01 กุมภาพันธ์ 2567
1,303

เรียนรู้ เข้าใจ ปรับตัวใหม่ ห่างไกล NCDs

เรียนรู้ เข้าใจ ปรับตัวใหม่ ห่างไกล NCDs



NCDs หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงที่เราสร้างขึ้นมาเอง ล้วนเป็นโรคร้ายแรงที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตเป็นจำนวนมากในแต่ละปี 

Stay Healthy ❗ by RAMA Channel โดยโรงพยาบาลรามาธิบดี ในวันนี้จัดเวทีเสวนาร่วมกับบริษัทสยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพพนักงานและบุคคลทั่วไปให้ห่างไกลโรคร้าย ในหัวข้อ “เรียนรู้ เข้าใจ ปรับตัวใหม่ ห่างไกล NCDs”

คุณณรงค์ชัย บัณฑิตวรภูมิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สยามโตโยต้า อุตสาหกรรม จำกัด กล่าวว่า NCDs เป็นโรคที่พนักงานเป็นกันเยอะ ค่าใช้จ่ายสูง ทางบริษัทพยายามดูแลพนักงาน โดยร่วมกับทางมูลนิธิรามาธิบดี ร่วมกันสนับสนุนให้พนักงานได้ดูแลสุขภาพ และป้องกันการเกิดโรค 

นอกจากการดูแลรักษาพยาบาลแล้ว ก็พยายามป้องกันการเกิดโรค พนักงานก็มี Work and Balance ที่ดี เมื่อพนักงานมีสุขภาพดีและแข็งแรง ประสิทธิภาพการทำงานก็ดีตามไปด้วย 

ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มาให้ความรู้และคำแนะนำด้านสุขภาพในวันนี้ประกอบด้วย อ. นพ.ธเนศ แก่นสาร ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว และ ผศ. ดร.  นพ.ไพฑูรย์ เบญจพรเลิศ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 


NCDs คืออะไร 

NCDs หรือ Non-Communicable Diseases หมายถึง “กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” ส่วนใหญ่เป็นโรคที่เกี่ยวกับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิตอย่างไม่ระมัดระวัง เมื่อสะสมนานวันเข้าส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบไม่รู้ตัว


20240201-b-01.jpg

▪️ NCDS โรคที่คุณสร้างเอง ประกอบด้วย 6 โรค ได้แก่ 

1. โรคความดันโลหิตสูง 

2. โรคถุงลมโป่งพอง

3. โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ

4. โรคเบาหวาน

5. โรคอ้วนลงพุง

6. โรคมะเร็ง


20240201-b-02.jpg



▪️ สัญญาณเตือนของการเกิดโรค 6 โรคร้าย NCDs

1. โรคเบาหวาน 

- ปัสสาวะบ่อนช่วงกลางวัน

- น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ 

- เป็นแผลแล้วหายยาก 

- มีปื้นดำที่คอ ข้อพับ และขาหนีบ



2. โรคความดันโลหิตสูง

- หลังตื่นนอนจะมึนงง ตาพร่า 

- เลือดกำเดาออกบ่อย ๆ 

- ปวดหัวเฉียบพลันบ่อย ๆ 

- เหนื่อยง่าย ใจสั่น



3. โรคถุงลมโป่งพอง 

- ไอเรื้อรัง

- เป็นหวัดง่าย หายช้า 

- เหนื่อยหอบ

- หายใจมีเสียงวี้ด 



4. โรคหัวใจ สมอง หลอดเลือด

- แขน ขา อ่อนแรงเฉียบพลัน

- ปลายมือ ปลายเท้าชา

- ปวดร้าวที่อกซ้าย 

- ปากเบี้ยวพูดลำบาก 


5. โรคมะเร็ง

- เบื่ออาหาร 

- น้ำหนักลด 

- ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลงจากเดิม



6. โรคอ้วนลงพุง 

- รูปร่างคล้ายลูกแพร์

- ทำอะไรเหนื่อยง่าย 

- ช่องท้องมีไขมันสะสมเป็นชั้น ๆ 

- ข้อเข่ารับน้ำหนักไม่ไหว 



ทั้งนี้การตรวจเช็กสุขภาพทั่วไป ก็พอจะมองเห็นแนวโน้มการปอดของที่มาของโรคเหล่านี้ การอ้วนลงพุง มักจะตามมาด้วยโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน 

หรือการประเมินแบบง่าย ๆ สำหรับน้ำหนักและส่วนสูงที่เหมาะสม สำหรับเพศชาย ส่วนสูง - 100 สำหรับเพศหญิง ส่วนสูง - 110 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน จะช่วยได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็น กาแฟเย็น ชานมไข่มุก ปริมาณ 1 แก้ว เท่ากับ 500 กิโลแคลลอรี จะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเร็วมากหากเป็นพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ 



20240201-b-03.jpg


▪️ ภาวะ Long Covid กับผู้ป่วย NCDs เกี่ยวพันกันอย่างไร 

ในการเป็นโควิดแต่ละครั้ง จะทำให้ร่างกายของผู้ป่วย NCDs ได้รับผลกระทบมากกว่าปกติ เนื่องจากสุขภาพร่างกายอ่อนแอเป็นทุนเดิม ดังนั้นหากเป็นโรคโควิดหลาย ๆ ครั้ง มีความเป็นไปได้ว่าอาการ Long Covid จะรุนแรงกว่าคนทั่วไป 


20240201-b-04.jpg


▪️ อัตราการเสียชีวิต จากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังร้อยละ 75 หรือ 320,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 37 คน

1. โรคหลอดเลือดสมอง เสียชีวิต 27,884 คน ร้อยละ 42.6 

2. โรคหัวใจขาดเลือด เสียชีวิต 18,922 คน ร้อยละ 28.92 

3. โรคเบาหวาน  เสียชีวิต 11,655 คน ร้อยละ 27.83 

4. โรคความดันโลหิตสูง เสียชีวิต 7,578 คน ร้อยละ 11.58 

5.โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง เสียชีวิต 6,034 คน ร้อยละ 9.22 

สำหรับโรคมะเร็ง มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง เช่นสำหรับผู้หญิงมักจะเป็นมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ส่วนผู้ชายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปอด เป็นต้น


20240201-b-05.jpg


▪️ ปรับพฤติกรรมห่างไกล NCDs 

1. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ 

2. การขยับร่างกาย บ่อย ๆ ในกรณีที่ต้องนั่งนาน ๆ 

3. การออกกำลังกาย ระดับปานกลางกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้ได้ 150 นาทีต่อสัปดาห์ 

4. เพิ่มผักผลไม้ เลี่ยงกินอาหารรสจัด 

5. พักผ่อนให้เพียงพอ 7 - 8 ชั่วโมงต่อวัน 

6. ทำกิจกรรมที่ชอบ ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย

กรณีเป็นโรคทางพันธุกรรม ก็สามารถควบคุมพฤติกรรมได้ จะเกิดโรคช้าลงและไม่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน  

ปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือการตรวจสอบโรคต่างๆที่ทันสมัย การตรวจสอบมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เช่นการตรวจมะเร็งเต้านม ก็จะตรวจพบเร็วขึ้น มีทางเลือกในการรักษาได้หลายทางมากขึ้น ดังนั่นแนะนำควรตรวจเช็กสุขภาพทุกปี

รับชมวิดีโอ : https://fb.watch/pWSXzaHv5o/



ติดต่อโฆษณา!