13 เมษายน 2567
938

ต่อมไทรอยด์อักเสบ ภาวะผิดปกติที่ต้องทำความเข้าใจ


ต่อมไทรอยด์อักเสบ เป็นโรคที่มีอาการอักเสบของเนื้อเยื่อไทรอยด์ มีสาเหตุและอาการที่แตกต่างกันได้หลายชนิด ทั้งจากไวรัส หรือจากภูมิคุ้มกันตัวเองทำลายต่อม ส่งผลให้เกิดไทรอยด์ต่ำหรือสูงผิดปกติ 

ในช่วงแรกอาจมีอาการต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ คือ น้ำหนักลด ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว  มือสั่น ขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย แล้วต่อมาจึงมีภาวะขาดไทรอยด์ตามมา ซึ่งมีอาการ คือ น้ำหนักขึ้น อ่อนเพลีย ขี้หนาว ท้องผูก ผิวแห้ง ใบหน้าบวมโต เสียงแหบ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และต่อมาจะค่อย ๆ หายเป็นปกติได้เองในที่สุด ซึ่งอาจใช้เวลานาน 2 - 3 เดือน


20240413-b-01.jpg


🚩 ชนิดของต่อไทรอยด์อักเสบ 

1. ต่อมไทรอยด์อักเสบฉับพลัน

สามารถแบ่งอาการอักเสบ ตามระยะเวลาการเกิด ถ้าช่วงเวลาที่เกิด เป็นการเกิดต่อมไทรอยด์อักเสบฉับพลัน หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นต่อมไทรอยด์อักเสบติดเชื้อ โดยส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับการติดเชื้อแบคทีเรีย 

แบคทีเรียที่ได้ยินกันบ่อยคือ Streptococcus  แต่แบคทีเรียชนิดนี้เกิดไม่บ่อย เพราะเชื่อว่าต่อมไทรอยด์ของคนเรา มีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อโรคได้ดี ดังนั้นเรามักจะพบในผู้ป่วยที่มีโครงสร้างของช่องคอที่ผิดปกติ อาจจะมีการเจริญเติบโตบางอย่างทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างในช่องคอกับตัวต่อมไทรอยด์ เชื้อโรคก็จะเติบโตทำให้เกิดการอักเสบได้ 

2. ไทรอยด์อักเสบกึ่งฉับพลัน ส่วนใหญ่เกิดตามหลังกลุ่มติดเชื้อไวรัส หลังเป็นไข้หวัดใหญ่ หลังเป็นไข้หวัดคางทูม มักจะเกิดหนึ่งเดือนหลังการติดเชื้อ ในระบบทางเดนหายใจ หรือเชื้อไวรัสต่าง ๆ 

3. ต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง หรือที่เรียกว่า โรคฮาชิโมโตะ มีสาเหตุจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ที่สร้างมาต้านการทำงานของต่อมไทรอยด์ 

20240413-b-02.jpg


🚩 อาการต่อมไทรอยด์อักเสบ

1. ปวดและกดเจ็บที่ต่อมไทรอยด์ อาจจะปวด ติดเชื้อเป็นหนอง ปวด บวมแดงที่บริเวณต่อมไทรอยด์ หรือบริเวณคอ อาจจะมีไข้สูงได้

2. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายคล้าย ๆ กัน จากนั้นเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันที่สร้างการทำงานของต่อมไทรอยด์ พอทำงานลดลง ฮอร์โมนไทรอยด์ก็จะลดลงเรื่อย ๆ กลายเป็นภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ 

ถ้าเป็นกลุ่มเรื้อรังหรือฮาชิโมโตะ จะไม่ค่อยกลับไปปกติ ต้องอาศัยการรักษาด้วยยา เพื่อชดเชยการทำงานของต่อมไทรอยด์แทน ขณะที่กลุ่มฉับพลันจะมีอาการดีขึ้นได้ในภายหลัง 

ในขณะที่ฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ต่ำ จะมีอาการอ่อนเพลีย บวมฉุ ระบบเผาผลาญไม่ค่อยดี น้ำหนักขึ้น นอกจากนี้อาจจะเกิดจากการใช้ยาบางชนิด อาจส่งผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้เกิดการอักเสบได้ 

ที่พบบ่อย ได้แก่กรณีของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งบริเวณหู คอ จมูก ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสงบริเวณ ส่วนใหญ่จะฉายแสงโดนบริเวณต่อมไทรอยด์ไปด้วย ก็จะมีผลในระยะยาวเกิดการอักเสบได้ ทำให้ต่อมไทรอยด์ลดลงช้า ท้ายที่สุดก็เกิดภาวะฮอร์โมนต่ำได้เช่นกัน 


20240413-b-03.jpg

🚩 การรักษาต่อมไทรอยด์อักเสบ 

1. รักษาสาเหตุ

ให้ปฏิชีวนะ กรณีเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย รักษาภาวะฮอร์โมนผิดปกติ

2. การรักษาภาวะฮอร์โมนผิดปกติ

กรณีไทรอยด์ฮอร์โมนสูง จะให้ยาต้านการทำงานของต่อมไทรอยด์ กรณีฮอร์โมนต่ำ จะให้ยาไทรอยด์ฮอร์โมน

3. การประคับประคองตามอาการ

ให้ยาลดไข้ ยาแก้อักเสบ และยาบรรเทาอาการ 

ทั้งนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มาพบแพทย์จะเป็นกลุ่มติดเชื้อแบบฉับพลัน และกลุ่มฮาชิโมโตะ หรือกลุ่มเรื้อรัง

อย่างไรก็ตามผู้ป่วยในกลุ่มติดเชื้อแบบฉับพลัน เมื่อรักษาหายแล้ว ก็มีโอกาสกลับเป็นใหม่ได้อีก หรือบางคนที่ติดเชื้อแบคทีเรีย ติดเชื้อจนเป็นหนอง ก็มีโอกาสที่ต้องไปผ่าตัด เพื่อระบายหนองบริเวณคอออกไป  ส่วนผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งไทรอยด์ จะใช้วิธีการผ่าตัดเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นกรณีที่เป็นการทำงานขอต่อมไทรอยด์ผิดปกติ ก็จะรักษาโดยการให้ยาเป็นหลัก

โรคไทรอยด์เป็นพิษ มักจะเจอในช่วงแรก ๆ   ที่เป็นไทรอยด์อักเสบ  แต่เมื่อเป็นโรคนี้ไปสักระยะแล้วก็จะเกิดภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ 



🚩การป้องกันโรคต่อมไทรอยด์อักเสบ

การป้องกัน จะเกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน สิ่งที่ทำได้คือ ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้ภูมิคุ้มกันทำงานเป็นปกติ เพื่อป้องกันการเกิดไทรอยด์อักเสบได้ 

เนื่องจากไทรอยด์อักเสบติดได้จากเชื้อไวรัสได้ด้วย ดังนั้นการดูแลความสะอาดเช่น ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร  กินร้อน ช้อนกลาง ก็ยังคงช่วยลดการติดเชื้อจากโรคนี้ได้เช่นกัน 

มักพบคนไทยเป็นโรคไทรอยด์บ่อย พบทุกช่วงวัย แต่ถ้าเป็นไทรอยด์อักเสบ จะพบกับผู้ป่วยในช่วงอายุเกิน 30 ปีขึ้นไป และเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 

ไทรอยด์อักเสบกึ่งฉับพลัน เมื่อเป็นสามารถหายเองได้ แต่ถ้าเป็นไทรอยด์จากแพ้ภูมิตัวเอง ก็ต้องใช้เวลารักษายาวนาน อาจะ 1 - 2 ปี ดังนั้นไทรอยด์เป็นพิษเกิดได้จากหลายสาเหตุ



รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/CzlCeKvDdXs?si=udyu-1zEN0dUFRf4

ติดต่อโฆษณา!