26 พฤษภาคม 2567
915

"PM2.5" สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่า "ร้าย"

ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทยมากเป็นอันดับต้นต้นในปัจจุบัน เพราะสิ่งเหล่านี้ปะปนอยู่ในอากาศที่เราต้องใช้หายใจและ ส่งผลกระทบต่อร่างกายไม่ใช่แต่เฉพาะระบบทางเดินหายใจ ที่สำคัญปัญหานี้ก็ยังไม่สามารถได้รับการแก้ไขหรือหาทางออกได้อย่างยั่งยืน

ฝุ่น PM2.5 คืออะไร

PM2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดย PM ย่อมาจากคำว่า Particulate Matters หรือฝุ่นละออง ส่วนตัวเลข 2.5 คือขนาดของฝุ่นละออง ซึ่งมีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หากถามว่า 2.5 ไมครอนนี้เล็กขนาดไหน ก็คงเทียบได้ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผม เรียกได้ว่าเล็กจนขนาดขนจมูกของคนเรา ซึ่งทำหน้าที่กรองฝุ่นนั้น ไม่สามารถดักจับฝุ่นเหล่านี้ได้เลย

ด้วยขนาดที่เล็กของ PM 2.5 ทำให้ฝุ่นละอองชนิดนี้สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการทำงานในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ

แหล่งที่มาของ PM2.5

  • การเผาป่า หรือ ไฟป่า
  • การเผาขยะ การเผาเพื่อทำการเกษตรในที่โล่ง
  • ควันจากการอุตสาหกรรมต่าง ๆ และการก่อสร้าง
  • การขนส่งและคมนาคม เช่น ควันจากท่อไอเสีย การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์
  • การผลิตไฟฟ้า เช่น การเผาปิโตรเลียมและถ่านหิน
  • กิจวัตรต่าง ๆ ของคน เช่น สูบบุหรี่ การจุดธูปเทียน เผากระดาษ ฯลฯ

ผลต่อร่างกาย จาก PM2.5

  • ผลกระทบต่อทางเดินหายใจและปอด - ฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถผ่านเข้าสู่ทางเดินหายใจได้ง่ายและรวดเร็ว ส่งผลให้เกิด โรคหอบหืด โรคมะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง ภูมิแพ้ และ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
  • ผลกระทบต่อหัวใจ - การสูดหายใจเอาฝุ่นละอองขนาดเล็กติดต่อกันระยะหนึ่ง ส่งผลให้เกิดการตะกอนภายในหลอดเลือด ส่งผลให้เกิด โรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และ หัวใจวาย
  • ภัยร้ายต่อสมอง - เมื่อฝุ่นผ่านเข้าสู่กระแสเลือดและเกิดการสะสมขึ้น ส่งผลให้เกิด ความดันโลหิตสูง เลือดข้นหนืด ลิ่มเลือดในสมอง หลอดเลือดสมองตีบ หลอดเลือดสมองแตก และ เสียชีวิต

 

กลุ่มเสี่ยงที่จะได้รัยผลกระทบจากฝุ่น PM2.5

  • กลุ่มเด็กเล็ก - ปอดกำลังพัฒนา อัตราการหายใจถี่ ทำให้ได้รับมลพิษมากกว่าผู้ใหญ่ในช่วงเวลาที่เท่ากัน
  • หญิงตั้งครรภ - อวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์กำลังพัฒนาอาจได้รับผลกระทบจากมลพิษที่แม่ได้รับผ่านสายรก
  • กลุ่มผู้สูงอายุ - ระบบหายใจเสื่อมตามวัย มีโอกาสเกิดโรคต่าง ๆ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว - อาจส่งผลให้โรคที่เป็นอยู่กำเริบ หรือมีอาการรุนแรงขึ้น
  • ผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง - ได้รับสัมผัสฝุ่นเป็นเวลานาน มีโอกาสเกิดผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว

 

การป้องกันและดูแลร่างกายจากฝุ่น PM 2.5

  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิดเมื่อคุณภาพอากาศอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • เมื่อจำเป็นต้องออกหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งให้สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น โดยหน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้ดีและมีประสิทธิภาพคือ หน้ากาก N95
  • หากจำเป็นต้องออกไปกลางแจ้งช่วงที่มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน แนะนำใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกายมิดชิด และหลังกลับเข้ามาภายในอาคารแนะนำเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำ สระผมชำระล้างร่างกายให้สะอาด
  • ภายในอาคารแนะนำให้ใช้เครื่องฟอกอากาศ ที่มี HEPA ( High efficiency particulate air) filter เพื่อช่วยกรองฝุ่น pm 2.5 ภายในอาคาร
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้มากๆ รับประทานผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกายมิดชิด และหลังกลับเข้ามาภายในอาคารแนะนำเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำ สระผมชำระล้างร่างกาย

 

หากอาการที่ผิดปกติแม้เพียงเล็กน้อยควรรีบพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและตรวจรักษาอย่างทันท่วงที ด้วยความปรารถนาดีจาก “ทันข่าวสุขภาพ”

รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/8lDf_JHyrPQ?si=wrYBoqg_zHpXzmyA

ติดต่อโฆษณา!