หยุด !! พฤติกรรมทำ "เชื้อดื้อยา"
🚩เชื้อดื้อยา คืออะไร
เชื้อดื้อยา คือ เชื้อโรคที่มีความต้านทานต่อยาต้านจุลชีพ ที่ใช้ในการรักษา ทำให้รักษาไม่หายและโรคอาจลุกลามจนทำให้เสียชีวิตได้
ทั้งนี้การดื้อยาเกิดขึ้นได้ทั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา
สาเหตุเกิดจากการใช้ยาต้านจุลชีพพร่ำเพรื่อเกินความจำเป็น จนเกิดการกลายพันธุ์ เป็นเชื้อดื้อยา สะสมอยู่ในร่างกาย
โดยสาเหตุหลักเกิดจากการซื้อยาตามร้านสะดวกซื้อใช้เอง โดยไม่มีใบสั่งแพทย์ ใช้ยาต้านจุลชีพ เกินความจำเป็น
🚩พฤติกรรมที่ทำให้ดื้อยา
ปกติการดื้อยาจะเกิดกับเชื้อแบคทีเรีย แต่บางครั้งพฤติกรรมในการกินยา อาจทำให้เชื้อดื้อยาได้ เช่น ทานยาไม่ตรงกับโรค ทานยาไม่ครบตามที่กำหนด หรือกรณีลืมทานยา ก็ข้ามไปเลย ไม่ต้องทานยาเพิ่มเป็นสองเท่า และทานยาในมื้อถัดไปตามปกติ อย่างไรก็ตาม เมื่อพบแพทย์ในครั้งถัดไป ควรแจ้งเรื่องการทานยาคลาดเคลื่อนเพื่อแพทย์จะได้ประเมินผลการรักษา ทั้งนี้พฤติกรรมที่ทำให้เชื้อดื้อยา มีดังนี้
1. ซื้อยาปฎิชีวนะกินตามคนอื่น
2. หยุดกินยาปฏิชีวนะ กินไม่ครบตามวันที่กำหนด
3. ซื้อยากินเองตามที่เคยได้รับจากบุคลากรทางการแพทย์
4. อมยาอมที่ผสมยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อโรค
5. แกะแคปซูลยาปฏิชีวนะไปโรยแผล
6. ผสมในอาหารสัตว์ ทำให้เกิดสารตกค้างในเนื้อสัตว์
7. เปลี่ยนไปซื้อยาปฏิชีวนะที่แรงกว่าเดิม
8. เพิกเฉยต่อการให้คำแนะนำการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องเหมาะสม
9. ซื้อยาฆ่าเชื้อกินเองเมื่อมีอาการปวดอักเสบ
10. ใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่ทราบชื่อสามัญของยา
🚩เชื้อไวรัส แบคทีเรีย แตกต่างกันอย่างไร
▪️ เชื้อไวรัส
- มีรูปร่างหลากหลายและมีขนาดเล็กมาก
- 1 ในไวรัสที่ใหญ่ที่สุด มีความยาวเพียง 450 นาโนเมตรเท่านั้น
- อาศัยอยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ หรือพืช
🔹ไวรัส จะรุกรานเข้าสู่เซลล์เพื่อขยายจำนวน ทำให้เซลล์ปกติกลายเป็นเซลล์ที่มีเชื้อไวรัส
🔹เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย อาจไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยเสมอไป เพราะระบบภูมิคุ้มกัน จะเป็นด่านแรกที่ช่วยกำจัดและทำลายเชื้อไวรัส
▪️ เชื้อแบคทีเรีย
- เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่ค่อนข้างซับซ้อน
- สามารถเพิ่มจำนวนได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอยู่ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
- มีส่วนช่วยในระบบการย่อยอาหาร ทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ช่วยต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง
🔹แบคทีเรียส่วนใหญ่จะเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ มีบางส่วนที่ทำให้เจ็บป่วยและเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคได้
🚩แบคทีเรียดื้อยา อันตรายถึงชีวิต
🔹ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
การติดเชื้อที่เกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของร่างกาย ซึ่งเชื้อดังกล่าวได้แก่ จุลชีพต่าง ๆ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา โดยการติดเชื้อที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ และถึงขั้นเสียชีวิตได้
จากสถิติคนไทยใน 1 ปี มีการติดเชื้อ 88,000 คน เสียชีวิต 20,000 - 38,000 คน เสียชีวิตมากกว่าอุบัติเหตุ 2 - 3 เท่า มีความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 46,000 ล้านบาท และเชื้อดื้อยามีโอกาสเสียชีวิต 2 - 10 เท่า
ดังนั้นถ้าเราซื้อยาทานเอง และหากเชื้อเกิดเชื้อดื้อยาขึ้นมา จะไม่มียารักษา ทำให้ต้องซื้อยาแพงขึ้น และต้องกินยาที่ยาวนานขึ้น ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อป้องกันอาการดื้อยา
การกินยาปฏิชีวนะอาจทำให้บางคนแพ้ยาบางชนิด เช่น มีอาการผื่นขึ้น ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องแจ้งแพทย์ เภสัชกร ว่าป่วยเป็นโรคประจำตัวอะไรบ้าง แพ้ยาอะไรหรือไม่ เพื่อแพทย์หรือเภสัชกรจะได้จัดยาได้อย่างถูกต้องหรือเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด
ยาหมดอายุ ก็ไม่แนะนำให้รับประทาน เพราะประสิทธิภาพอาจไม่เหมือนเดิม นอกจากนี้มีข้อควรระวังในเรื่องการจัดเก็บที่ไม่ถูกต้อง เช่นยาโดนแสงแดด หรือเกิดความชื้น มีส่วนต่อประสิทธิภาพของยาลดลงยาบางชนิดเมื่อเปิดใช้แล้ว อายุของยาจะสั้นลง เช่น ยาหยอดตา ยาหยอดหู ส่วนใหญ่จะมีอายุ 1 เดือน และสำหรับยาน้ำของเด็ก จะมีอายุประมาณ 7 วัน เป็นต้น
🚩 อันตรายจากการซื้อยากินเอง
แบคทีเรียที่ดื้อยา มีโอกาสแพร่พันธุ์และแพร่กระจายไปสู่คนรวมถึงสิ่งแวดล้อมได้ เมื่อยาที่เคยใช้ได้ ไม่สามารถรักษาได้ ส่งผลให้ ต้องใช้ยาแรงขึ้น
ยาตัวใหม่ก็มีความเสี่ยงมากขึ้น และอาจอันตรายถึงชีวิต ส่งผลให้ ใช้ยาปฏิชีวนะไม่ถูกโรค ไม่ถูกวิธี สร้างเชื้อดื้อยา
🚩 อันตรายจากยาชุด
วินิจฉัยไม่ถูกโรค ได้รับยาไม่ครบขนาด ได้รับยาเกินขนาด ได้รับยาเกินความจำเป็น ไม่ทราบข้อมูลในการใช้ยา แพ้ยา
ในยาชุดมักมีตัวยาซ้ำซ้อนกัน มักมียาสเตียรอยด์ร่วมด้วยทำให้มีผลข้างเคียงสูง มักมียาเสื่อมคุณภาพ ยาปลอมหรือยาไม่ได้มาตรฐาน และประเภทยาปฏิชีวนะ จำเป็นต้องกินให้ครบขนาด มิฉะนั้นจะเกิดการดื้อยา ทำให้ต้องใช้ยาแรงขึ้น เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
ในผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง แพทย์มักจะลดยาลง เพื่อให้การใช้ชีวิตง่ายขึ้น ในกรณีที่พบปัญหาภาวะไตเสื่อม แพทย์จะปรับยาให้กับผู้ป่วย
🚩การกินยาให้ถูกหลัก
- ถูกโรค : ใช้ยาให้ตรงกับโรคที่เป็น โดยมีแพทย์หรือเภสัชกรเป็นผู้จัด หรือ จ่ายยา
- ถูกคน : ใช้ยาให้ตรงกับเชื้อของตนเอง เพศ อายุ วัย ตั้งครรภ์ เพราะร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
- ถูกขนาด : ใช้ยาให้ถูกขนาดตามแพทย์สั่ง เช่นแพทย์สั่ง 1 เม็ดก็ต้องกิน 1 เม็ดตามที่แพทย์สั่ง
- ถูกเวลา : ใช้ยาให้ถูกตามเวลา ที่ระบุบนฉลากยา เช่น ก่อนอาหาร หลังอาหาร ก่อนนอน
- ถูกวิธี : ใช้ยาให้ถูกวิธี เช่น ให้กิน ให้หยอดตา ให้พ่น ให้ฉีด เป็นต้น
🔹การกินยาหลังอาหาร
โดยทั่วไป จะให้กินทันทีหรือหลังอาหาร 15 นาที เพื่อให้เกิดการดูดซึม ร่วมกับอาหารในลำไส้เล็ก
🔹กินยาก่อนนอน
ให้กินหลังอาหารมื้อเย็นแล้ว 3 - 4 ชั่วโมง หรือก่อน 15 - 30 นาที
รับชมวิดีโอ : https://fb.watch/rSTru7KkNZ/