08 มิถุนายน 2567
530

ตับแข็ง ภาวะอันตรายที่ไม่ต้องดื่มหนักก็เป็นได้



โรคตับแข็งคือ คือภาวะที่ตับก่อตัวเนื้อเยื่อพังผืดส่วนเกิน เป็นผลมาจากภาวะตับอักเสบเรื้อรัง จากสาเหตุต่าง ๆ เช่นโรคพิษสุราเรื้อรัง ไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง หรือไขมันคั่งในตับ เป็นต้น 

เมื่อเกิดการอักเสบเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน ตับจะทำการซ่อมแซมตัวเอง กระบวนการซ่อมแซมจะสร้างเนื้อเยื่อพังผืดสะสม จนเกิดเป็นโรคตับแข็ง ทำให้ตับไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ โรคตับแข็งระยะท้าย ๆ เป็นภาวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับด้วย

โรคตับแข็งในระยะท้ายส่งผลให้เกิดความเสียหายของตับอย่างถาวร แต่หากได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่น ๆ และรักษาอย่างเหมาะสม ก็สามารถป้องกันให้เกิดความบาดเจ็บเสียหายที่จะเพิ่มตามมาได้ 

รายการลัดคิวหมอรามาฯ รายการวาไรตี้ ที่สามารถรับชมได้ทุกเพศ ทุกวัย มีคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบที่ถูกต้อง ชัดเจน 

“ตับแข็ง ภาวะอันตรายที่ไม่ต้องดื่มหนักก็เป็นได้“ โรคนี้มีสาเหตุมาจากอะไร มีวิธีการดูแลรักษาอย่างไร วันนี้พบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผศ. พญ.ศิริสุชา โศภนคณาภรณ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ และ อ. พญ.ศุภมาส เชิญอักษร สาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มาร่วมให้ความรู้และคำแนะนำ 


20240608-b-01.jpg


🚩 สาเหตุของการเกิดตับแข็ง

ภาวะการเกิดตับแข็งมาจากสาเหตุการติดเชื้อไวรัสไวรัสตับอักเสบบี และเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ในประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และส่วนใหญ่เกิดจากการติดต่อจากแม่สู่ลูก บางคนที่เป็นอาจไม่มีอาการแต่สามารถส่งผ่านเชื้อสู่ลูกได้ 

ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา ได้มีการคัดกรองคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกรายเพื่อป้องกันการส่งผ่านถึงลูก ปัจจุบันพบไวรัสตับอักเสบบีลดลง แต่พบบ่อยอีกตัวคือไวตับอักเสบซี ที่เป็นปัญหาเพราะเพิ่งมารู้จักในช่วงหลัง จะติดต่อผ่านการรับผลิตภัณฑ์เลือด  และกลุ่มที่ใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นโดยใช้การฉีดยาร่วมกัน หรือการมีเพศสัมพันธ์ และการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะต้องดื่มนานและมากพอ ที่จะทำให้เกิดการอักเสบของตับซึ่งแต่ละคนจะมีจุดที่ร่างกายรับได้ไม่เท่ากัน

เช่น ผู้หญิงที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เท่ากับผู้ชาย แต่ผู้ชายจะมีเอนไซม์ที่จะจัดการกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ดีกว่า ดังนั้นผู้หญิงจะมีความเสี่ยงสูงกว่า ต่อให้หยุดดื่มไปแล้วก็อาจจะมีปัญหาได้เช่นกัน 

นอกจากนี้ยังพบในคนที่เป็นโรคตับคั่งไขมัน ซึ่งมักจะพบในคนอ้วน หรือคนที่มีโรคประจำตัวเยอะๆ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นเวลานานๆ ก็มีโอกาสที่ทำให้เกิดตับแข็งได้เช่นกัน หรือเกิดจากการซื้อยาบางชนิดมากิน สมุนไพร ที่ทานบ่อยๆ 

ที่ไม่เจอบ่อย คือกลุ่มแพ้ภูมิตัวเองในตับ มักเจอในเพศหญิง หรือเป็นโรคทางพันธุกรรม เช่น ไม่สามารถขับเหล็กได้ หรือทองแดงเกิน แต่ไม่อาจขับออกจากร่างกายได้จะไปสะสมที่ตับ 

โดยสรุปที่เจอบ่อยที่สุดในไทย คือกลุ่มติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และไวรัสตับอักเสบซี ที่ได้รับเลือดที่มีเชื้อไวรัส ปัจจุบันมีการคัดกรองที่ดีขึ้นโอกาสติดเชื้อในลักษณะนี้น้อยมากแล้ว 

ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัสอักเสบซี แต่การติดต่อผ่านไวรัสตับอักเสบบียังสูงอยู่ ส่วนใหญ่เป็นการติดต่อจากแม่สู่ลูก ในอนาคตอาจจะค่อยๆลดลง  อย่างไรก็ตามวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี จะมีโอกาสที่ 5% ที่ผู้รับวัคซีนจะไม่มีภูมิเกิดขึ้น ดังนั้นจะต้องเช็คภูมิเช่นกันแม้ว่ารับวัคซีนแล้ว 

คนที่เป็นพาหะ ก็ถือว่าเป็นโรคเช่นกัน และแต่ละคนมีภาวะการดำเนินโรคไม่เท่ากัน มีความเสี่ยไม่เท่ากัน การสักตามร่างกายก็มีความเสี่ยงติดเชื้อได้ เมื่อมีคนในครอบครัวเป็นพาหะ ก็ควรตรวจเช็คภูมิต้านทาน เพื่อหาทางป้องกันหรือรักษาหากติดเชื้อ เพื่อลดตับแข็งหรือมะเร็งตับ

ภาวะของโรคตับเรื้อรังขั้นสุดท้าย เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของตับ ทำให้สูญเสียเซลล์เนื้อตับ เกิดพังผืดในตับปริมาณมาก จนตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ 


🚩 ระดับความเสียหายของตับ 

🔸ตับสุขภาพดี - ตับผิวเรียบเป็นสีชมพู ไม่มีแผลเป็น
🔸ไขมันพอกตับ - มีไขมันสะสมอยู่ในเซลล์ตับ
🔸พังผืดในตับ - ตับอักเสบ เนื้อเยื่อตับสูญเสียหน้าที่ถาวร 
🔸โรคตับแข็ง - ตับมีลักษณะขรุขระ เต็มไปด้วยปุ่ม เซลล์ตับถูกทำลาย 


20240608-b-02.jpg

🚩 อาการโรคตับแข็ง

🔸อ่อนเพลีย ไม่ชัดเจน 
🔸ท้องมาน
🔸เท้าบวม 
🔸เบื่ออาหาร
🔸ตัว ตาเหลือง
🔸อาเจียนเป็นเลือด 

คนไข้ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการในระยะแรก อาจจะเพียงแค่เพลีย ๆ ในรายที่มาพบแพทย์มักจะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น มีอาการท้องมาน เกิดจากการทำงานของตับไม่มีประสิทธิภาพแล้ว เส้นเลือดไม่สามารถวิ่งไปที่ตับก็จะไปเกิดการอักเสบที่อื่น หรืออาเจียรเป็นเลือด หรือเป็นมะเร็งตับแล้ว 

ไวรัสตับอักเสบซี มียารักษาได้โอกาสรักษาหายได้ แต่ถ้าตับแข็งแล้วโอกาสกลับเป็นปกติจะยากขึ้น แต่ลดโอกาสภาวะแทรกซ้อนได้  และมีการตั้งเป้าว่าภายในปี 2030 จะควบคุมปริมาณการติดเชื้อได้ 

แต่ถ้าเป็นไวรัสตับอักเสบบี มีโอกาสเป็นมะเร็งตับ โดยไม่เกิดภาวะตับแข็ง จึงควรคัดกรองโรคหากอยู่ในครอบครัวที่มีคนเป็นโรคหรือพาหะ เช่นเมื่อถึงอายุ 40 ปีก็แนะนำให้คัดกรองโรค

กรณีตับคั่งไขมัน ก็ควรลดน้ำหนัก  เป็นเบาหวานก็ควรคุมอาหารให้ใกล้เคียงปกติ กรณีธาตุเหล็กเกินหรือขาดทองแดง ก็มียารักษาได้ควบคุมได้เช่นกัน  


20240608-b-03.jpg


🚩 การป้องกันโรคตับแข็ง 

🔸งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
🔸หลีกเลี่ยงการใช้ยาและอาหารเสริมที่ไม่มีข้อบ่งชี้ 
🔸หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ยาเสพติด มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
🔸กินโปรตีนที่เหมาะสม ย่อยง่าย 
🔸หากข้อเท้าหรือท้องบวม ควรจำกัดอาหารรสเค็ม
🔸รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบ เอ บี ไข้หวัดใหญ่ และปอดบวม



รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/ANy9odFQLB0?si=pxoOdxfX-xBSxv6d



ติดต่อโฆษณา!