10 กุมภาพันธ์ 2564
1,350

Covid-19 Update ประจำวันที่ 10 ก.พ. 64

Covid-19 Update ประจำวันที่ 10 ก.พ. 64
Highlight

#Covid19 Update 10 ก.พ. 64
#ศบค. รายงานผู้ป่วยโควิด-19 
พบรายใหม่ +157 ราย | เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย มีโรคประจำตัว 

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 (ศบค.) แถลงสถานการณ์ “โควิด” ว่า

ผู้ป่วยใหม่วันนี้ 157 ราย แบ่งเป็น

▪️ ติดเชื้อในประเทศ 144 ราย 
▪️ เดินทางจากต่างประเทศ เข้าสถานกักกันที่รัฐจัดให้ 13 ราย
▪️ เสียชีวิต 1 ราย | เสียชีวิตรายที่ 80

📌ผู้เสียชีวิตโควิดรายใหม่ 1 ราย

▪️ หญิงไทยอายุ 65 ปี เป็นมะเร็งที่กล่องเสียง ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย มีไขมันในเลือดสูง 
▪️ ก่อนหน้าพบว่ามีสมาชิกในบ้านป่วยโควิด โดยในบ้านติดเชื้อแล้ว 5 จาก 8 คน โดยผู้ป่วยได้เดินทางไปล้างไต วันที่ 29 ม.ค. มีอาการหนาวสั่นก่อนทำการฟอกไต สงสัยว่า มีการติดเชื้อจากบริเวณที่เจาะคอ และมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้า 
▪️ วันที่ 1 ม.ค. ผลพบว่าติดเชื้อ จึงย้ายผู้ป่วย มา กทม. มีอาการเหนื่อย หอบ ติดเชื้อรุนแรงขึ้น เลือดออกที่เยื่อบุต่างๆ หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน และ พบเชื้อราที่หัวใจ พยายามปรับยาอย่างต่อเนื่องแต่ไม่เป็นผล และเสียชีวิตในเวลาถัดมา

📌จุฬาฯ รปภ.ติดโควิดเพิ่มอีก รวม 14 คน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกประกาศมาตรการของคณะกรรมการโควิด-19 ฉบับที่ 5/2564 หลังพบผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่ม 1 ราย สะสมรวม 14 ราย โดยระบุว่า ตามที่คณะกรรมการโควิด-19 จุฬาฯ ประกาศพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) ซึ่งพักอาศัยในหอพักบุคลากรและดำเนินการส่งเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจุฬาฯ แล้วนั้น
คณะกรรมการโควิด จุฬาฯ ได้มีมาตรการระดมตรวจคัดกรองโรคเชิงรุกกับกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดกับบุคลากรกลุ่มดังกล่าวเพิ่มเติมในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 อีก 389 คน รวมเป็นผู้ได้ตรวจคัดกรองโรคแล้ว 619 คน ผลจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกดังกล่าวพบว่า มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) เพิ่มเติมอีก 1 คน รวมเป็น 14 คน

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มักจะมีประวัติความเชื่อมโยงกับตลาดเป็นสำคัญ 

กระทรวงสาธารณสุขได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลจากทีมสอบสวนโรค ในช่วงการระบาดรอบใหม่ตั้งแต่กลางเดือน ธ.ค.63 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งพบว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มักจะมีประวัติความเชื่อมโยงกับตลาดเป็นสำคัญ โดยผู้ติดเชื้อจะเป็นผู้ขายมากถึง 90.19% ขณะที่เป็นผู้ซื้อ 9.81%

โดยการติดเชื้อจากตลาดนั้น ส่วนใหญ่จะเป็น

▪️ ตลาดสดมากถึง 96.86% 
▪️ เพียง 3.14% ที่เป็นตลาดนัด

และผู้ที่ติดเชื้อจะเป็นชาวเมียนมาถึง 88.25% ส่วนใหญ่เป็นแผงขายของสด และมีลูกจ้างเป็นชาวเมียนมา ซึ่งจังหวัดที่มีผู้ป่วยติดเชื้อมีประวัติเชื่อมโยงกับตลาดมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ 
1. สมุทรสาคร 
2. กรุงเทพฯ 
3. นนทบุรี 
4. ปทุมธานี 
5. สมุทรปราการ

ติดต่อโฆษณา!