One Day with นักฉุกเฉินการแพทย์
นักฉุกเฉินการแพทย์ เป็นอาชีพที่เพิ่งมีมาไม่นานในประเทศไทย เพิ่งมีมา 10 กว่าปีนี้เอง แต่ในต่างประเทศมีมานานแล้ว เป็นอาชีพที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล
One Day with Me by RAMA Chanel ในวันนี้ จะพาทุกคนไปรู้จักกับอาชีพการเป็น “นักฉุกเฉินการแพทย์” หรือ Paramedic โดย อ. นฉพ.พลวัฒน์ กานต์ชยาวงศ์ หรือคุณยิม นักฉุกเฉินการแพทย์ และผู้ช่วยอาจารย์หลักสูตรฉุกเฉินการแพทยบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ให้คำแนะนำและอธิบายภารกิจ ตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่ในการช่วยเหลือชีวิตคนในช่วงนาทีความเป็นและความตาย
เริ่มต้นกันเลย ภารกิจในช่วงเช้า อ. นฉพ.พลวัฒน์ เล่าให้ฟังว่า จะเป็นการเรียนการสอนหรือการทำ Workshop การปฏิบัติการกลุ่มย่อย กลุ่มละ 3 - 4 คน โดยใช้เวลา 10 - 15 นาที
จากนั้นมี Class การสอนใส่ท่อช่วยหายใจ หรือ Endotracheal Tube ให้กับนักศึกษาฉุกเฉินการแพทย์
ในช่วง 13.00 น. เป็นการ Orientate นักศึกษาฝึกงานชั้นปีที่ 4 ผ่านทางออนไลน์ โดยใช้เวลาในการสอน 1 ชั่วโมง จากนั้นก็พาไปต่อยังหน่วยที่เรียกว่า หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ หรือ Ramathibodi Emergency Medical Operation Unit (RAMA EMO Unit)
โดยเป็นหน่วยปฏิบัติการทางการแพทย์ที่นอกจากจะออกรับแจ้งเหตุผู้ป่วยฉุกเฉินออกไปช่วยเหลือผู้ป่วยที่นอกโรงพยาบาล ยังมีการประสานงานเพื่อนำส่งผู้ป่วยเข้าไปสู่ห้องฉุกเฉินที่โรงพยาบาลรามาธิบดี
หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ของโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับรางวัลมากมาย ล่าสุดเป็นรางวัลการแข่งขันEMS Asia 2023 Championship หรือการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับเอเชีย ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยหน่วยปฏิบัติการของโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับรางวัลที่ 2 ของเอเชีย
ศูนย์สั่งการหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ จะเป็นห้องประสานงานนำส่งผู้ป่วยและเป็นห้องสั่งการเวลาออกเคสฉุกเฉินต่าง ๆ ซึ่งมีแพทย์ Consult 24 ชั่วโมง และมีเจ้าหน้าที่ดู Monitor สามารถ Monitor กลับมาที่ศูนย์ได้นอกจากนี้ จะมีเจ้าหน้าที่ตำแหน่ง EMD ที่คอยรับสาย รับแจ้งเหตุ แล้วจดประสานงานข้อมูลต่าง ๆ อีกด้วย
ทั้งนี้ ศูนย์ของโรงพยาบาลรามาธิบดีจะรับสายด่วน 1669 เพราะติดกับศูนย์บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน กรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ซึ่งจะแบ่งเป็น 12 โซน เกิดเหตุใกล้ที่ไหน โรงพยาบาลที่ใกล้จะออกไปรับตามความเหมาะสม
เวลามีเคสโทรมาที่สายด่วน 1669 ก็รับสายและบันทึกข้อมูลและสั่งการพิมพ์ได้ เมื่อกดออด ทีมที่ Stand by อยู่ 24 ชั่วโมง ก็จะไปที่รถ Ambulance เพื่อออกเคส และเดินทางไปจุดเกิดเหตุ
นักฉุกเฉินทางการแพทย์ Paramedic ของที่นี่มีด้วยกัน 20 คน และมีอาจารย์แพทย์ที่เป็น Staff ด้วย จะมีรถ Ambulance ที่เป็นคันสีเหลืองสำหรับส่วนฉุกเฉินการแพทย์ 3 คัน รวมอุปกรณ์ที่ใช้ในการแพทย์ฉุกเฉินต่าง ๆ
นอกจากนี้มีห้องพักสำหรับการรอปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่สามารถพักผ่อน หลังออกเคสแล้วก็จะมารอในห้องประชุม เพื่อทำการรีวิวเคส เพื่อประเมินว่า ส่วนไหนที่ทำได้ดี และส่วนไหนที่จะปรับปรุงบ้าง ก็จะมีการคุยกันหลังจากนั้น
ก่อนจะเริ่มเวรบ่ายในวันอังคารและพฤหัสบดี ก็จะมีการออกกำลังกายของเจ้าหน้าที่ ที่เป็นนักฉุกเฉินการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ มาออกกำลังกายร่วมกัน เวลาออกไปเคสข้างนอก เราจะต้องยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมาก จะสามารถใช้ท่าที่ถูกต้องได้และจะได้มีสุขภาพกายที่ดีและแข็งแรงตลอดเวลา
รถ Ambulance ของโรงพยาบาลรามาธิบดี มีสีตามระเบียบใหม่ของสำนักงานฉุกเฉินแห่งชาติ รถคันนี้ก็จะเป็นไปตามมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด มีมาตรฐานความปลอดภัยครบถ้วน
- อุปกรณ์ที่อยู่ในรถ Ambulance
หลัก ๆ ก็จะมีอุปกรณ์ไว้ช่วยชีวิต จะแบ่งออกเป็น 2 กระเป๋า คือ อุปกรณ์สำหรับทางเดินหายใจ (Airway) อีกกระเป๋าจะเป็น Circulation เกี่ยวกับเรื่องของความดัน เรื่องของเลือด การให้สารน้ำ หรือน้ำเกลือต่าง ๆ ก็จะอยู่ในกระเป๋าเดียวกันเพื่อให้สะดวกต่อการหยิบใช้
การออกเคส 1 ครั้งจะใช้บุคลากร 3 คน โดยที่ 2 คน แบ่งหน้าที่ช่วยกันรักษา อีกคนก็ช่วยขับรถและดูแลความปลอดภัยว่า ในทีมจะต้องมีความปลอดภัยอย่างไรบ้าง หรือว่าจะเคลื่อนย้ายอย่างไร เลือกอุปกรณ์เคลื่อนย้ายให้เหมาะสม
นอกจากนี้ ยังมีเครื่องวัดความดันที่สามารถใช้วัดความดันได้และช็อกไฟฟ้าหัวใจได้ เป็นเครื่อง Monitor เชื่อมต่อกับศูนย์สั่งการได้ เป็นระบบแบบ Real Time ข้อมูลไปถึงแพทย์สามารถตัดสินใจช่วยเหลือและรักษาได้เร็วมากขึ้น
ความพิเศษของรถคันนี้ที่คันอื่นไม่มีคือ เปลไฟฟ้าระบบ Hydraulic ซึ่งปัญหาของนักฉุกเฉินการแพทย์ส่วนใหญ่หรือปัญหาของบุคลากรทางการแพทย์ มีปัญหาอาการปวดหลัง ซึ่งเปลนี้ก็ลดภาระของบุคลากรได้บ้าง
“สำหรับตัวผมเอง ได้รับโอกาสเข้าไปช่วยกำกับหรือเป็นที่ปรึกษาในซีรีส์หลายเรื่อง ที่เป็นซีรีส์ทางการแพทย์ ยกตัวอย่าง ซีรีส์เรื่องรักฉุดใจนายฉุกเฉิน หรือในเรื่องอื่น ๆ ทำให้คนรู้จักอาชีพนี้ หรือรู้จักสาขานี้มากขึ้น” - สิ่งที่ต้องมีสำหรับนักฉุกเฉินทางการแพทย์
สิ่งที่ต้องมีประการแรก คือ ต้องเตรียมใจให้ดี เราต้องเจอกับอะไรหลายอย่าง ต้องรอบคอบแล้วก็ปลอดภัย เตรียมใจให้ดีกับอะไรที่อาจจะเกิดขึ้น มีไหวพริบ ปฏิภาณ มีสติตลอดเวลาที่อยู่หน้างาน
การเรียนจะมีการฝึกจำลองสถานการณ์ ดังนั้นระหว่างที่เรียนจะมีการสอบปฏิบัติ ในเวลาที่จำกัดเพื่อประเมินว่าสามารถจัดการผู้ป่วยอย่างเหมาะสมได้หรือไม่
อีกอย่างที่ต้องมีคือ “ความเสียสละ” เพราะอาชีพนี้ต้องเข้าไปช่วยเหลือคน ต้องอยู่เวรไม่เป็นเวลา ยิ่งช่วงเทศกาลเป็นช่วงที่เกิดเหตุฉุกเฉินมาก เช่น อุบัติเหตุทางจราจร คนเดินทางออกต่างจังหวัดกันมาก เพื่อให้เขาพ้นจากภาวะวิกฤติ ต้องทำการช่วยเหลือตรงนั้น
ความประทับใจในการเป็นนักฉุกเฉินการแพทย์
“การต้องอยู่กับผู้ป่วยฉุกเฉินที่อยู่ระหว่างความเป็นกับความตาย การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน แม้จะมีเพียง 1% ที่ทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตเพิ่มขึ้น เราถือว่า คุ้มที่จะเสี่ยง ที่จะช่วยให้เขารอดชีวิต และอาชีพนี้ต้องเสียสละ เพราะต้องช่วยเหลือคนและอยู่เวรไม่เป็นเวลา” นฉพ.พลวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย
รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/Udu_2tzIC0Y?si=4x--xomFHgk-akgt