22 กันยายน 2566
758
ยอดติดเชื้อฝีดาษลิงเพิ่มต่อเนื่อง รวม 385 ราย เสียชีวิต 1 ราย
กระทรวงสาธารณสุข เผยขณะนี้ยังพบผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษลิงในประเทศอย่างต่อเนื่อง มากกว่าครึ่งเป็นผู้ที่มีเชื้อ HIV ร่วมด้วย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชายรักชาย มีประวัติมีคู่นอนมากกว่าหนึ่งคน อย่างไรก็ดี เน้นย้ำว่าโรคนี้สามารถป้องกันได้
นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เผย สถานการณ์ล่าสุดของโรคฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง) ในประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ม.ค.-18 ก.ย. 66) มีรายงานพบผู้ป่วยรวม 385 ราย เสียชีวิต 1 ราย เป็นผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ส่วนสัปดาห์นี้ พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 42 ราย แบ่งเป็น เพศชาย 41 ราย เพศหญิง 1 ราย โดยมีสัญชาติไทย 38 ราย คิดเป็น 90.5% นอกจากนี้ เป็นชาวเมียนมา 2 ราย จีน 1 ราย และอิตาลี 1 ราย
สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ที่พบ เป็นผู้ติดเชื้อ HIV ร่วมด้วย 29 ราย คิดเป็น 69.0% ของผู้ป่วยใหม่ทั้งหมด และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชายรักชายถึง 33 ราย
นอกจากนี้ เป็น Bisexual 3 ราย ชายรักหญิง 3 ราย และไม่ระบุ 3 ราย และผู้ป่วยใหม่ 17 ราย คิดเป็น 40.5% มีประวัติเสี่ยงมีเพศสัมพันธ์กับคนไม่รู้จัก
นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำหรับผู้ที่มีประวัติเสี่ยงติดเชื้อโรคฝีดาษลิง และสงสัยติดเชื้อ ได้แก่
1. มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วย
2. ทำความสะอาดห้องหรือใช้ห้องน้ำร่วมกับผู้ป่วยขณะผู้ป่วยมีอาการ
3. เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยสงสัยหรือผู้ป่วยฝีดาษวานรขณะป่วย
4. พูดคุยกับผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร โดยไม่สวมหน้ากากอนามัยในสถานที่ปิด
5. นั่งชิดติดกับผู้ป่วยสงสัยหรือผู้ป่วยฝีดาษวานร โดนไอจามรดโดยไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย
อาการที่อาจเกิดขึ้นหลังสัมผัสผู้ป่วย 21 วัน หากมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณหลังหู คอ ขาหนีบ หรือมีอาการเจ็บคอ คัดจมูก ไอ มีผื่น ตุ่มน้ำ ตุ่มหนองขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือบริเวณรอบ ๆ รวมถึงมีผื่น ตุ่มน้ำ ตุ่มหนองขึ้นตามมือ เท้า หน้าอก ใบหน้า บริเวณปาก หรือ อวัยวะเพศและรอบทวารหนัก เป็นต้น
หากพบอาการเหล่านี้ ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษา พร้อมกับแยกตัวออกจากสมาชิกในครอบครัว ที่พัก หรือสถานที่ทำงาน
โรคฝีดาษลิงสามารถป้องกันได้ โดยงดเพศสัมพันธ์กับคนไม่รู้จัก ไม่สัมผัสแนบเนื้อกับผู้ที่มีผื่น ตุ่มหรือหนอง แนะนำให้ล้างมือบ่อย ๆ และไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และขอให้หน่วยงานสาธารณสุขทุกจังหวัด ร่วมกันเฝ้าระวังติดตามกลุ่มเสี่ยง พร้อมทั้งสื่อสารวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อ
นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เผย สถานการณ์ล่าสุดของโรคฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง) ในประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ม.ค.-18 ก.ย. 66) มีรายงานพบผู้ป่วยรวม 385 ราย เสียชีวิต 1 ราย เป็นผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ส่วนสัปดาห์นี้ พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 42 ราย แบ่งเป็น เพศชาย 41 ราย เพศหญิง 1 ราย โดยมีสัญชาติไทย 38 ราย คิดเป็น 90.5% นอกจากนี้ เป็นชาวเมียนมา 2 ราย จีน 1 ราย และอิตาลี 1 ราย
สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ที่พบ เป็นผู้ติดเชื้อ HIV ร่วมด้วย 29 ราย คิดเป็น 69.0% ของผู้ป่วยใหม่ทั้งหมด และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชายรักชายถึง 33 ราย
นอกจากนี้ เป็น Bisexual 3 ราย ชายรักหญิง 3 ราย และไม่ระบุ 3 ราย และผู้ป่วยใหม่ 17 ราย คิดเป็น 40.5% มีประวัติเสี่ยงมีเพศสัมพันธ์กับคนไม่รู้จัก
นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำหรับผู้ที่มีประวัติเสี่ยงติดเชื้อโรคฝีดาษลิง และสงสัยติดเชื้อ ได้แก่
1. มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วย
2. ทำความสะอาดห้องหรือใช้ห้องน้ำร่วมกับผู้ป่วยขณะผู้ป่วยมีอาการ
3. เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยสงสัยหรือผู้ป่วยฝีดาษวานรขณะป่วย
4. พูดคุยกับผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร โดยไม่สวมหน้ากากอนามัยในสถานที่ปิด
5. นั่งชิดติดกับผู้ป่วยสงสัยหรือผู้ป่วยฝีดาษวานร โดนไอจามรดโดยไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย
อาการที่อาจเกิดขึ้นหลังสัมผัสผู้ป่วย 21 วัน หากมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณหลังหู คอ ขาหนีบ หรือมีอาการเจ็บคอ คัดจมูก ไอ มีผื่น ตุ่มน้ำ ตุ่มหนองขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือบริเวณรอบ ๆ รวมถึงมีผื่น ตุ่มน้ำ ตุ่มหนองขึ้นตามมือ เท้า หน้าอก ใบหน้า บริเวณปาก หรือ อวัยวะเพศและรอบทวารหนัก เป็นต้น
หากพบอาการเหล่านี้ ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษา พร้อมกับแยกตัวออกจากสมาชิกในครอบครัว ที่พัก หรือสถานที่ทำงาน
โรคฝีดาษลิงสามารถป้องกันได้ โดยงดเพศสัมพันธ์กับคนไม่รู้จัก ไม่สัมผัสแนบเนื้อกับผู้ที่มีผื่น ตุ่มหรือหนอง แนะนำให้ล้างมือบ่อย ๆ และไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และขอให้หน่วยงานสาธารณสุขทุกจังหวัด ร่วมกันเฝ้าระวังติดตามกลุ่มเสี่ยง พร้อมทั้งสื่อสารวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อ