12 พฤศจิกายน 2565
2,066

มะเร็งกระเพาะอาหาร ภัยร้ายที่แฝงตัวเงียบ

Highlight

มะเร็งกระเพาะอาหาร ภัยร้ายที่แฝงตัวเงียบ เป็นโรคร้ายอันดับต้น ๆ ที่อันตรายถึงชีวิต บางตำแหน่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่บางตำแหน่งก็ไม่สามารถรักษาได้ ซึ่งสาเหตุของมะเร็งกระเพาะอาหารมีหลายลักษณะ ทั้งเยื่อบุกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมน้ำเหลืองของกระเพาะอาหาร และมะเร็งของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน  มีสาเหตุหลักของการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมาจากพฤติกรรมการกิน  ซึ่งหากเราตระหนักถึงสุขภาพและอันตราย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ก็ทำให้ห่างไกลจากโรคร้าย ได้มากขึ้น


โรคกระเพาะอาหาร อีกหนึ่งโรคร้ายที่สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติการการกินของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะการกินอาหารที่มีโซเดียมไนเตรต หรือสารกันบูดสะสมเป็นเวลานาน หรือติดเชื้อแบคทีเรียจากของหมักดอง เป็นต้น

รศ. นพ.ไชยรัตน์ ทรัพย์สมุทรชัย  สาขาวิชาศัลยศาสตร์ทางเดินอาหารและศัลยศาสตร์ทั่วไป ภาควิชาศัลยศาสตร์ และ  อ. นพ. อัครวิทย์ พูลสมบัติ ภาควิชาอายุรศาสตร์  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมให้ความรู้ รวมทั้งวิธีป้องกันเพื่อให้ห่างไกลจากโรคร้าย ดังต่อไปนี้

สาเหตุของการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มีอะไรบ้าง

สำหรับสาเหตุของมะเร็งกระเพาะอาหาร แยกเป็น 2 อย่าง คือ สาเหตุของตัวคนไข้เองจากพันธุกรรม ซึ่งในประเทศไทยเจอค่อนข้างน้อย และสาเหตุอีกอย่างคือ การกินอาหารที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้  การอักเสบของกระเพาะอาหารเรื้อรัง การรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของโซเดียมไนเตรต (สารกันบูด) ที่มักเจอไส้กรอก อาหารหมักดอง หรือทำให้ติดเชื้อ เอช.ไพโรไล เป็นเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนอยู่ในของหมักดอง

เอช.ไพโรไล เป็นเชื้อแบคทีเรีย ที่อาศัยอยู่ในกระเพาะอาการ เจอได้ 40-50% ของคนไทย เจอได้เป็นอันดับ 9-10 ของมะเร็งในประเทศไทย เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังได้ ทำให้เซลล์ผิดปกติและทำให้เกิดโรคมะเร็งในที่สุด

ถ้าส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น และเจอเชื้อตัวนี้ ก็จะดำเนินการกำจัดเชื้อตัวนี้ออกไป เพราะเชื้อ เอช.ไพโรไล นอกจากจะเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งในกระเพาะอาหารแล้ว ยังทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดโรคหลายอย่าง  ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดเชื้อนี้ขึ้น น่าจะมาจากการรับประทานอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้าไปในร่างกาย

ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเฉียบพลัน อาจจะอยู่มาหลายปีจนค่อยๆ เกิดกระเพาะอาหารอักเสบ หรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร


20221112-b-01.jpg

อาการเสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

  • อุจจาระมีเลือดปน
  • อาเจียรติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • อาหารไม่ย่อยเป็นประจำ
  • เจ็บท้องตลอดเวลา
  • แสบร้อนหน้าอก

สัญญาณในการบ่งบอกว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ถ้ามีอาการ แสดงว่าเป็นมากแล้ว เช่นอาเจียน เลือดออกทางเดินอาหาร กลืนแล้วติด กินไม่ได้ น้ำหนักลงเยอะ แสดงว่าก้อนมะเร็งอาหารค่อนข้างใหญ่และมีอาการ

แต่ถ้าเป็นในระยะแรกอาจจะไม่แสดงอาการ เหมือนโรคกระเพาะทั่วไป เช่น อาจจะมาโรคท้องอืด ไม่สบายท้อง แน่นๆ ท้อง ค่อนข้างแยกยากกับโรคกระเพาะทั่วไป ซึ่งวินิจฉัยได้อย่างเดียวคือ ต้องส่องกล้องกระเพาะอาหาร เพื่อดูลักษณะกระบุว่าเยื่อบุ เปลี่ยนแปลงหรือยัง 

การอาเจียร ต้องเป็นหลายๆ ครั้ง เป็นหนักมากขึ้นเรื่อยไม่จะเป็นตัวที่บ่งบอกว่อาจจะมีปัญหาในกระเพาะอาหาร

อาการที่คนไข้มาหาหมอ มักจะมาด้วยอาการ อืดๆ แน่นท้อง ปวดท้อง หรือมาด้วยโรคกระเพาะอาหาร  มีบางอาการที่สงสัย เช่น ถ่ายสีดำ มีเลือดออก น้ำหนักตัวลดผิดปกติหรือคลำก้อนได้ในท้อง  กรณีแบบนี้ต้องสงสับว่ามีความผิดปกติในกระเพาะอาการหรือไม่ คนไข้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง อาจจะไม่เป็นโรคร้ายก็ได้ไม่ต้องกังวล แต่ถ้าอาการปวดท้อง มากขึ้นเรื่อยๆ หรือกินแล้วอาเจียรบ่อย หรือรู้สึกอิ่มเร็ว หรือคนไข้ที่อายุมาก ก็มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ต้องส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นเพื่อวินิจฉัย



20221112-b-02.jpg

สำหรับปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

  • การสูบบุหรี่
  • มีภาวะโลหิตจาง
  • มีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
  • เป็นโรคอ้วนน้ำหนักมาก
  • กินอาหารรวมควัน หมักดอง
  • เคยรับการผ่าตัดแผลในกระเพาะ
  • มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มักพบในเพศชาย

20221112-b-03.jpg

ขั้นตอนการรักษา

การรักษามะเร็งกระเพาะอาหารก็เหมือนมะเร็งทั่วไป คือต้องทำทีซีสแกน ประเมินระยะของโรค และดูการแพร่กระจาย เพื่อดูอวัยวะข้างเคียงหรือไม่ หรือมีต่อมน้ำเหลืองโดยรอบหรือไม่ จะแยกเป็น 3 แบบ  

แบบที่หนึ่ง การเป็นระยะแรก ไม่มีการกระจายไปที่ไหน ไม่มีต่อมน้ำเหลืองที่โต..ค่อนข้างดี รักษาได้ด้วยการผ่าตัดเป็นหลัก

แบบที่สอง มีการกระจายบ้างบางส่วน แต่ไม่มีกระจายไปยังอวัยวะทั่วไป เช่น ตับ ปอด เยื่อบุช่องท้อง ลักษณะนี้อาจจะให้ยาเคมีร่วมด้วย อาจจะให้ก่อนผ่าตัด เพื่อลดขนาดลง ทำให้การผ่าตัดง่ายขึ้น ลดโอกาสแพร่กระจาย หรือโอกาสเป็นซ้ำได้

แบบที่สาม มีการแพร่กระจายไปทั่วหลายอวัยวะแล้ว ลักษณะนี้จะเน้นให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อยู่ได้นานที่สุด มักจะรักษาด้วยเคมีบำบัดเพื่อประคองคนไข้ให้อยู่ได้นานขึ้นสำหรับการผ่าตัดจะสงวนไว้ สำหรับคนไข้ที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น มีเลือดออกทางเดินอาหาร ก้อนมันแตก หรือกินไม่ได้จริงๆ ก็ผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการได้

ปัจจุบันมีการพัฒนายาเคมีบำบัดไปค่อนข้างมาก ซึ่งเรียกว่า “ยาพุ่งเป้า” ในกรณีที่คนไข้ตอบสนองต่อยาพุ่งเป้า ก็จะช่วยให้คนไข้ มีอายุได้นานขึ้น

ถ้าเจอในระยะแรก รักษาหายได้ สามารถเจอจากการส่องกล้องได้ หรือผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง เจ็บน้อย และช่วยได้มาก

ผู้สูงอายุปวดท้อง น้ำหนักลด-ปวดท้อง ถ่ายดำปวดท้อง หรือปวดท้องเรื้อรังก็ควรตรวจ ไม่ควรชะล่าใจ

สาเหตุมะเร็งกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่เกิดจากการกิน ที่รับประทานอาหารประเภทโซเดียมไนเตรดสัสมเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่จคงเป็นผู้ป่วยที่มีอายุมาก แต่คนอายุน้อยก็เป็นได้ ถ้าหากเป็นพันธุกรรม

แนวทางในการป้องกัน

เนื่องจากสาเหตุมาจากการกิน และการติดเชื้อ ดังนั้นถ้าตรวจพบว่ามีการติดเชื้อ เอช.ไพโรไล การกำจัดเชื้อ ก็เป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ถ้าเกิดการกินสารอาหารบางอย่าง เช่น โซเดียมไนเตรด การลดอาหารประเภทนี้ลงก็ช่วยป้องกันได้

อาหารปนเปื้อนหลายอย่าง ก็ควรกินในปริมาณที่เหมาะสม อย่ากินซ้ำๆ บ่อยๆ กินให้หลากหลาย  หรืออาหารที่มีสารกันบูด มีความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร  พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร มากที่สุดก็คือการกิน

โรคอ้วนก็ทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้  โรคอ้วนมักจะทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้ง่าย เยื่อบุกระเพาะอาหารด้านบน บริเวณรอยต่อ ระหว่างหลอดอาหาร กับกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังและเปลี่ยนเป็นมะเร็งได้  การงดสูบบุหรี่  ก็สามารถลดความเสี่ยงลงไปหลายโรค เช่นโรคปอด เป็นต้น 

การใข้ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ควรใช้เป็นครั้งคราว และปรับพฤติกรรมเรื่องการกิน ลดอาหารรสจัด ไม่ทานเผ็ดและทานมัน ไม่เครียด ไม่กังวลจนเกินไป  อาจทำให้กรดหลั่งได้เพิ่มขึ้น และเกิดอาการปวดท้องได้บ้างหรือที่เรียกว่า “เครียดลงกระเพาะ” เป็นสิ่งกระตุ้นของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน



อายุ 42 ปี มีอุจจาระปนเลือดสด เป็นมา 4 เดือนเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้หรือไม่

การถ่ายเป็นเลือดมาจากหลายสาเหตุ เช่น เป็นแผลในลำไส้  ริดสีดวง ถ้าอายุยังน้อยและไม่มีประวัติเสี่ยงในครอบครัวไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องมะเร็งลำไส้ แนะนำมาพบหมอควเพื่อตรวจให้ละเอียด

อายุ 63 ปี น้ำหนัก 58 กก. ส่วนสูง 164 ซม. มีอาการแน่นหน้าอกด้านซ้าย หัวใจเต้นเร็ว นอนไม่หลับ ตรวจคลื่นหัวใจ เอกซเรย์ปอดผลปกติ

อายุมากขึ้น มีอาการแน่นหน้าอก น่าสงสัยว่าอาจเป็นโรคหัวใจ ถ้าไม่ใช่โรคหัวใจ อาจจะเป็นเรื่องกรดไหลย้อน อาจทานยาลดกรด อาจทำให้อาการดีขึ้น หรือพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดอีกครั้ง

ติดต่อโฆษณา!