การปฐมพยาบาล ทักษะที่ทุกคนควรรู้
Highlight
อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ หากเรารู้จักวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกต้อง สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงที โอกาสรอดชีวิต หรือช่วยให้ผ่อนหนักเป็นเบา ดังนั้นนาทีชีวิตเป็นเรื่องสำคัญ ทักษะการปฐมพยาบาลที่ควรรู้ สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น การห้ามเลือด การช่วยคนถูกฟ้าผ่า ไฟฟ้าดูด และช่วยคนจมน้ำ ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อย
การห้ามเลือดเบื้องต้นจะทำอย่างไร
การห้ามเลือดภายนอก
หาจุดที่เลือดออก จากนั้นกดเลือด ถ้าแผลใหญ่อาจให้ใช้ผ้าที่สะอาดมากดบาดแผล เช่นใช้ผ้าก็อซปลอดเชื้อ เพราะถ้าผ้าสกปรกอาจทำให้แผลติดเชื้อได้ การกดไปที่บาดแผลเพื่อหยุดเลือด ถ้ากดแล้วไม่หยุดก็รัดเหนือบาดแผล 5 ซม. ไม่เกิน 15 นาที เพราะอาจจะทำให้ส่วนปลายขาดเลือดได้ จากนั้นไปล้างแผลตามปกติ
การรัดแผลหรือทูนิเกต์ (Tourniquet) เป็นวิธีการห้ามเลือดวิธีสุดท้าย ในกรณีห้ามเลือดด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล ทั้งนี้เพราะวิธีการนี้ถ้าทำไม่ถูกต้อง เช่น รัดแน่นและนานเกิน 6-8 ชั่วโมง อวัยวะส่วนที่ต่ำกว่าบริเวณที่รัดไว้อาจขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้เซลล์ตาย
งูกัด ไม่รบกวนแผลทำให้อวัยส่วนนั้นอยู่นิ่ง หรือไม่ต้องทำอะไร ยกเว้นเลือดออกเยอะ การรัดแผลไม่ได้กันพิษ พิษจะเข้าสู่หลอดเลือดเมื่อเราขยับตัว ต้องรีบส่งโรงพยาบาล
การห้ามเลือดภายใน
เช่น กระดูกหัก มีเลือดออกข้างใน เป็นการดามไม่ให้ส่วนนั้นขยับ บางกรณี ที่อันตราย เกิดอุบัติเหตุรุนแรง เช่นสะโพกหัก เลือดออกปริมาณมาก อาจจะทำให้ช็อคหรือเสียชีวิตได้ การปฐมพยาบาลต้องรัดบริเวณสะโพกให้ชิดเข้ามามากที่สุด บริเวณนั้นมีเส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำ หรือเส้นเลือดใหญ่อยู่มากเลือดอาจออกได้เป็นลิตร หรือออกมากจนเสียชีวิตได้
การดามกระดูกเป็นวิธีห้ามเลือดชนิดหนึ่ง ที่ลดปริมาณเลือดออกในปริมาณมากได้ เป็นการห้ามเลือดภายใน เพื่อไม่ให้เลือดออกเพิ่ม
ผู้ช่วยปฐมพยาบาลจะต้องระวังความเสี่ยงเมื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ เพราะอาจจะติดเชื้อผ่านกระแสเลือดได้
การปฐมพยาบาลกรณีไฟฟ้าดูด
การช่วยคนจมน้ำ
ควรดูความตื้น ความลึกของน้ำ น้ำเชี่ยวหรือไม่ ควรหาวัสดุให้เกาะ เช่นโยนห่วงยางให้แทนการกระโดดลงไป หรือตะโกนให้คนช่วยเหลือ เพราะผู้ที่กำลังจะจมน้ำอาจจะกดคนที่ช่วยเหลือจนจมน้ำไปอีกคนก็ได้ ดังนั้นควรมีผู้อื่นอยู่ด้วย และสวมเสื้อชูชีพ หรือต้องแข็งแรงพอที่จะช่วยผู้ตกน้ำขึ้นมาได้
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ผู้ที่จมน้ำ คือนำผู้ที่จมน้ำมาอยู่ในที่ปลอดภัย เช็คการหายใจ เป่าปากไป 2 ครั้ง ดูว่ารู้ตัวหรือไม่ ถ้าไม่รู้สึกตัวก็ทำ CPR ปั้มหัวใจ ถ้ารู้สึกตัวดูว่าทางเดินหายใจอุดกั้นหรือไม่ ถ้ารู้สึกตัวแล้วมีเสียง แสดงว่ามีทางผ่านของอากาศเข้าได้ นำส่งโรงพยาบาล ถ้ารู้สึกตัวแต่ไม่มีเสียงแสดงว่าทางเดินอากาศถูกปิดกั้น ต้องทำเฮมลิก (Heimlich) เอามือดันช่วงอก หรือกดลิ้นปี่ ให้เกิดความดันเอาสิ่งแปลกปลอมออกมา
ช่วงคำถามสุขภาพ
ผู้หญิงอายุ 68 ปี อยากรู้ว่าการนอนเปลี่ยนแปลงไปตามอายุจริงหรือไม่
ผู้สูงอายุหลับยาก เป็นไปตามวัย หลับยากและตื่นง่าย มีผลต่อชีวิตประจำวันหรือไม่ ถ้ายังปกติก็ไท่ต้องรักษา แต่ถ้ารู้สึกเพลีย แสดงว่ามีปัญหา ค่าเฉลี่ยการนอนในแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน
อายุ 84 ปีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ส่วนสูง 160 ซม. ตัวร้อนจากภายใน ปัสสาวะร้อน ชอบเป็นช่วงหัวค่ำ หมอยอกหินปูนเกาะแคลเซี่ยมไม่ทราบว่ามาจากสาเหตุอะไร
ปกติต้องทราบเพศ และโรคประจำตัว หินปูนแคลเซี่ยมเกาะที่จุดไหนของร่างกาย ถ้าไม่มีความชัดเจนต้องพบหมอเพื่อตรวจเพิ่มเติม นำยา อาหารเสริมให้หมอดูด้วย
ผู้หญิงอายุ 59 ปี ชอบง่วงตอนกลางวันทั้งที่นอน 7 ชั่วโมง ผิดปกติหรือไม่
ผู้สูงวัยชอบงีบช่วงสั้นๆ หลังอาหาร ตอนเช้าหรือกลางวัน บางคนหลับลึก แต่กรณีการง่วง เช่นทำงานเยู่แต่หลับไปกับโต้ะ แสดงว่าคุณภาพการนอนไม่ดี อาจวิตกกังวลทำให้หลับไม่สนิท