20 กรกฎาคม 2567
837

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง กินอย่างไรให้ปลอดภัย

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง กินอาหารเป็นเช่นไร ได้สุขภาพเช่นนั้น ยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยไตวายเรื้อรังแล้ว การนำวัตถุดิบมาปรุงให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้อาการป่วยแย่ลงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติ 
.
เนื่องจากโรคไตวายเป็นภาวะที่ไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ ไม่สามารถกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้เหมือนเดิม และหากมีพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม ก็อาจส่งผลให้ไตต้องทำงานหนัก และมีอาการทรุดลงได้ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังจึงควรเรียนรู้ว่า อาหารชนิดไหนกินได้และอาหารชนิดไหนที่ควรหลีกเลี่ยง
.
ลัดคิวหมอรามา รายการวาไรตี้เพื่อสุขภาพที่รับชมได้ทุกเพศทุกวัย ทุกคำถามด้านสุขภาพที่นี่มีคำตอบที่ถูกต้องและชัดเจน คนไทยเป็นผู้ป่วยโรคไตจำนวนมาก อาหารของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ควรเป็นอย่างไร พบกับ ศ.พญ.ศศิโศภิณ เกียรติบูรณกุล สาขาวิชาติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ และ รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ สาขาวิชาโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มาร่วมให้คำแนะนำและความรู้เกี่ยวกับโรคไตในวันนี้ 
.
🚩 โรคไตมีกี่ระยะ
.
โรคไต มี 5 ระยะ โดยปกติแล้วเราจะต้องตรวจปัสสาวะ โรคไตเป็นภัยเงียบไม่ค่อยมีอาการ ถ้ามีอาการหมายความว่าไตเสียไป 70% แล้ว เป็นระยะ 4 หรือระยะ 5 ซึ่งเป็นระยะท้ายๆ ดังนั้นตรวจเป็นระยะว่ามี ไข่ขาวรั่ว มีเม็ดเลือดแดงออกมาจากปัสสาวะหรือไม่ ซึ่งเป็นสาเหตุผิดปกติ ร่วมกับการทำงานของไต เป็นสัญญาณเตือน
.
ไตระยะที่ 1 ไตทำงาน 90% ขึ้นไป แต่ปัสสาวะผิดปกติ เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณมีภาวะโรคไตซ่อนอยู่ 
.
ไตระยะที่ 2 ไตทำงานได้  60%-90% 
.
ไตระยะที่ 3 ไตทำงานได้ 30%-60%
.
ไตระยะที่ 4 ไตทำงานได้ 15%-30% 
.
ไตระยะที่ 5 ไตทำงานได้น้อยกว่า 15% ซึ่งเป็นระยะสุดท้าย 
.
ในคนป่วยระยะสุดท้าย บางคนมีอาการมาก เช่น ไตทำงานเพียง 5% จะมีภาวะไตวายร่วมด้วย ต้องล้างไต เช่น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียร เบื่ออาหาร ขาบวม หายใจหอบเหนื่อย น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ซึม ซัก เป็นต้น

ทั้งนี้ในช่วงระยะที่ 4 จะเริ่มมีอาการ ผมร่วง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ คันตามตัว มีผื่นไม่ทราบสาเหตุ ขาบวม หน้าตาซีดเชียว ซึ่งเมื่อพบอาการที่รุนแรงมักจะต้องทำการล้างไต ฟอกไต ปลูกถ่ายไต 
.
🚩 เราควรตรวจเช็คโรคไตเมื่อไหร่ 
.
แนะนำตรวจโรคไตเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป แต่ถ้ามีโรคประจำตัวบางโรคที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เบาหวานความดันโลหิตสูง ใช้ยาแก้ปวดเป็นประจำ ซื้อยากินเอง ยาสมุนไพร หรืออาหารเสริมไม่ทราบชนิด หรือโรคเก๊าท์ โรคเอสแอลอี หรือยาต้านไวรัสเอชไอวี หรือไวรัสเอดส์ ก็ต้องตรวจค่าไตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 
.
🚩 เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคไต ควรรักษาอย่างไร
.
เราควรดูว่าสาเหตุของการเกิดโรคไตมาจากอะไร และรักษาอาการของโรคนั้นพร้อมรับประทานยาตามแพทย์สั่ง เช่น เป็นผลจากการเป็นโรคเบาหวาน ก็ต้องรักษาอาการทั้งสองโรคในเวลาเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดัน ถ้าไม่กินยาเลยไตจะวายภายใน 5 ปี 

ถ้ากินยาดี ดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยยืดเวลาการทำงานของไตออกไปได้นานเป็นเวลาหลายปี หรืออาจจะไม่เกิดโรคไตเลยก็ได้ 

20240720-b-01.jpg

การกินอาหารที่ดีจะช่วยให้มีสุขภาพที่ดี ไม่ควรกินอาหารรสจัด หรือปรุงรสจัด เช่นบะหมี่กึงสำเร็จรูป ควรใส่เครื่องปรุงแต่น้อย ไม่ควรกินหวานจัด ลดแป้ง ลดเค็ม เพราะอาหารหวานเป็นสาเหตุของโรคไต ควรลดอาหารประเภท Process เพราะอาหารเหล่านี้ ส่วนใหญ่มักจะประกอบไปด้วยโซเดียมหรือเกลือเพื่อถนอมอาหาร อาหารรสเค็มทำให้เป็นความดันโลหิตสูง ทำให้มีอาการบวม ทำให้หลอดเลือดบวม 
.
ดังนั้นอาหารต่างๆ ควรไม่ควรปรุงเพิ่มแล้ว เพราะจะได้รับโซเดียมมากเกินไป ควรงดกินน้ำแกง น้ำก๋วยเตี๋ยว และออกกำลังกายเพื่อขับเกลืออกไปจากร่างกาย 
.
ควรกินผักและผลไม้ทุกวัน เปลี่ยนชนิด เปลี่ยนสีไปเรื่อย ๆ ก็จะได้รับสารอาหารครบถ้วน และดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว เพื่อลดการเกิดนิ่วในไต 
.
ถ้าเป็นโรคไตระยะ1-3 ควรลดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ลง ทานอาหารในปริมาณที่น้อยลง ลดของทอด ลดน้ำมันจากสัตว์ 
.
โรคไตในระยะ 4-5 ในกรณีที่ไตทำงานน้อยกว่า 30% ควรลดการกินผักสีเขียวเข้ม ที่มีโแทสเซียมสูง เช่น ผักคะน้า ให้กินผักสีอ่อนแทน และกินผลไม้ที่มีสีเหลืองน้อยลง เช่น กล้วย ทุเรียน แคตาลูป แก้วมังกร 
.
ส่วนผู้ป่วยที่ฟอกไต ล้างไต ควรกินโปรตีนเพิ่ม 20% เพราะต้องชดเชยการเสียเลือด 
.
20240720-b-02.jpg

🚩 อาหารสำหรับผู้ป่วย โรคไตเรื้อรัง 

.
ไขมัน : หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ 
.
โปรตีน : ควรได้รับ 0:8  กรัม/กก.ของน้ำหนักตัวต่อวัน แต่ควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก
.
พลังงาน : ได้จากอาหารประเภทแป้งและไขมัน ควรได้รับ 30-35 กิโลแคลอรี่ต่อน้ำหนักตัว 1 กก./วัน
.
เกลือแร่ : เช่น โซเดียม : ไม่ควรได้รับเกิน 2 กรัม/วัน, ฟอสฟอรัส : ควรลดอาหาร จำพวก ถั่ว เนื้อสัตว์ ไข่แดง เต้าหู้ เป็นต้น, โพแตสเซียม : ควรหลีกเลี่ยงผลไม้ประเภท ทุเรียน แคนตาลูป มะขาม กล้วย เป็นต้น 
.
ดื่มน้ำ : ดื่มน้ำได้เท่ากับปริมาณที่ถ่ายปัสสาวะต่อวัน บวกอีก 500-700 มล.รวมเครื่องดื่มชนิดอื่นหรืออาหารเหลวด้วย 
.
ผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 5 ที่ได้รับการล้างไต

20240720-b-03.jpg
.
🚩 วิธีช่วยให้ปลอดภัยจากโรคไต 
.
ไม่กินหวาน ไม่กินเค็ม กินอาหารที่มีประโยชน์และกินหลากหลายในปริมาณที่พอเหมาะ  ดื่มน้ำให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ



รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/QW4UMW_rGfM?si=HLyw-1isRnCuCK3T

ติดต่อโฆษณา!