06 ตุลาคม 2566
612
กรมวิทย์ฯ พบเชื้อ “ซาลโมเนลลา” ในอาหารและน้ำ เสี่ยงป่วยอาหารเป็นพิษ แนะปรุงสุกก่อนกิน
นพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยถึงสถานการณ์การปนเปื้อนเชื้อซาลโมเนลาในประเทศไทย พบว่าจากการตรวจยืนยันเชื้อ Non-typhoidal Salmonella (NTS) ซึ่งเป็นเชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella spp.) กลุ่มไม่ใช่ไทฟอยด์ ก่อให้โรคระบบทางเดินอาหาร หรือโรคอาหารเป็นพิษ ที่เรียกว่า โรคซาลโมเนลโลสิส Salmonellosis
อาการของผู้ติดเชื้อ โดยทั่วไปมีจะมีการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และอุจจาระร่วง พบได้โดยการรับประทานที่ปนเปื้อนของเชื้อนี้เข้าไป ความรุนแรงของอาการป่วยจะแตกต่างไปตามชนิดและปริมาณเชื้อที่บริโภค ผู้ติดเชื้อที่มีอาการไม่รุนแรงไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านจุลชีพ เพราะอาการจะหายไปเองภายใน 7 วัน
สำหรับผู้ป่วยในกลุ่มที่เรียกว่า YOPI ได้แก่ ผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็ก (Young) ผู้ป่วยที่สูงอายุ (Old) ผู้ป่วยตั้งครรภ์ (Pregnant) และผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางภูมิคุ้มกัน (Immune deficient) อาจมีอาการรุนแรงหรือ “ติดเชื้อในกระแสเลือด” และ “เสียชีวิต”ได้
ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ ร่วมกับผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ทราบสายพันธุ์และรูปแบบการดื้อยาต้านจุลชีพ เพื่อเป็นแนวทางการรักษา
จากข้อมูลการตรวจยืนยันสายพันธุ์ของเชื้อซาลโมเนลลาทางห้องปฏิบัติการ ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในระหว่างเดือนม.ค.-ก.ค. 66 ได้รับตัวอย่างเชื้อบริสุทธิ์ที่ตรวจจากผู้ป่วย อาหาร และสิ่งแวดล้อม จำนวน 96 ตัวอย่าง จำแนกได้เป็น 33 ซีโรวาร์ (Serovar)
พบว่าสายพันธุ์ของซาลโมเนลลาที่พบมากสุด 3 ลำดับแรก คือ Salmonella Amsterdam, Salmonella Brunei และ Salmonella Weltevreden คิดเป็น 12.2%, 11.2% และ 10.2% ตามลำดับ โดยพบในวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ น้ำอุปโภค และผักสลัด ตามลำดับ
นอกจากนี้ มีรายงานการตรวจพบเชื้อซาลโมเนลลา ในผลิตภัณฑ์นำเข้า ณ ด่านตรวจสินค้าของสหภาพยุโรป พบในขนมฮาลวา (Halvah) จากสาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เป็นสายพันธุ์ Salmonella Amsterdam
พบเชื้อในกุ้งขาวแวนนาไม (Pacific white shrimp) และในเห็ดหูหนูดำแห้ง (Dired Mu-Err mushrooms) จากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็น Salmonella Brunei และ Salmonella Weltevreden ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบในประเทศไทยเช่นกัน
จากข้อมูลดังกล่าว บอกถึงสถานการณ์การปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลลาในอาหาร ที่พบได้ตลอดห่วงโซ่อาหารทั้งในอาหารและน้ำ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ สำหรับอาหารที่รับประทานโดยไม่ผ่านการปรุงสุกด้วยความร้อน มีความเสี่ยงการปนเปื้อนสูง
ดังนั้น ผู้บริโภคควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกด้วยความร้อน หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรเลือกซื้อจากแหล่งที่สะอาด และมีการล้างทำความสะอาด เพื่อลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนเชื้อ นพ.บัลลังก์ ระบุ
ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
อาการของผู้ติดเชื้อ โดยทั่วไปมีจะมีการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และอุจจาระร่วง พบได้โดยการรับประทานที่ปนเปื้อนของเชื้อนี้เข้าไป ความรุนแรงของอาการป่วยจะแตกต่างไปตามชนิดและปริมาณเชื้อที่บริโภค ผู้ติดเชื้อที่มีอาการไม่รุนแรงไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านจุลชีพ เพราะอาการจะหายไปเองภายใน 7 วัน
สำหรับผู้ป่วยในกลุ่มที่เรียกว่า YOPI ได้แก่ ผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็ก (Young) ผู้ป่วยที่สูงอายุ (Old) ผู้ป่วยตั้งครรภ์ (Pregnant) และผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางภูมิคุ้มกัน (Immune deficient) อาจมีอาการรุนแรงหรือ “ติดเชื้อในกระแสเลือด” และ “เสียชีวิต”ได้
ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ ร่วมกับผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ทราบสายพันธุ์และรูปแบบการดื้อยาต้านจุลชีพ เพื่อเป็นแนวทางการรักษา
จากข้อมูลการตรวจยืนยันสายพันธุ์ของเชื้อซาลโมเนลลาทางห้องปฏิบัติการ ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในระหว่างเดือนม.ค.-ก.ค. 66 ได้รับตัวอย่างเชื้อบริสุทธิ์ที่ตรวจจากผู้ป่วย อาหาร และสิ่งแวดล้อม จำนวน 96 ตัวอย่าง จำแนกได้เป็น 33 ซีโรวาร์ (Serovar)
พบว่าสายพันธุ์ของซาลโมเนลลาที่พบมากสุด 3 ลำดับแรก คือ Salmonella Amsterdam, Salmonella Brunei และ Salmonella Weltevreden คิดเป็น 12.2%, 11.2% และ 10.2% ตามลำดับ โดยพบในวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ น้ำอุปโภค และผักสลัด ตามลำดับ
นอกจากนี้ มีรายงานการตรวจพบเชื้อซาลโมเนลลา ในผลิตภัณฑ์นำเข้า ณ ด่านตรวจสินค้าของสหภาพยุโรป พบในขนมฮาลวา (Halvah) จากสาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เป็นสายพันธุ์ Salmonella Amsterdam
พบเชื้อในกุ้งขาวแวนนาไม (Pacific white shrimp) และในเห็ดหูหนูดำแห้ง (Dired Mu-Err mushrooms) จากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็น Salmonella Brunei และ Salmonella Weltevreden ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบในประเทศไทยเช่นกัน
จากข้อมูลดังกล่าว บอกถึงสถานการณ์การปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลลาในอาหาร ที่พบได้ตลอดห่วงโซ่อาหารทั้งในอาหารและน้ำ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ สำหรับอาหารที่รับประทานโดยไม่ผ่านการปรุงสุกด้วยความร้อน มีความเสี่ยงการปนเปื้อนสูง
ดังนั้น ผู้บริโภคควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกด้วยความร้อน หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรเลือกซื้อจากแหล่งที่สะอาด และมีการล้างทำความสะอาด เพื่อลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนเชื้อ นพ.บัลลังก์ ระบุ
ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์