06 กุมภาพันธ์ 2566
1,347

รู้จักโรคอะไมลอยด์โดสิส ที่เป็นสาเหตุการอสัญกรรมของอดีตผู้นำปากีสถาน เปอร์เวซ มูชาร์ราฟ

รู้จักโรคอะไมลอยด์โดสิส ที่เป็นสาเหตุการอสัญกรรมของอดีตผู้นำปากีสถาน เปอร์เวซ มูชาร์ราฟ
Highlight

อดีตประธานาธิบดีปากีสถาน เปอร์เวซ มูชาร์ราฟ ถึงแก่อสัญกรรมในวันอาทิตย์ด้วยวัย 79 ปี หลังล้มป่วยด้วยโรคอะไมลอยด์โดสิส (amyloidosis) ซึ่งเป็นโรคที่ไม่พบบ่อยและเกิดจากร่างกายสร้างโปรตีนแบบไม่ปกติไปสะสมตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับ ไต หัวใจ ระบบทางเดินอาหารและระบบประสาท จนทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะนั้นเกิดความผิดปกติ ผู้ชายสูงวัย จะพบได้มากกว่ากลุ่มอื่น ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคนี้ให้หายขาด

อดีตประธานาธิบดีปากีสถาน เปอร์เวซ มูชาร์ราฟ ถึงแก่อสัญกรรมในวันอาทิตย์ด้วยวัย 79 ปี หลังล้มป่วยด้วยโรคอะไมลอยด์โดสิส (amyloidosis) กลายเป็นสนใจซึ่งเป็นโรคที่ไม่พบบ่อยและเกิดจากร่างกายสร้างโปรตีนแบบไม่ปกติไปสะสมตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับ ไต หัวใจ ระบบทางเดินอาหารและระบบประสาท จนทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะนั้นเกิดความผิดปกติ

อดีตปธน.มูชาร์ราฟ ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำประเทศหลังเกิดเหตุรัฐประหารที่ไม่มีการเสียเลือดเนื้อของประชาชนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1999 ซึ่งส่งผลให้อดีตนายกรัฐมนตรีนาวาซ ชาริฟ ที่ชนะการเลือกตั้งมาต้องหลุดจากตำแหน่งไป

รู้จักโรคอะไมลอยด์โดสิส

Amyloidosis (อะไมลอยโดซิส) เป็นโรคที่เกิดจากการมีสารแอมีลอยด์ (Amyloid) เข้าไปสะสมตามเนื้อเยื่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ตับ ไต ม้าม หัวใจ ระบบประสาท และระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น โดยสารดังกล่าวเป็นโปรตีนผิดปกติที่ถูกสร้างขึ้นจากไขกระดูก หากสะสมอยู่ในปริมาณมากจะส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะนั้น ๆ แม้เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงมากก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ส่วนการรักษา Amyloidosis นั้นมักเป็นการควบคุมอาการและจำกัดการผลิตสารโปรตีนแอมีลอยด

อาการของอะไมลอยโดซิส

โรค Amyloidosis มักไม่มีอาการใด ๆ ปรากฏในช่วงแรก แต่จะเริ่มพบความผิดปกติเมื่อโรคเริ่มรุนแรงขึ้น ซึ่งอาการของแต่ละคนจะขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ได้รับผลกระทบด้วย โดยอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการดังนี้

  • ขาและข้อเท้าบวม

  • อ่อนเพลียอย่างรุนแรงและรู้สึกไม่มีแรง

  • รู้สึกอิ่มผิดปกติ

  • ชา รู้สึกคล้ายเข็มทิ่ม เจ็บที่มือหรือเท้า โดยเฉพาะที่ข้อมือ

  • ลิ้นขยายใหญ่ขึ้น กลืนลำบาก

  • น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว

  • ท้องผูก หรือท้องเสีย และอาจมีเลือดปน

  • มีการเปลี่ยนแปลงทางผิวหนัง เช่น เกิดรอยช้ำง่าย ผิวหนาขึ้น มีปื้นสีม่วงรอบดวงตา เป็นต้น

  • มีภาวะโลหิตจาง

  • หายใจไม่อิ่ม

  • หัวใจเต้นผิดปกติ

เนื่องจากอาการของโรค Amyloidosis นั้นไม่ได้เฉพาะเจาะจง จึงอาจพบอาการต่าง ๆ ได้ในโรคอื่น ๆ เช่นกัน ดังนั้น หากมีอาการข้างต้นโดยเป็นอยู่นานและไม่หายไป ควรไปปรึกษาแพทย์

สาเหตุของอะไมลอยโดซิส

โรค Amyloidosis มีสาเหตุมาจากการก่อตัวของโปรตีนผิดปกติที่ชื่อว่าแอมีลอยด์ ซึ่งสารนี้ถูกผลิตจากไขสันหลังและสามารถสะสมอยู่ตามเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยโรคนี้แบ่งได้เป็นหลายชนิดตามลักษณะการเกิด ดังนี้

  • AL Amyloidosis เป็นประเภทที่พบบ่อยที่สุดและไม่ทราบสาเหตุ โดยจะเกิดขึ้นเมื่อไขกระดูกได้ผลิตสารภูมิต้านทานที่เป็นโปรตีนผิดปกติอย่างแอมีลอยด์ ซึ่งสารนี้ไปสะสมอยู่ที่เนื้อเยื้อและส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ ไต ตับ ผิวหนัง และระบบประสาท

  • AA Amyloidosis เป็นประเภทที่ส่งผลกระทบต่อไตมากที่สุด แต่อาจส่งผลต่อทางเดินอาหาร ตับ หรือหัวใจได้เช่นกัน โดยจะเกิดขึ้นพร้อมกับโรคติดเชื้อหรือโรคที่มีการอักเสบ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง เป็นต้น

  • Dialysis-Related Amyloidosis เกิดโปรตีนในเลือดที่ไปสะสมอยู่ในข้อต่อและเอ็น ทำให้เกิดอาการปวดเกร็งและมีของเหลวที่ข้อต่อ รวมไปถึงอาจเป็นโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือร่วมด้วย โดยโรค Amyloidosis ประเภทนี้มักเกิดในผู้ที่ต้องฟอกไตระยะยาว

  • Hereditary Amyloidosis เกิดจากพันธุกรรม มักส่งผลกระทบต่อตับ ไต ระบบประสาท และหัวใจ

 

ทั้งนี้ บุคคลบางกลุ่มอาจมีความเสี่ยงเผชิญโรค Amyloidosis เพิ่มขึ้น ได้แก่ เพศชาย ผู้ที่มีอายุ 60-70 ปี ผู้ที่เป็นโรคติดต่อเรื้อรังหรือโรคที่เกิดการอักเสบ ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ และผู้ป่วยที่ต้องฟอกไต

การวินิจฉัยอะไม่ลอยโดซิส

แพทย์จะเริ่มสอบถามประวัติและตรวจร่างกาย ซึ่งอาการของ Amyloidosis อาจคล้ายกับโรคอื่น ๆ จึงเสี่ยงต่อการวินิจฉัยผิดพลาดได้ง่าย ดังนั้น แพทย์อาจทำการทดสอบอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการตรวจให้ชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย เช่น

  • การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ อาจตรวจเลือดและปัสสาวะ เพื่อช่วยหาความผิดปกติของโปรตีนที่บ่งบอกถึงโรค Amyloidosis และแพทย์อาจตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์และตับด้วย โดยพิจารณาจากอาการที่พบ

  • การตรวจวินิจฉัยจากภาพ เพื่อตรวจอวัยวะภายในที่ได้รับผลกระทบ เช่น การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) เพื่อตรวจสอบการทำงานและขนาดของหัวใจ หรือดูภาพตับและม้ามด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อหาความผิดปกติ เป็นต้น

  • การตัดชิ้นเนื้อตรวจ อาจเป็นการตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อจากไขมันหน้าท้อง ไขกระดูก ตับ หรือไต เพื่อนำไปตรวจ โดยวิธีการนี้จะช่วยให้แพทย์ทราบว่าเป็นโรค Amyloidosis ชนิดใด

  • การตรวจความผิดปกติของยีนส์ ใช้ตรวจในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าโรคเกิดจากการสืบทอดทางพันธุกรรม

 

การรักษาอะไมลอยโดซิส

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคนี้ให้หายขาด แต่การรักษาจะเป็นการควบคุมอาการและจำกัดการผลิตโปรตีนแอมีลอยด์ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของโรคด้วย ได้แก่

  • AL Amyloidosisเป็นการนำยาเคมีบำบัดที่ใช้รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวมัลติเพิลมัยอิโลมามารักษาโรค Amyloidosis ประเภทนี้ โดยยาจะช่วยหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์ผิดปกติที่ทำให้มีการผลิตแอมีลอยด์ นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจรักษาด้วยวิธี Autologous Blood Stem Cell Transplant (ASCT) ซึ่งเป็นการเก็บสเต็มเซลล์ของตัวผู้ป่วยเองจากเลือด และเก็บเอาไว้ในระยะเวลาอันสั้นขณะที่ใช้ยาเคมีบำบัดในการรักษา จากนั้นแพทย์จะให้สเต็มเซลล์กลับเข้าไปผ่านทางหลอดเลือดดำ

  • AA amyloidosisแพทย์จะรักษาโรคหรือภาวะต้นเหตุที่ทำให้เกิด Amyloidosis โดยผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ยาสเตียรอยด์ควบคู่ในการรักษาหลักไปด้วย

  • Dialysis-Related Amyloidosis เนื่องจากโรค Amyloidosis ประเภทนี้มักเกิดในกระบวนการฟอกไตระยะยาว ดังนั้น อาจรักษาโดยเปลี่ยนวิธีกรองของเสียจากเลือด หรือการปลูกถ่ายไต ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

  • Hereditary Amyloidosis เนื่องจากโปรตีนผิดปกติที่เป็นสาเหตุของ Amyloidosis ประเภทนี้ ถูกผลิตขึ้นที่ตับ จึงอาจรักษาได้ด้วยการปลูกถ่ายตับ

 

นอกจากนี้ แพทย์อาจพิจารณาการรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น

  • ใช้ยาขับปัสสาวะ หรือให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารโซเดียมต่ำ เพื่อกำจัดน้ำส่วนเกินในร่างกาย

  • ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการลิ้นบวม แพทย์อาจให้สารเพิ่มความเข้มข้นของอาหารเหลว เพื่อช่วยป้องกันอาการสำลัก

  • ปรับเปลี่ยนวิธีรับประทานอาหาร โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร

 

ภาวะแทรกซ้อนของอะไมลอยโดซิส

ภาวะแทรกซ้อนของ Amyloidosis จะขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ เช่น

  • ไต อาจส่งผลกระทบต่อการกรองของไต ทำให้โปรตีนรั่วจากเลือดไปยังปัสสาวะ หรือทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของไตลดลง และอาจทำให้ไตล้มเหลวได้

  • หัวใจ อาจลดประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ ทั้งด้านการสูบฉีดเลือดในแต่ละครั้งที่หัวใจเต้น ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเหนื่อย หรือบางรายอาจเกิดผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งอาจทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจถูกรบกวน

  • ระบบประสาท ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บ ชา รู้สึกคล้ายถูกเข็มทิ่ม ไร้ความรู้สึก แสบที่นิ้วเท้าหรือฝ่าเท้า หรืออาจเกิดผลกระทบต่อระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของลำไส้ ซึ่งอาจทำให้มีอาการท้องผูกสลับกับท้องเสีย และหากโรคนี้ส่งผลต่อระบบประสาทที่ควบคุมความดันโลหิต ก็อาจทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ หรือหน้ามืดเมื่อลุกขึ้นยืนเร็วเกินไป

 

การป้องกันอะไมลอยโดซิส

Amyloidosis เป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ ดังนี้

  • ระมัดระวังขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน หากพบว่ามีอาการหายใจไม่อิ่มก็ควรหยุดพัก รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก หรือปรึกษาแพทย์ว่าในแต่ละวันตนสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้มากน้อยเพียงใด

  • รับประทานอาหารที่มีโภชนาการครบถ้วนอย่างสมดุล เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานเพียงพอ โดยแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพบางรายรับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำด้วย

  • หากพบว่าตนมีปัญหาสุขภาพหรือมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคนี้ ให้เข้ารับการตรวจรักษาอย่างทันท่วงที เพราะอาจช่วยป้องกันการเกิดโรคนี้ได้

 

อ้างอิง : VOA , popped.com

ติดตาม ทันข่าวToday ช่องทางอื่น ๆ

🔺 Website : https://www.thunkhaotoday.com/
🔺 Facebook : https://www.facebook.com/thunkhaotoday
🔺 Line Today : https://bit.ly/3ifSuDr
🔺 ติดต่อโฆษณา : https://line.me/ti/p/9mjGVL4nhC

ติดต่อโฆษณา!