17 ธันวาคม 2566
1,015
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ รู้ไว ปลอดภัยกว่า
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) เป็นโรคที่เกิดการติดเชื้อบริเวณเยื่อหุ้มที่หุ้มรอบสมองและไขสันหลังจนทำให้บริเวณดังกล่าวอักเสบบวม ทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมา โดยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบพบได้ในทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กอ่อน เด็กเล็ก วัยรุ่น จนถึงวัยผู้ใหญ่ และบางชนิดอาจเป็นอันตรายร้ายแรงหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที
สาเหตุของการเกิดโรค
- จากการติดเชื้อแบคทีเรีย- จากการติดเชื้อไวรัส
- จากการติดเชื้อรา
- จากการติดเชื้อจากพยาธิ
อาการที่สังเกตได้
- อาการปวดศีรษะรุนแรง- ปวดตึงต้นคอ/คอแข็ง (Stiffness of neck)
- มีอาการสับสน ไม่มีสมาธิในการจดจ่อ
- มีไข้สูง
- อาเจียน
- ตาพร่า หรือ มองเห็นภาพซ้อน
- ชัก
- กรณีมีอาการรุนแรง อาจจะมีอาการซึมลงได้
การวินิจฉัยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- การซักข้อมูลประวัติด้านสุขภาพของผู้ป่วย- การตรวจร่างกาย รวมถึงดูอาการทางระบบประสาท เช่น อาการคอแข็ง ระดับสติสัมปชัญญะ และ สัญญาณชีพจร
- การเก็บตัวอย่างโรคจากเลือดจากผู้ป่วยเพื่อเพาะเชื้อหาสาเหตุการเกิดโรคในเลือดที่ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- การวินิจฉัยทางรังสี ถ่ายภาพด้วย CT Scan หรือ MRI (Magnetic Resonance Imaging)
- การเจาะน้ำไขสันหลัง นับเป็นวิธีที่แน่นอนและแม่นยำในการวินิจฉัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยผู้ป่วยจะถูกเจาะน้ำจากไขสันหลังไปตรวจสอบ
แนวทางการรักษา
- การให้ยาต้านจุลชีพและยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ เป็นระยะเวลา ประมาณ 2 - 3 สัปดาห์- อาจจะมีการเจาะระบายความดันในโพรงกระโหลกร่วมด้วยหากยังมีอาการปวดศีรษะรุนแรง
การป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เนื่องจากภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถแพร่กระจายได้ทางการไอ จาม และการใช้ของใช้ส่วนตัวบางอย่างร่วมกัน เช่น แปรงสีฟัน หรือช้อน วิธีการป้องกันที่ดี คือ
- การรักษาสุขภาพและสุขอนามัย โดยการล้างมือบ่อย ๆ- หลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานอาหารจากภาชนะเดียวกับผู้อื่น
- เสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- การฉีดวัคซีนป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
รับชมวิดิโอเพิ่มเติม: https://youtu.be/rdfIxR40PGg?si=LxgtDP4HabKzBdzd