“ซีเซียม-137” คืออะไร สารกัมมันตรังสีอันตรายแค่ไหน ?
Highlight
สารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่หายไปและถูกพบอีกครั้งในโรงหลอมเหล็ก ที่จังหวัดปราจีนบุรี ยังคงสร้างความกังวลกับประชาชนและชุมชนในพื้นที่เกิดเหตุ โดยที่ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงระดับอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต หรือก่อให้เกิดมะเร็งได้หรือไม่ นพ. กิติพงษ์ พนมยงค์ หัวหน้ากลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงความคืบหน้ากลุ่มเสี่ยง ซึ่งได้รับการประเมินว่ายัง ไม่พบผลกระทบแบบเฉียบพลัน พร้อมแนะนำการดูแลสุขภาพ
สถานการณ์ล่าสุดของสาร สารซีเซียม 137 ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทั้งด้านอุตสาหกรรม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมและสุขภาพ มีแนวทางการถอดบทเรียนอย่างไรเพื่อป้องกันเหตุในอนาคต และสิ่งที่สังคมควรรู้คืออะไร
นพ. กิติพงษ์ พนมยงค์ หัวหน้ากลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จะอธิบายและให้ความรู้เรื่องนี้
จากรายงานผลสภาพแวดล้อมบริเวณพื้นที่ที่เกิดเหตุสารซีเซียม-137 หลุดออกมาและเกิดการรั่วไหล ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำการเช็ครังสีแกมมารอบๆบริเวณโดยรถโมบายเคลื่อนที่และเช็คเรื่อง ดิน น้ำ อากาศ ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ
อย่างที่ทราบโดยทั่วไป การเก็บปัสสาวะเพื่อเช็คการปนเปื้อนของรังสี ก็พบว่ายังอยู่ในระดับปกติเช่นกัน
สารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 จะส่งผลกระทบในเชิงสุขภาพได้อย่างไรบ้าง
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือรังสีที่แผ่ออกมา ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะทางที่คนๆนั้นอยู่และสัมผัสกับต้นตอ และมีเครื่องป้องกันหรือไม่
ถ้าอยู่ในระดับที่กระทบต่อสุขภาพอย่างเพียงพอ ผลในระยะสั้นก็จะเป็นไปตามที่ทราบกันโดยทั่วไป ถ้ารับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณสูง สัมผัสทั้งตัวในช่วงสั้นๆ ก็จะได้รับรังสีเฉียบพลัน ก็จะทำให้ส่งผลต่อระบบเลือด ไขกระดูกถูกกดทับ ส่งผลต่อเม็ดเลือดขาว ส่งผลต่อทางเดินอาหาร ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน
ถ้าได้รับสารกัมมันตรังสีเข้าไปในปริมาณที่มากจริงๆ อาจทำให้ “ถึงแก่ชีวิต” ได้เพราะ “ระบบประสาทเสียหาย”
ในระยะยาว ที่ทางสังคมและประชาชนกังวลคือ สารดังกล่าวจะก่อให้เกิดมะเร็งด้วยหรือไม่ ซึ่งนพ. กิติพงษ์ ระบุว่าขึ้นอยู่กับปริมาณที่รับสารเข้าสู่ร่างกาย
การดูแลป้องกันเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
โดยกฏระเบียบมีอยู่แล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นก็เป็นโอกาสให้โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆได้กลับมาทบทวนกฏระเบียบ ข้อปฏิบัติที่มีอยู่ เช่นการซักซ้อมรับมือกับเหตุการณ์เมื่อเกิดเหตุขึ้น
ช่องทางการสัมผัสที่มีความเสี่ยงมากที่สุดเป็นส่วนไหนของวัตถุ
กรณีวัตถุสูญหายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. กรณีรังสีแผ่ออกมา เป็นการสัมผัสในระยะไกล ประชาชนอาจสัมผัสสารที่ตัวหรือตามร่างกาย
2. กรณีการสัมผัสในระยะใกล้ หรือมีการฟุ้งกระจายในอากาศ รังสีจะเกาะติดตามผิวหนัง ละเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเดินหายใจ การปนเปื้อนจากการหยิบของเข้าปาก
การใช้ประโยชน์จากรังสีในทางอุตสาหกรรมและทางการแพทย์
1. ประโยชน์ทางการแพทย์ของซีเซียม-137 เป็นต้นกำเนิดของรังสีแกมมาเพื่อฉายแสงรักษาโรคมะเร็ง
2. ผลิตเลือดที่มีลักษณะเฉพาะสำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน เพื่อลดปฏิกิริยาของผู้รับ ต้องทำลายจำนวนเม็ดเลือดขาวที่อยู่ภายในเลือดเสียก่อน สามารถใช้รังสีจากซีเซียม-137 ในการจัดการได้
ดังนั้นในทางการแพทย์ ก็ใช้ในการรักษามะเร็งและผลิตเลือดที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะที่ใช้ในเวลาฉุกเฉิน
องค์กรและชุมชนหรือโรงเรียนจะต้องตระหนักรู้ ในเรื่องนี้อย่างไร ?
ถ้าเราได้ไตร่ตรอง และมีความตระหนักรู้ที่ดี ไม่หวาดกลัวเกินไป แต่ตั้งตนอยู่ได้อย่าง ไม่ประมาท ก็จะบรรเทาความกังวลได้ สิ่งที่ชุมชนควรตระหนักรู้ แบ่งออกเป็น 2 เหตุการณ์ คือ
1. ในภาวะปกติต้องให้ความรู้และข้อมูลให้รอบด้าน ต้องให้สังคมนั้นจะต้องตระหนักรู้ แต่ต้องไม่ตระหนก ให้ความรู้ประโยชน์และโทษของกัมมันตภาพรังสี บอกถึงมาตรการที่ทำอยู่ ว่าป้องกันหรือทำให้ชุมชนมีความมั่นใจได้อย่างไร
2. ภาวะไม่ปกติ เมื่อเกิดเหตุแล้ว ก็ให้ข้อเท็จจริงที่เชื่อมโยงกับความรู้ที่ให้ไปก่อนหน้า ว่าสารนั้นมีอันตรายมากน้อยเพียงใด
ตอนนี้สารกัมมันตรังสีที่หลุดออกไป มันถูกใช้มาเกือบครึ่งชีวิตแล้ว ปริมาณเหล่านี้กระทบต่อสุขภาพมากน้อยเพียงใด กลุ่มบุคคลใดมีเสี่ยงมาก เสี่ยงน้อย
ครึ่งชีวิตของสารซีเซียม-137 สารเหล่านี้ไม่เสถียร ตัวของเขาเองมีพลังงานล้นตัว โดยธรรมชาติของวัตถุจะพยายามปลดปล่อยสารกัมมันตรังสีออกมา เพื่อให้ตัวเองมีความสงบ สมมุติมีพลังงานอยู่เต็มร้อยเพื่อที่จะปลดปล่อย ครึ่งหนึ่งของชีวิตก็คือ เหลือพลังงาน 50% ซึ่งซีเชียมมีครึ่งชีวิตที่ 30 ปี ดังนั้นใน 30 ปี จาก 100 ก็จะลดเหลือ 50% และใน 30 ปีถัดไปจากพลังงาน 50% ก็จะลดเหลือ 25% ดังนั้นพิษภัยก็จะลดลงตามลำดับ
สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ กล่มบุคคนที่มีความเสี่ยงมาก ได้รับประเมินในเบื้องต้นแล้ว ชไม่มีปัญหาเรื่องผลกระทบแบบเฉียบพลัน คนที่อยู่โดยรอบในระยะใกล้ ระยะไกล ก็เป็นสิ่งที่สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจน
ถ้าซีเซียม-137 เข้าสู่ร่างกายจะอยู่ในร่างกายประมาณ 100 วัน และถ้าหากได้รับยาต้านรังสีก็จะช่วยลดปริมาณสารที่อยู่ในร่างกายเหลือประมาณ 30 วัน
ค่าครึ่งชีวิตของซีเซียม-137 เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะสั้นกว่าค่าครึ่งชีวิตที่ปลดปล่อยพลังงานสู่สิ่งแวดล้อม
ยาที่ใช้ในการรักษาผู้สัมผัสสารกัมมันตรังสี
ยานี้ไม่ใช่ยาวิเศษที่ผู้ได้รับสารกัมมันตภาพรังสีทุกรายจะได้รับ และในปัจจุบันนี้ ยังไม่มีการนำเข้ายานี้ หรือมีการผลิต อย่างไรก็ตามฝ่ายนโยบายได้สั่งการ และได้เตรียมการในเรื่องนี้แล้ว เพื่อให้มีความพร้อมและให้ความมั่นใจต่อสังคมต่อประชาชน
เมื่อ 10 ปีก่อน เคยเกิดเหตุกรณีที่โรงไฟฟ้าปรมาณูในญี่ปุ่น เกิดความเข้าใจผิด ประชาชนตามหายาเบทาดีน เพื่อป้องกันไอโอดี-131 ซึ่งความเชื่อนั้นไม่ถูกต้อง
ติดตาม ทันข่าวToday ช่องทางอื่น ๆ
🔺 Website : https://www.thunkhaotoday.com/
🔺 Facebook : https://www.facebook.com/thunkhaotoday
🔺 Line Today : https://bit.ly/3ifSuDr
🔺 ติดต่อโฆษณา : https://line.me/ti/p/9mjGVL4nhC