มะเร็งไทรอยด์ อย่าปล่อยให้สายไป
ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์อยู่บริเวณลำคอ มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ ทำหน้าที่ คือ ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อร่างกาย โดยทำหน้าที่รักษาระดับเมตาบอลิซึมของร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต อุณหภูมิของร่างกาย ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ และน้ำหนักหากผู้ป่วยเกิดความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์หรือเป็นมะเร็งไทรอยด์ก็จะส่งผลทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติไปด้วย
ซึ่งถ้าพูดถึงมะเร็งไทรอยด์นั้นจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย จัดอยู่ในอันดับ 7 ของมะเร็งทั้งหมดที่พบในเพศหญิง มะเร็งไทรอยด์เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในต่อมไทรอยด์ และพัฒนาเป็นก้อนมะเร็งขึ้น และอาจจะขยายโตขึ้นเรื่อย ๆ สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้
สาเหตุของการเกิดมะเร็งไทรอยด์
ปัจจุบันยังไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดว่ามะเร็งไทรอยด์เกิดจากสาเหตุอะไร แต่มีหลายปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยง ดังนี้
- การได้รับรังสีบริเวณลำคอหรือบริเวณต่อมไทรอยด์
- เคยเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
- ขาดแร่ธาตุไอโอดีน
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์
อาการของมะเร็งไทรอยด์
- มะเร็งไทรอยด์ในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ
- คลำพบก้อนนูนใต้ผิวหนังบริเวณกึ่งกลางลำคอ (ก้อนเดียวหรือหลายก้อน)
- เสียงแหบ
- หายใจลำบาก
- หายใจมีเสียงหวีด
- กลืนลำบากหรือรู้สึกเจ็บขณะกลืน
- เจ็บบริเวณลำคอหรืออาจะลามไปที่หู
- ต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอบวม
การตรวจหามะเร็งไทรอยด์
- ซักประวัติ โรคประจำตัว และการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
- การตรวจเลือด
- การทำอัลตราซาวด์
- การตรวจด้วยไอโอดีนรังสี
- การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
- การทำไทรอยด์สแกน
- การตรวจชิ้นเนื้อ
แนวทางการรักษามะเร็งไทรอยด์
- การผ่าตัด
- การรับประทานไอโอดีนรังสีหรือที่เรียกว่า “การกลืนแร่”
- การรับประทานยาฮอร์โมนไทรอยด์
- การฉายรังสี การทำเคมีบำบัด (การฉายรังสี-เคมีบำบัดไม่ค่อยมีความจำเป็นในการรักษา จะใช้เฉพาะผู้ป่วยบางรายที่มีการกลับมาเป็นซ้ำหรือเป็นโรคในระยะลุกลาม)
การป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งไทรอยด์
- การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง
- เลือกรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนสูง
- ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี
หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายควรรีบพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและตรวจรักษาอย่างทันท่วงที ด้วยความปรารถนาดีจาก #ทันข่าวสุขภาพ
รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/jgfPLt6PyHk?si=JAs9ngProRKG96FF