำให้น้ำย่อยไปขังอยู่ การบีบตัวของหลอดอาหารผิดปกติ หรือมีโรคบางอย่างทำให้น้ำลายแห้ง น้ำลายเป็นด่าง สามารถไหลย้อนลงกระเพาะไปได้
ขั้นตอนดูแลตัวเองไม่ให้เป็นโรคกรดไหลย้อน มีอะไรบ้าง
สิ่งที่ควรทำคือ
กินอาหารตรงเวลา กินอาหารครบห้าหมู่ เคี้ยวอาหารให้ละเอียด กินน้อย ๆ แบ่งมื้อกิน ลดน้ำหนัก ทำกิจกรรมคลายเครียด พักผ่อนเพียงพอ
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
รับประทานอาหารในปริมาณที่มากจนเกินไป กินอาหารที่มีไขมันสูง เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง ดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายหลังกินข้าวทันที สูบบุหรี่ นอนทันทีหลังกินข้าวเสร็จ อาหารเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด เพราะทำให้หูรูดหลอดอาหารส่วนบนหย่อน ถ้ามีอาการเกิดขึ้นบ่อยจนรบกวนการใช้ชีวิต มีอาการอักเสบของหลอดอาหาร ก็อาจต้องพบแพทย์
วิธีดูแลรักษาตัวเองเมื่อเป็นโรคกรดไหลย้อน
การดูแลรักษากรดไหลย้อน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เช่นหากกินอะไรแล้วส่งผลต่ออาการกรดไหลย้อนก็พยายามหลีกเลี่ยง หรือการลดน้ำหนัก เพื่อลดความดันในช่องท้องและหลอดอาหาร แบ่งมื้อใหญ่ เป็นมื้อเล็กๆ ไม่ควรกินแล้วนอนทันที หรือกินเสร็จนั่งเอนอยู่ในท่านอน อย่างน้อยควรทิ้งระยะ 2-3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน ถ้ามีอาการกรดไหลย้อนก็ควรนอนยกเตียงด้านศรีษะสูงในตอนกลางคืน
สำหรับเด็กแรกเกิด ก็อาจเกิดอาการกรดไหลย้อนได้ 2-3 วันต่อครั้ง เกิดอาการสำรอกออกมา แต่ถ้าเกิดทุกครั้งหลังดื่มนมก็อาจจะเป็นอาการผิดปกติได้ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการทางเดินอาหาร เด็กบางคนอาจจะเลี้ยงไม่โตหรือน้ำหนักไม่ขึ้น เนื่องจากอาเจียรบ่อยเกินไป
การดูแลรักษาทางการแพทย์หลังเป็นกรดไหลย้อน
การเป็นกรดไหลย้อนที่รุนแรงอาจเกิดมะเร็งที่หลอดอาหารส่วนปลายได้ ซึ่งคนไข้มักจะกลัวว่า เป็นซ้ำๆ อาจจะเป็นโรคร้ายแรงได้ ในต่างประเทศพบเป็นกรดไหลย้อนกลายเป็นมะเร็งได้ประมาณ 15% แต่คนไทยสถิติเกิดขึ้นน้อย ส่วนหนึ่งมาจากคนไทยอ้วนน้อยกว่า พบน้อยกว่า 1% ส่วนใหญ่ที่เจอจะพบในหลอดอาหารส่วนต้น ซึ่งสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่มากกว่า อย่างไรก็ตามพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่มีอาการพอสมควรที่แพทย์ต้องให้การรักษา
ภาวะหอบหืดในเด็ก รักษาหายหรือไม่
หอบหืดในเด็กเล็กต้องหลีกเลี่ยง สิ่งกระตุ้นสิ่งเร้า บางครั้งรักษาหายแล้วกลับมาเป็นซ้ำได้ เช่น รับฝุ่น PM2.5 ควันบุหรี่ เชื้อราที่เกาะในเครื่องทำความเย็น ขนสัตว์ ทำมก้มีหลายอาการรบกวนสุขภาพ เช่น ไอ หอบหืด หรือมีอาหารผดผื่นตามผิวหนัง
คนที่รับประทานอาหารแล้วอาเจียนบ่อยมีผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร
อาจจะเป็นได้ทั้งโรคทางกาย และโรคทางใจ การอาเจียร อาจทำให้หลอดอาหารอักเสบได้ สาเหตุการอาเจียรอาจมาจากหูรูดหลอดอาหารหย่อน ถ้าน้ำหนักลดมากๆ ก็อาจขาดสารอาหารได้ โรคทางใจ คือมีอาการเบื่ออาหาร
อาการกระเพาะอาหารอักเสบเกิดจากอะไร และวิธีการรักษา
การกินยาลดกรดในกระเพาะนานๆ อาจจะส่งผลให้เกิดแผลหรือติ่งเนื้อที่กระเพาะอาหารได้ ท้องอืดอาหารไม่ย่อย หรืออาหารบีบตัวของกระเพาะอาหาร ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่สร้างแก๊สเยอะ หากติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร ก็อาจอันตรายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้
การส่องกล้อง มีความเสี่ยงหรือไม่
หากมีความเสี่ยงเรื่องภาวะการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ท้องผูกมานานมีแผล การถ่ายเป็นเลือด ก็ควรส่องกล้อง หรืออยู่ที่ดุลพินิจของหมอว่าควรส่องกล้องหรือไม่
ยาลดกรด ทำให้กระดูกพรุนหรือไม่
หากกินยาลดกรดอยู่เป็นประจำ อาจทำให้ร่างกายไม่ดูดซึมเกลือแร่บางชนิดที่สร้างมวลกระดูก ทำให้กระดูกพรุนหรือกระดูกบางได้ แต่ต้องดูว่าการทานยาลดกรดในกระเพาะช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือไม่ การเกิดแผลในกระเพาะมีอันตราย หากไม่รักษา ซึ่งต้องดูว่ามีบ่งชี้ว่าต้องใช้ยาชนิดนี้หรือไม่
เด็กไม่ควรดูทีวีเพราะอะไร
จะทำให้สมาธิสั้น เพราะภาพเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทำให้ไม่มีสมาธิ และทำให้พูดช้ากว่าปกติ เพราะเด็กจะรับฟังสารเพียงอย่างเดียวไม่มีปฏิสัมพันธ์ เด็กติดทีวีจะพูดไม่ได้ ดังนั้นอายุต่ำกว่า 2 ปีไม่ควรให้ดูทีวี หรือเมื่ออายุเกิน 2 ขวบแล้ว หากจะให้เด็กดูทีวี หรือคอมพิวเตอร์ พ่อแม่ควรอยู่ด้วย และควรให้คำแนะนำ ในลักษณะ Interactive เพราะหากปล่อยให้เด็กอยู่กับจอภาพเคลื่อนไหวนานๆ จะทำให้มีพัฒนาการช้า
เด็กเล็กเดินทางด้วยเครื่องบินต้องเตรียมตัวอย่างไร
พ่อแม่ไม่ควรนำเด็กเล็กๆ เดินทางไกลเกิน 6 ชั่วโมงโดยไม่จำเป็น ปกติอายุ เกิน 6 เดือนสามารถขึ้นเครื่องบินได้ โดยต้องระวังช่วงที่เครื่องบินกำลังบินขึ้นเพราะอาจจะมีปัญหาเรื่องของความดันอากาศ และแนะนำว่าไม่ควรให้เด็กนอนก่อนขึ้นเครื่อง เพราะอาจจะทำให้เด็กไม่หลับและงอแงรบกวนผู้โดยสารอื่น ควรนำของเล่นขึ้นเครื่องไปด้วยเพื่อให้เด็กผ่อนคลายและไม่เบื่อในการนั่งในเครื่องบินเป็นเวลานานๆ
เด็กอายุ 6 เดือนเป็นไข้ ทานยาพาราเซตามอลติดต่อ 2-3 วันไข้ไม่ลด ควรทำอย่างไร
ควรไปพบแพทย์ เพราะปกติแล้วไข้ต้องลดในช่วง 2-3 วัน เพราะถ้าไข้ไม่ลด อาจมีอาการแทรกซ้อนได้หลายสาเหตุ