ท่านั่งผิด ๆ เช็กสักนิด ก่อนเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูก
Highlight
ในบรรดาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่อยู่รอบตัว อาการปวดกระดูก เป็นหนึ่งในอาการที่พบเจออยู่เรื่อยๆ ท่านั่งผิดๆ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดกระดูก หากเราต้องนั่งทำงานนานๆ จะต้องปรับท่านั่งที่ถูกต้อง การจัดวางคอมพิวเตอร์ให้พอดีระดับสายตา และต้องลุกขึ้นมาบริหารร่างกายเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือขยับแขนขาในทุกๆ ชั่วโมง เพื่อบรรเทาอาการปวด คอ บ่า ไหล่ และหลัง หรือโรค Office Syndrome
การนั่งไขว่ห้าง หรือไขว้ขา หากนั่งนานอาจมีปัญหากล้ามเนื้อ หรือทำให้เกิดทับเส้นประสาทเป็นเหน็บชา
การนั่งขัดสมาธิ ทำให้ปวดหลังมากขึ้นหรือไม่ ทำให้หลังโค้งไปทางด้านหน้า ทำให้ต้องเกร็งกล้ามเนื้อหลังมากขึ้น
ท่านั่งที่เหมาะสมกับเก้าอี้ สะโพกและเข่าไม่ควรงอเกิน 90 องศา
ถ้าเรานั่งขับรถ หากปรับเบาะไม่ดี จะมีการงอทั้งสะโพกและเข่า ขับรถไปนานๆก็จะปวดเมื่อยได้ง่าย
ระดับโต๊ะกับการวางแขนมีความสำคัญ
ศอกไม่ควรงอเกิน 90 องศา ทำให้เราเกิดอาการชา ปวดหลังได้เช่นกัน
ควรปรับเปลี่ยนท่านั่งทุกๆ 50-60 นาที แม้เราจะนั่งทำงานในท่าที่ถูกต้องแต่ถ้านั่งในท่าเดิมนานเกินไป จะทำให้กล้ามเนื้อล้าได้ ควรมีการยืดกล้ามเนื้อบ้าง
การนั่งนานๆ จะปวด คอ บ่า ไหล่ ปวดแขน หรือปวดหลัง การนั่งผิดท่าก็ปวดไปทั้งตัว หรือบางทีเรียก Office Syndrome เกิดกับคนที่นั่งในท่าเดิมนานๆ อาจเกิดกับเด็กที่นั่งเรียนหนังสือ รวมทั้งผู้สูงอายุที่นั่งเล่นมือถือนานๆ ก็เกิดขึ้นได้
การนั่งขาลอย เท้าไม่ติดพื้น นานๆ ก็อาจทำให้ปวดขาได้ เช่นกัน
การบิดซ้าย บิดขวา อาจทำให้กระดูกสันหลังคดได้ แต่การนั่งไขว่ห้างไม่ถึงกับทำให้กระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังคดส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุพบได้ประมาณ 80% ดังนั้นการนั่งไขว่ห้างโดยทั่วไปไม่ได้ทำให้กระดูกสันหลังคด แต่นั่งไขว่ห้างนานๆ อาจจะทำให้เกิดอาการปวดเนื่องจากลงน้ำหนักไม่สมดุล ทำให้มีการเกร็งกล้ามเนื้อด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป นั่งไขว่ห้างทำได้แต่อย่านั่งนาน
วิธีการป้องกัน ปัญหาจากท่านั่งผิดๆ ที่อาจจะส่งผลต่อกระดูกและอาการปวดหลัง
หากนั่งนานอาจต้องบริหารร่างกายทุกๆ ชั่วโมง ลุกขึ้นมายืด และบริหารร่างกายบ้าง กล้ามเนื้อที่พบการปวดบ่อยๆคือบริเวณคอ วิธีการยืดกล้ามเนื้อบริเวณคอ ทำได้โดยการเอียงไปฝ่ายตรงข้าม และทำสลับกันข้างละ 10-15 วินาที
การยืดกล้ามเนื้อสะบักหลัง โดยการยื่นมือไปด้านหลังแอ่นหน้าอก มาด้านหน้า หรือมือประสานท้ายทอย นับ 1-10 สลับกันไป รวมทั้งการยืดกล้ามเนื้อขา ถ้ามีอาการปวดเสียวแปลบๆ และชา อาจจะเป็นอาการกระดูกทับเส้นประสาทอาจจะต้องไปพบแพทย์ อาจจะไม่ใช่ปวดกล้ามเนื้ออย่างเดียว
การป้องกันดูแลให้กระดูกแข็งแรงหรือการเพิ่มมวลกระดูก ควรออกกำลังกาย กินวิตามินดี มวลกระดูกจะเพิ่มมากที่สุดในช่วงอายุ 20-30 ปี จากนั้นจะค่อยๆลดลง ผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน 5 ปี จะลดลงอย่างรวดเร็ว
แหล่งอาหารที่มีแคลเซียม วิตามินดีมากคือ นม รับแสงแดดอ่อนๆ บ้าง อย่างไรก็ตามการกินวิตามินดี ไม่ควรกินมากเกินไป การปรับท่านั่งให้ถูกสุขลักษณะ จะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ทำเลยจะเห็นผลที่ชัดเจน
ระมัดระวังการนำเด็กเล็กออกนอกบ้านในช่วงที่ฝุ่น PM2.5 มีปริมาณเพิ่มขึ้นในอากาศ หากเลี่ยงไม่ได้ควรสวมหน้าหากอนามัยให้เด็ก เพื่อลดความเสี่ยง ที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ในระยะยาวได้
ยกของ หรืออุ้มลูก อย่างไรไม่ให้ปวดข้อมือ ข้อศอก
ส่วนใหญ่จะมาจากปัญหาเอ็นข้อมือ การยกของควรย่อตัวลงไปก่อน อย่าก้มหยิบจะทำให้ปวดหลังในภายหลังได้ การอุ้มเด็กควรประคองทั้งสองมือ
การเดินขึ้นบันได แล้วมีเสียงก็อกแก็กที่ขาและสะโพกในข้อ เป็นสัญญาณกระดูกพรุนหรือไม่
อาจจะเป็นเส้นเอ็นขัดกันก็ได้ หรือดังพรืดๆ ในข้ออาจจะเป็นข้อเสื่อม ในกรณีผู้สูงอายุ ที่เป็นข้อเสื่อมกับโรคกระพรุนอาจมาพร้อมกันได้ โรคกระดูกพรุนส่วนใหญ่ไม่มีอาการบอกล่วงหน้า เจออีกทีคือกระดูกหักเลย
ชาตามนิ้วมือนิ้วเท้าตลอดเวลา เกิดจากสาเหตุอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง
อาการเหน็บชาส่วนใหญ่อาจจะเกิดจากการทับของเส้นประสาท แต่การชาทั้งมือทั้งเท้าอาจจะไม่เกี่ยวกับเส้นประสาท แต่อาจจะเกิดจากโรคประจำตัวเช่น เบาหวาน หรือขาดวิตามินดี ก็ทำให้ชาปลายมือปลายเท้าได้
เด็กดูทีวีในระยะใกล้ทำให้สายตาสั้นหรือไม่
เด็กอายุไม่เกิน 2 ขวบแนะนำไม่ให้ดูทีวี มือถือ หรือแท็บเลท จะส่งผลต่อสมาธิ และพัฒนาการของเด็ก เด็กวัยนี้กำลังมีพัฒการทางภาษา ควรจำกัดเวลาในการดู และการนั่งการดูใกล้เกินไป แสงที่จอก็เข้าสู่ตามากขึ้น อาจทำให้สายตาสั้นเร็วขึ้น อาจจะสังเกตุจากไปโรงเรียนอาจเริ่มมองไม่ชัด จดงานไม่ครบ เป็นต้น ดังนั้นผู้ปกครองต้องคอยสังเกต และไม่ควรปล่อยเด็กอยู่กับทีวี หรือมือถือตามลำพัง