ไขมันพอกตับ ภัยเงียบใกล้ตัวที่ควรต้องระวัง
โดยปกติในตับที่สุขภาพดีจะมีไขมันเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อเกิดการสะสมไขมันในตับเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนก้อนไขมันเหล่านั้นมีน้ำหนัก 5 - 10% ของน้ำหนักตับ ภาวะนี้เรียกว่าไขมันพอกตับ หรือ ไขมันเกาะตับ ซึ่งไขมันที่มักเป็นสาเหตุของไขมันพอกตับก็คือ ไขมันชนิดไตรกลีเซอร์ไรด์ (Trigleceride)
โดยภาวะนี้ไม่ส่งผลให้รู้สึกเจ็บหรือปวด แต่จะทำให้ภาวะการทำงานของตับผิดปกติ กลุ่มเสี่ยงหลายคนจึงมักไม่รู้ตัวว่ามีภาวะไขมันพอกตับ และสิ่งสำคัญในการเอาใจใส่ในการรักษาภาวะไขมันพอกตับและป้องกันไม่ให้ลุกลามในระยะแรก ๆ การรักษาสุขภาพที่ดีไว้ จึงจำเป็นต้องอาศัยการดูแลสุขภาพโดยรวม ทั้งอาหาร การออกกำลังกาย และการพักผ่อนที่เพียงพอ
รายการลัดคิวหมอรามา รายการวาไรตี้เพื่อสุขภาพ ที่สามารถรับชมได้ทุกเพศทุก
วัย มีปัญหาด้านสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบที่ถูกต้องและชัดเจน ปัญหาเกี่ยวกับไขมันพอกตับ ซึ่งมีด้วยกันหลายระยะ ปัจจัยเสี่ยง วิธีการป้องกันและรักษาจะเป็นอย่างไร พบกับ ผศ.พญ.ศิริสุชา โสภณคณาภรณ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ และ อ.พญ.ศุภมาศ เชิญอักษร ภาควิชาอายุรศาสตร์ สาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
🚩 ไขมันพอกตับ คืออะไร
ไขมันพอกตับมีชื่อเรียกหลากหลาย ก่อนนี้จะเรียกว่า ไขมันพอกตับชนิดที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจุบันเรียกว่า ตับคั่งไขมัน หมายถึงการมีไขมันไปสะสมที่เนื้อตับของเรา และอาจทำให้เกิดปัญหากลายเป็นตับอักเสบที่มากขึ้น มีพังผืดในตับและมีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากพังผืดมากขึ้น เช่น ตับแข็ง ท้องมาน ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือ เป็นมะเร็งตับ
🚩 กลุ่มเสี่ยงภาวะไขมันพอกตับ
1. คนอ้วน ได้แก่คนที่มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 23 กิโลกรัม/เมตรยกกำลังสองขึ้นไป ผู้ชายมีรอบเอวเกิน 35 นิ้ว ผู้หญิงมีรอบเอวเกิน 32 นิ้ว เมื่อน้ำหนักเกิน จะเป็นที่มาของอีกหลายโรค และมักมีอาการนอนกรน ซึ่งจะมีอาการหยุดหายใจขณะหลับ
2. น้ำตาลในเลือดสูง มักจะเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งได้แก่ ผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 100 มิลลิกัมต่อเดซิลิตร ขึ้นไป หรือมีน้ำตาลสะสมในเลือด ตั้งแต่ 5.7% ขึ้นไป
3. ผู้ที่มีไตรกรีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงตั้งแต่ 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือกินยาลดไขมัน
4. HDL ต่ำ เช่น ผู้ชายมีน้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และผู้หญิงที่มีน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือการกินยาลดไขมัน
5. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง โดยมีระดับความดันตั้งแต่ 130/85 มิลลิเมตรปรอท หรือกินยาลดความอ้วน
ประเด็นอื่น ๆ ก็มีโอกาส เป็นไขมันพอกตับได้ ทั้งนี้การตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งจะมีการตรวจปัสสาวะ และตรวจเลือด ก็สามารถประเมินว่ามีความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยงต่ำ ต่อการเกิดอักอักเสบได้
🚩 ไขมันพอกตับเกิดขึ้นได้อย่างไร
• โรคอ้วน มีภาวะไขมันสะสมและมีน้ำหนักเกิน
• การกินอาหารไม่เหมาะสม
• เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
• เหตุจำเพาะอื่น ๆ
• ไม่ทราบสาเหตุ
🚩 ระยะของไขมันพอกตับ
• ไขมันพอกตับธรรมดา - ไขมันสะสมในตับมากเกินไป
• เนื้อเยื่อตับเกิดการอักเสบ - เนื้อเยื่อบริเวณตับอักเสบร่วมด้วย
• เนื้อเยื่อตับอักเสบต่อเนื่อง - เนื้อเยื่อที่อักเสบกลายเป็นก้อนในตับ
• โรคตับแข็ง - แผลอักเสบลุกลามอย่างรวดเร็ว ตับทำงานด้อยประสิทธิภาพลง
🚩 วิธีการป้องกันและการดูแลรักษา
ตับคั่งไขมัน ส่วนใหญ่มักมีจุดเริ่มต้นจากน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน ดังนั้นหากสามารถลดต้นเหตุของปัญหาคือโรคอ้วนได้ จะทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคตับคั่งไขมัน และโรคอื่นๆ เช่น ความดัน เบาหวาน ลดลงด้วย
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น นม เนย กะทิ ชีส อาหารทะเล และไม่รับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป ควรลดปริมาณอาหารลงในแต่ละมื้อ ไม่ควรลดน้ำหนักด้วยวิธีการงดอาหาร หรือรับประทานผลไม้แทน
ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน และไขมันในเลือดสูง ให้กินยารักษาตามโรคที่เป็น แพทย์อาจจ่ายยาลดระดับน้ำตาลในเลือดให้กับผู้ป่วยบางราย
รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/V6qw0OrpFeA?si=xLoJxyOKM5BazsjJ