โรคแพ้ภูมิตัวเอง อาการทางระบบประสาทเกิดจากภูมิคุ้มกันผิดปกติ
โรคแพ้ภูมิตัวเอง ถือเป็นภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อ และอวัยวะของตนเอง ที่สามารถส่งผลต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น ข้อต่อ ผิวหนัง ไต เซลเม็ดเลือด สมอง หัวใจ และปอด
โดยสาเหตุเกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันไปทำลายเนื้อเยื่อปกติในร่างกาย ซึ่งเกิดจากการผสมผสานของปัจจัยด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม และอาการทางระบบประสาทในโรคแพ้ภูมิตัวเอง คือ ปวดศีรษะ ชัก เคลื่อนไหวผิดปกติ แขนขา อ่อนแรง เกิดความวิตกกังวล ความจำไม่ดี มีปัญหาด้านพฤติกรรมและมีปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์ เป็นต้น
ลัดคิวหมอรามา วันนี้พบกับ ผศ. นพ.สิระ กอไพศาล ภาควิชาอายุศาสตร์ และ ผศ. พญ.บุษบง ฤกษ์วลีกุล สาขาวิชาโรคข้อและรูมาติสซั่ม ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มาร่วมให้ความรู้และคำแนะนำในการดูแลรักษา เกี่ยวกับโรคโรคแพ้ภูมิตัวเอง
🚩 รู้จักโรค แพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE
โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ เอสแอลอี ส่วนใหญ่คนจะรู้จักโรคภูทิแพ้ตัวเองจากอาการที่เห็นเด่นชัด เช่น ชัก เคลื่นไหวผิดปกติ แขนขาอ่อนแรง แต่ในมุมเกี่ยวกับผลกระทบทางระบบประสาท อาจจะยังไม่ทราบแพร่หลายมากนัก
โรคเอสแอลอี คือโรคที่ระบบการทำงานผิดปกติ เมื่อมีการติดเชื้อหรือระบบร่างกาย เครียด เหนื่อย ทำงานหนัก ร่างกายจะตอบสนองหนักกว่าปกติ โดยคนที่เป็นโรคนี้ ร่างกายจะไม่กลับไปสู่ภาวะปกติ แต่จะทำลายอวัยวะตนเองไปเรื่อย ๆ ทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกายตามมา
🚩 ปัจจัยกระตุ้นโรคภูมิแพ้ตัวเอง
- แสงแดด มีผลต่อผิวหนังบริเวณที่โดนแดด
- พันธุกรรม ความเสี่ยงจากคนในครอบครัว
- การติดเชื้อ เชื้อไวรัสบางชนิด
- ยาและสารเคมี เช่น ประเภทควบคุมความดันเลือด
- ฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลง เช่น การเติบโตของช่วงวัย
โรคนี้มักเจอบ่อยมากขึ้นเรื่อยๆในช่วงวัยรุ่น ซึ่งมักจะเจออาการคล้ายผู้ป่วย SLE ที่ปรากฏอาการทั่วไป เช่น อ่อนเพลียมากกว่าปกติ ปวดศีรษะเรื้อรัง มีไข้ต่ำ ๆ เรื่อย ๆ รวมถึงหูแว่ว ประสาทหลอน ในช่วงหน้าร้อนเป็นฤดูที่ทำให้โรคนี้กำเริบมากที่สุด
🚩 ความผิดปกติระบบประสาทในโรค SLE
- ปวดศีรษะ
- ชัก
- เคลื่อนไหวผิดปกติ
- แขนขาอ่อนแรง
- ซึมเศร้า
- ความจำไม่ดี
- มีปัญหาพฤติกรรม
- ความวิกังวล
- ประสาทหลอน
🚩 อาการอื่น ๆ ที่พบร่วมกับในโรคภูมิแพ้ตัวเอง
- มีไข้เรื้อรัง อ่อนเพลียมากผิดปกติ
- น้ำหนักลด มีอาการเบื่ออาหาร
- อาการบวม ตามข้อ ตามตัว
- ผื่นขึ้น โดยเฉพาะที่หน้า ไม่ได้เกิดจากการแพ้
- ผมร่วง มากผิดปกติ
🚩 ขั้นตอนการรักษา
แพทย์มักจะให้ยากดภูมิ เพื่อไม่ให้อาการผู้ป่วยกำเริบ ผู้ป่วยเองเมื่อมีอาการไม่ควรทิ้งไว้นานแล้วค่อยมารักษา หรือแม้แต่รักษาไปสักระยะหนึ่งแล้วอาการกำเริบก็ควรมาพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาเพิ่มเติม
เด็กวัยรุ่นจำนวนมาก เมื่อเข้าสู่ระบบการรักษาแล้วอาการดีขึ้น พฤติกรรมต่าง ๆ เปลี่ยนไปเป็นคนละคน อย่างไรก็ตามแพทย์ยังคงให้ยาประคองอาการ ลดยาสเตียรอยด์ และแนะนำหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เพื่อลดอาการที่จะทำให้โรคกำเริบซึ่งโรคนี้ต้องอาจใช้เวลาในการรักษานาน 2 - 3 ปี จึงสามารถหยุดยาได้
🚩 สิ่งที่ฝากไปถึงผู้ปกครอง
ให้สังเกตุอาการ ของบุตร - หลาน ว่ามีภาวะซึมเศร้าหรือไม่ หรือมีอาการทางระบบประสาท อื่นๆ รวมทั้งการเบื่ออาหาร หากพบอาการเหล่านี้ ควรพาเด็กมาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ แม้จะไม่เป็นโรค SLE แต่อาจจะเป็นโรคอื่น ๆ ได้ และจะได้รับการพื่อดูแลรักษาภาวะความผิดปกติทางอารมณ์และระบบประสาทอย่างทันท่วงที
รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/QofyLEiVCVI?si=isHCjFK7JrwZukcL