20 เมษายน 2567
915

โรคลำไส้กลืนกัน ภัยเงียบของลูกน้อยที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง


โรคลำไส้กลืนกัน เป็นภาวะที่เป็นภาวะที่ลำไส้ส่วนหนึ่งเคลื่อนตัวเข้าไปในลำไส้ส่วนที่อยู่ปลายกว่า ทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน ภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ลำไส้ขาดเลือด ลำไส้ทะลุ ภาวะนี้พบได้บ่ายในเด็กอายุ 3 เดือน ถึง 2 ปี และพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง 

ส่วนสาเหตุนั้น ร้อยละ 90 ไม่พบสาเหตุที่แน่นอน แต่อาจพบว่าเกิดตามหลังภาวะลำไส้อักเสบ จากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส ซึ่งให้ลำไส้บวม จึงบีบตัวไม่ปกติ ทำให้เกิดลำไส้กลืนกันตามมา หรือเด็กมีก้อนหรือติ่งเนื้อผิดปกติในลำไส้ ซึ่งสามารถเป็นจุดนำทำให้ลำไส้กลืนกันได้ 

ลัดคิวหมอรามา วันนี้ อ. พญ.อัญญพร สุทัศน์วรวุฒิ ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว และ ผศ. นพ.ชลศักดิ์ ถิรภัทรพันธ์ สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มาร่วมแชร์ความรู้และให้คำแนะนำในการดูแลรักษา


20240420-b-02.jpg

🚩สาเหตุของลำไส้กลืนกัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม 

1. เกิดที่ลำไส้ เช่น มีติ่งเนื้อ เป็นก้อนผิดปกติ ที่เกิดขึ้นบริเวณลำไส้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ลำไส้กลืนกัน จะพบในเด็กที่อายุมากขึ้น 

2. กลุ่มเด็กเล็ก อายุ 3 เดือน ถึง 2 ปี อาจจะไม่ได้เกิดที่ลำไส้ในช่วงแรก แต่เกิดการอักเสบหลังจากนั้น เช่น เกิดขึ้นหลังจากช่วงเปลี่ยนฤดู อาจจะติดเชื้อไวรัส ทำให้ทางเดินอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ ทำให้เกิดการคลื่อนตัวมากกว่าปกติ มักจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ลำไส้กลืนกันได้ มักจะพบในเด็กที่รูปร่างจ้ำหม่ำ ซึ่งพอเกิดภาวะการกลืนกัน ในบางคนที่กลืนไม่เยอะ หรือบางคนกลืนเข้าไปลึกมาก  

คุณพ่อ คุณแม่สมัยใหม่ มักจะสังเกตุอาการผิดปกติลูกได้ดี ทำให้เด็กได้รับการดูแลรักษาเร็วขึ้น 


20240420-b-01.jpg

🚩อาการของโรคลำไส้กลืนกัน

1. ท้องอืด อาเจียรมีสีเหลืองหรือเขียวของน้ำดีปนมา 
2. อุจจาระมีเลือดคล้ำปนเมือก
3. ปวดท้อง กระสับกระส่าย มือเท้าเกร็ง 
4. ร้องไห้ ร้องเป็นพัก ๆ เวลาร้องจะงอเข่าทั้งสองข้าง 


20240420-b-03.jpg

🚩การวินิจฉัย และการรักษา

1. การเอกซเรย์ ดูความผิดปกติของลำไส้ 
2. อัลตราซาวนด์ โดยใช้คลื่นเสียงตรวจสอบ
3. สวนแป้ง Barium ไปทางทวารหนักเข้าไปในลำไส้ใหญ่ 

แพทย์อาจจะทำอัลตราร้านซาวนด์ หรือสวนแป้ง หรือใช้ลม เพื่อดันลำไส้กลับไป จากนั้นรอสังเกตุการณ์  ถ้าผ่านใน 24 ชั่วโมงแรกไปได้ ไม่เป็นซ้ำ ก็จะให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้ 

กรณีที่ต้องผ่าตัดคือ ลำไส้ทะลุ มีติ่งเนื้อที่ไม่สามารถดันด้วยลม หรือแป้งได้ ก็ต้องผ่าตัด เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย 
 


🚩ลำไส้แปรปรวน 

อาจจะมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย ส่วนใหญ่จะจ่ายยา และต้องหาสาเหตุร่วมด้วย รักษาตามอาการ หรือจ่ายยาโพรไบโอติกร่วมด้วย ต้องดูแลภาวะจิตใจ ลดความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ 


การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ควรจะทำเมื่ออายุมากขึ้น เพื่อตรวจเช็คสุขภาพ กรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ บุตรก็ควรมีเช็คล่วงหน้าก่อน 10 ปี

รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/pgWIvQ8E43k?si=wCYTGncXh01wM9yW

ติดต่อโฆษณา!