24 ธันวาคม 2566
1,462

เจาะปัญหาพัฒนาการเด็ก ความท้าทายสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน



ตามปกติแล้ว พัฒนาการของเด็กจะแบ่งออกเป็น 4 ด้านหลัก คือ 

  • พัฒนาการด้านร่างกาย 
  • พัฒนาการด้านอารมณ์ 
  • พัฒนาการด้านสังคม 
  • พัฒนาการด้านสติปัญญา 

โดยเด็กในแต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการที่แตกต่างกันตั้งแต่เด็กทารกแรกเกิดไปจนถึงวัยรุ่น ดังนั้น ผู้ปกครองจึงควรดูแลเด็กในแต่ละช่วงวัยให้มีพัฒนาการที่เหมาะสม แบ่งออกเป็น


เด็กแรกเกิด (Newborn) คือเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 เดือน
  • ในช่วงวัยนี้ ถือเป็นช่วงเวลาของการเรียนรู้ระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูก 
  • เด็กในวัยนี้จะมีความต้องการพื้นฐาน คือ กิน นอน ร้อง ถ่าย 
  • มีการเคลื่อนไหวที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ เช่น ตกใจเมื่อได้ยินเสียงดัง, กำนิ้วมือเมื่อมีของแตะที่ฝ่ามือ ฯลฯ 
  • เด็กจะพอมองเห็นสิ่งของที่อยู่ใกล้ ๆ เช่น ใบหน้าของพ่อแม่ จำกลิ่นบางอย่างได้ ยิ้มและร้องไห้เพื่อสื่อการถึงความต้องการ 
  • ดังนั้นพ่อแม่ ต้องคอยใส่ใจเป็นพิเศษว่าเสียงร้องของลูกน้อยหมายความว่าอะไร เพื่อที่จะตอบสนองได้อย่างเหมาะสม 

เด็กทารก (Infant) คือเด็กที่มีอายุระหว่าง 1 ถึง 12 เดือน
  • ในวัยนี้ เด็กจะเริ่มแสดงออกถึงพัฒนาการใหม่ ๆ อย่างรวดเร็ว
  •  คุณพ่อ คุณแม่ ควรหมั่นเสริมพัฒนาการลูกน้อย ผ่านการพูดคุย เฝ้ามองพฤติกรรม ปล่อยให้ลูกฝึกหัด หรือ ให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาทักษะต่างๆ ด้วยความปลอดภัย 
  • พ่อแม่สามารถให้ของเล่นที่เหมาะสมเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเด็ก 
  • ระยะนี้เป็นช่วงของการสร้างความไว้ใจ พ่อแม่ควรสอนให้ลูกเรียนรู้ที่จะไว้ใจโดยการตอบสนองความต้องการของลูก อย่างทันท่วงที และเหมาะสม เพื่อความมั่นคงทางอารมณ์ในอนาคต

 

เด็กวัยเตาะแตะ (Toddler)
  • ในวัยนี้ เป็นช่วงอายุที่เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเอง ไม่ชอบการบังคับ 
  • พัฒนาการด้านร่างกาย สมอง อารมณ์ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และจะมีพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ควบคู่ไปด้วย 
  • สมองของเด็กจะเติบโตมากขึ้น เรียนรู้เรื่องซับซ้อนได้มากขึ้น เป็นวัยที่สมองของเด็กพัฒนาได้มากที่สุดและรวดเร็วที่สุดกว่าช่วงอื่น 
  • พ่อแม่จึงควรกระตุ้นให้ลูกสำรวจสิ่งใหม่ ๆ และให้ลูกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อสร้างความมั่นใจในตัวเอง


เด็กก่อนวัยเรียน (Preschoolers) คือเด็กที่มีอายุระหว่าง 3 ถึง 6 ปี
  • ในวัยนี้เด็กจะสามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดีขึ้นเล็กน้อย
  •  มีทักษะทางด้านร่างกายเพิ่มมากขึ้น 
  • สนใจในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ 
  • พยายามสร้างความสัมพันธ์และเล่นกับเด็กคนอื่น ๆ 
  • พูดคุยหรือสนทนายาว ๆ ได้ ซึ่งเด็กในวัยนี้จะชอบซักถามในเรื่องต่าง ๆ ดังนั้น พ่อแม่จึงควรหมั่นพูดคุยกับลูกเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้วย


เด็กวัยเรียน (Middle Childhood) คือเด็กที่มีอายุระหว่าง 6 ถึง 12 ปี
  • ในวัยนี้ เป็นช่วงเวลาสำคัญของเด็กในการเรียนรู้ทักษะชีวิต สมองของเด็กพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทักษะการใช้กล้ามเนื้อพัฒนาอย่างเต็มที่ 
  • เด็กจะสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นและให้ความสำคัญต่อกลุ่มทางสังคม 
  • ควรส่งเสริมให้ลูกได้เรียนรู้ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง 
  • สำหรับพัฒนาการทางด้านสมอง เด็กวัยนี้สามารถที่จะคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น 
  • พ่อแม่อาจปล่อยให้ลูกได้ตัดสินใจเองบ้าง เพื่อให้ลูกได้รู้สึกภาคภูมิใ


เด็กวัยรุ่น (Adolescence) คือเด็กที่มีอายุระหว่าง 12 ถึง 21 ปี
  • ในวัยนี้ เป็นช่วงเวลาที่เด็กจะมีพัฒนาการทั้งทางร่างกาย สติปัญญา และ จิตใจ ก่อนที่จะก้าวสู่วัยผู้ใหญ่ 
  • ผู้หญิงมักจะเจริญเติบโตทางร่างกายเร็วกว่าผู้ชายประมาณ 2 ปี ในขณะที่พัฒนาการด้านสติปัญญานั้นอาจใกล้เคียงกัน 
  • เด็กวัยรุ่นจะมีความสามารถทางความคิดอย่างมีระบบ ลึกซึ้งและซับซ้อนมากขึ้น รู้จักการจัดการกับอารมณ์และการแก้ปัญหา 
  • พ่อแม่ควรจะให้คำแนะนำในการจัดการกับปัญหาต่างๆไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายสติปัญญาและจิตใจ 
  • ควรให้อิสระทางความคิด  การเรียนรู้ และการตัดสินใจต่าง ๆ ภายใต้การดูแลที่เหมาะสม 

ตามคำแนะนำของแพทย์ทางด้านพัฒนาการเด็ก ตั้งแต่คุณแม่ตั้งครรภ์จนถึงลูกอยู่ในวัยก่อนเรียน สามารถอ้างอิงพัฒนาการด้านต่างๆ ทั้งร่างกาย-พฤติกรรม การรับวัคซีน และ โภชนาการ ของแม่และเด็ก จากสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก หรือ สมุดชมพู ซึ่งจัดทำโดย สปสช. และกรมอนามัย ซึ่งจะมีการอัพเดทททุก ๆ 3 ปี ตามบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป หรือ พ่อแม่ อาจจะอ้างอิงพัฒนาการของลูก ตามคู่มือการเฝ้าระวัง และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หรือ DSPM


ส่วนปัญหาทาง สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม ของเด็ก ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาความก้าวร้าว สมาธิสั้น การติดหน้าจอ ความเครียด รวมถึงโรคบางอย่างเช่นออทิสติก ในปัจจุบันมีความตระหนักรู้มากขึ้น พ่อแม่ควรหมั่น สังเกตพฤติกรรมของลูกอย่างใกล้ชิด และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร็ว หรือถ้าไม่สามารถจัดการปัญหาดังกล่าวเองได้ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ไขปัญหาก่อนที่จะมีความรุนแรงมากขึ้น




รับชมวิดิโอเพิ่มเติม: https://fb.watch/p3MXKDbUOf/
ติดต่อโฆษณา!